fbpx

เป้าหมายหนึ่งในปี 2560 ก็คือ การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ (Reading Skills) ก็เลยให้ครูบริ๊งค์มาช่วยติวเข้มให้แบบ Private Class สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ – หัวใจสำคัญในการเริ่มต้นฝึก Reading Skills ที่ดี Favourite Book เลือกหนังสือที่ชอบ Background Knowledge มีความรู้พื้นฐานในเรื่องนั้น ๆ Vocabulary มีคลังศัพท์พอประมาณ –

Read More

รากที่สอง พอเอ่ยถึงคำ ๆ นี้ คงเป็นที่ขยาดของใครต่อใครหลาย ๆ คน แต่แท้ที่จริงรากที่สอง ไม่ใช่เรื่องที่เข้าใจยากเลย หากเราเข้าใจที่มาของมัน “รากที่สอง” มาจากคำว่า “Square root” ในภาษาอังกฤษ “Square” หมายถึง สี่เหลี่ยมจัตุรัส “Root” หมายถึง ราก ต้นตอ ดังนั้นจึงน่าจะเกี่ยวข้องกับ ต้นตอของสี่เหลี่ยมจัตุรัส ง่าย

Read More

ว่ากันต่อด้วยไอเดียการทำโครงการ “โรงเรียนนักคิด” วันนี้ได้มีโอกาสคุยกับอาจารย์ท่านหนึ่งที่สนใจในโครงการนี้ ซึ่งสนใจอยากให้ไปจัดอบรมให้กับอาจารย์อาชีวะที่อยู่ในกลุ่มเครือข่ายทั่วประเทศกว่า 400 วิทยาลัย เป็นโจทย์ที่ต้องขบคิดกันต่อไปว่าจะไปสร้างความร่วมมืออย่างไรในระดับ Cluster ระหว่างภาครัฐ กับภาคเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการในท้องถิ่นนั้น ที่จะมาร่วมขับเคลื่อนโครงการ “โรงเรียนนักคิด” ให้เกิดขึ้น ดูรายละเอียดหลักสูตร “Analytical and Systematic Thinking” สนใจฝึกอบรมติดต่อ A@LERT Learning and Consultant คุณชลมารค (มิลค์)

Read More

ทักษะหนึ่งที่สำคัญในการเรียนรู้ และการทำงานในศตวรรษที่ 21 นั่นก็คือ “ทักษะการคิด” แต่น้อยมากที่จะมีการฝึกฝน “ทักษะการคิด” ให้กับนักเรียน ผู้เขียนเองมีประสบการณ์ในเรื่องการสอน “ทักษะการคิด” ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking Skill) ทักษะการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking Skill) ทักษะการคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking Skill)

Read More

“เมื่อห้องเรียนกลับทาง” หนังสือเล่มเล็ก ๆ โดย ดร.เดชรัต สุขกำเนิด (อาจารย์ต้น) แห่งภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร และทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ในห้องเรียนในมุมมองใหม่ ๆ ที่ได้ทำให้ห้องเรียนมีชีวิตได้ทั้งความรู้ และความรู้สึก ผมหยิบหนังสือเล่มนี้มาอ่านด้วยความสนใจที่ว่า การเรียนการสอนอย่างเช่นในมหาวิทยาลัยที่บางครั้งมีคนเข้าเรียนเป็น 100 คนขึ้นไป อาจารย์ต้นมีกระบวนการในการจัดรูปแบบการเรียนรู้อย่างไร ให้ผู้เรียนได้ทั้งความรู้ และความสนุกสนาน เนื้อหาในหนังสือ ส่วนหนึ่งอาจารย์ต้นนำมาจากบันทึกเรื่องราวประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนที่อาจารย์เขียนเล่าไว้ใน Facebook

