fbpx

เนื่องในวันครู อยากหยิบหนังสือที่ชื่อ “คุรุวิพากษ์คุรุ” ของ OSHO มาเป็นมุมมองหนึ่งที่สะท้อนความแตกต่างทางบริบทกับที่เป็นอยู่ในสังคมไทยที่การวิพากษ์วิจารณ์ครู อาจารย์ เป็นสิ่งที่ยังไม่เปิดกว้างเท่าไหร่ OSHO มีความกล้าหาญมากในการหยิบยกศาสดา และนักปราชญ์ต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียง มีสาวกที่ศรัทธาอย่างมั่นคง เช่น พระพุทธเจ้า, พระเยซู, คาริล ยิบราน, กฤษณะมูรติ ฯลฯ มาวิพากษ์วิจารณ์ในแก่นธรรมอย่างตรงไปตรงมา สิ่งที่ OSHO สะท้อนให้เราเห็นนั้น

Read More

วันที่สามซึ่งเป็นวันสุดท้ายในการเรียน “ซาเทียร์” ขั้นพื้นฐาน ในวันนี้กระบวนกรได้ชวนเราทำความเข้าใจลึกลงไปเกี่ยวกับตัวเราเอง และความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว โดยให้เขียนออกมาเป็นแผนที่ครอบครัว (Family of Origin) โดยแนวคิดของ “ซาเทียร์” เชื่อว่านอกจากตัวเราเองแล้ว ครอบครัวที่เราอยู่ด้วยในวัยเด็กจะส่งผลต่อเราอย่างมาก การพิจารณาท่าทีต่าง ๆ ของคนในครอบครัวที่รับมือต่อปัญหาที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวเป็นอย่างไร ใครในครอบครัวที่ชอบบงการ ใครในครอบครัวที่ยอมโอนอ่อนผ่อนตาม ใครในครอบครัวเป็นคนเจ้าหลักการใช้เหตุผล และใครในครอบครัวที่มักเฉไฉ นอกจากพิจารณาในท่าทีแล้ว การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นพ่อของเรากับแม่ของเรา พ่อของเรากับเรา แม่ของเรากับเรา

Read More

วันที่สองกับการเรียน “ซาเทียร์” สิ่งที่ได้เรียนรู้ลึกลงไปในการทำความเข้าใจตนเอง มีอยู่หัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจ ที่ทำให้ตัวเองเข้าใจปมความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา หัวข้อที่ว่า คือ วิธีรับมือแก้ปัญหาที่คุกคามเพื่อความอยูรอด ซึ่งจะมีอยู่ 4 วิธีด้วยกัน ยอมตาม – เป็นการที่ละเลยความสนใจที่แท้จริงของตนเอง (Self) โดยไปใส่ใจที่ผู้อื่น (Other) และบริบท (Context) โดยยอมโอนอ่อนผ่อนตามไปตามผู้อื่น เพื่อตัวเองจะได้ไม่ต้องรับผิดชอบการตัดสินใจ บงการ – เป็นการที่ละเลยต่อความสำคัญผู้อื่น (Other)

Read More

โลกแห่งการเรียนรู้ยังคงก้าวเดินต่อไป วันนี้ก้าวมาสู่การเรียนรู้โลกภายในกับ “ซาเทียร์” ที่จัดโดย เสมสิกขาลัย นำโดยกระบวนกร 3 ท่าน คือ ศ.พญ.นงพงา ลิ้มสุวรรณ นพ.ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ คุณศิริวรรณ ทวีวัฒนปรีชา เริ่มต้นกิจกรรมในวันนี้ กระบวนกรได้ชวนเราให้สำรวจในข้อดีของตนเอง มองเห็นคุณค่าในตนเอง ให้เราจับคู่และเล่าข้อดีของตนเองให้คู่ของเราฟัง และเมื่เราเป็นผู้รับฟังก็ขอให้ฟังด้วยความชื่นชม Appreciate Listening จากนั้นกระบวนกรก็นำเราให้ทำความเข้าใจในเรื่องความสอดคล้องกลมกลืน (Congruence) ผ่านวงกลมแสดงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่าง

Read More

บทสรุปสำหรับ 3 วัน ในการเรียนหลักสูตร “Leadership for Transcendence” ที่ขยี้ลงไปในประเด็น Intuition เป็นหลักตลอดนั้น สำหรับผมแล้วนั้นยอมรับเลยว่าระดับการเข้าถึง Intuition ยังน้อยอยู่มาก ถามว่าเชื่อไหมในเรื่อง Intuition ? ตอบได้เลยว่าเชื่อ เพราะเคยเจอในเรื่องเหล่านี้ที่น่ามหัศจรรย์มาก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาไปวิปัสสนากับพระสายวัดป่าต่าง ๆ และก็มีปรากฎเตือนเป็นสัญญาณเพื่อบอกให้เราทำอะไรบางอย่างในช่วงชีวิตที่ผ่านมา เช่น การตัดสินใจลาออกจาก SCG

Read More

วันนี้เป็นวันที่สองในการเรียนรู้ในหลักสูตร “Leadership for Transcendence” หัวข้อในการเรียนรู้ในวันนี้ยังคงอยู่ในเรื่อง “Intuition” เช่นเดิม เริ่มต้นในวันนี้ กระบวนกรให้ Check-in ว่า “วันนี้เราจะอนุญาตให้ตัวเราเองทำอะไรได้บ้าง ?” ซึ่งเป็นคำถามที่ดีเลยทีเดียว ที่มาปลดล็อคอะไรบางอย่าง เพื่อให้เราพร้อมเรียนรู้กับมัน เมื่อวานผมเป็นนักเรียนที่ตั้งคำถามในหัวตลอดเวลาว่าสิ่งที่กระบวนกรพูด ชี้แนะ หรือนำกระบวนการมันใช่ไหม ? เรียกว่ามีคำถามอยู่