Read More

ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาผู้เขียนได้มีโอกาสไปบรรยายในหัวข้อ “ทำอย่างไรให้ประเทศไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ?” ให้กับคณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่โรงไฟฟ้า ในพื้นที่ต่าง ๆ โดยจัดขึ้นทั้งที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดระยอง และจังหวัดนครราชสีมา โดยมีจำนวนผู้เข้าฟังในแต่ละครั้งประมาณ 80 คน ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจในคำนิยามเบื้องต้นก่อนว่า “สังคมแห่งการเรียนรู้ คือ อะไร ?” “สังคมแห่งการเรียนรู้” หมายถึง กระบวนการทางสังคมที่เกื้อหนุนส่งเสริมให้บุคคลหรือสมาชิกในชุมชน ในสังคมเกิดการเรียนรู้ โดยผ่านสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ

Read More

คณิตศาสตร์ข้างถนน ผู้เขียนชื่นชอบการกินเต้าฮวยมาก ๆ ส่วนภรรยาก็ชื่นชอบการกินน้ำเต้าหู้อย่างมากเช่นกัน และแถวบ้านก็มีร้านขายเต้าฮวย-น้ำเต้าหู้อยู่เจ้าหนึ่ง อยู่ในซอยเพชรเกษม 54 เข้าซอยไปประมาณ 30 เมตร อยู่ด้านซ้ายมือ ขอบอกว่าอร่อย…อร่อย…มาก ๆ เนื้อเต้าฮวยเนียนมาก ๆ และน้ำขิงก็เผ็ดได้ใจกำลังดี ซดเข้าปากแล้วสดชื่นทันตา ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ผู้เขียนกับภรรยาเวลาซื้อก็มักจะซื้อไปฝากเพื่อนบ้านด้วย ก็ซื้อกันประมาณอย่างละ 3-4 ถุง ซึ่งหากอาเจ๊กแก้ตั้งราคา 10 บาท

Read More

ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้รับเชิญจาก สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ให้ไปแบ่งปันประสบการณ์การเป็นกระบวนกร (Facilitator) ให้กับชุมชนกระบวนกร ในงาน CoP#16 ที่มีอาจารย์เอกรัตน์ รวยรวย เป็นผู้ประสานงานในการกิจกรรมเรียนรู้ครั้งนี้ให้เกิดขึ้น ผู้เขียนได้เล่าประสบการณ์การเป็นกระบวนกร (Facilitator) ตั้งแต่สมัยที่มีโอกาสมาทำงานที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย เพื่อเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบ Constructionism เพื่อนำไปปรับใช้ในโครงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของพนักงาน ธุรกิจกระดาษและบรรจุภัณฑ์ เครือซิเมนต์ไทย หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า โครงการ C-Pulp

Read More

สัปดาห์ที่ผ่านมาผู้เขียนได้มีโอกาสเจอกับคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่สองคน คือ “ครูบริ๊งค์” – อติเวทย์ ตั้งอมรสุขสันต์ และ “น้องนิดหน่อย” – สิริรัตน์ รองเดช ที่มีความมุ่งมั่นอยากเปลี่ยนแปลงในเรื่องความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาของประเทศไทย โดยคิดโครงการชื่อว่า “เติมเต็ม” น้องสองคนเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า จากการสำรวจรายได้ของคนไทย พบว่าคนที่มีฐานะดีในประเทศนั้นมีน้อยกว่าคนฐานะไม่ค่อยดี ส่วนหนึ่งที่เกิดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้นั้น เกิดจากโอกาสทางการศึกษาที่แตกต่างกัน คนที่มีฐานะที่ดีกว่า สามารถมีเงินไปลงเรียนกวดวิชา ทำให้ได้ความรู้ที่ดีกว่า สามารถทำคะแนนสอบได้ดี ทำให้มีโอกาสศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย และคณะที่มีชื่อเสียงที่ใฝ่ฝัน

Read More

ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสได้พบกับกัลยาณมิตรที่ดีที่มีความตั้งใจที่ดีในการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย ท่านแรก คือ ดร.ไสว บุญมา อดีตเศรษฐกรอาวุโสของ World Bank ผู้ก่อตั้งมูลนิธินักอ่านบ้านนา และคุณสุภกร บัวสาย กรรมการ และเลขานุก่าร ในคณะกรรมการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน ในเวที “ล้อมวงคุย กับ ดร.ไสว บุญมา” ที่จัดขึ้นที่ร้าน House of Commons –

Read More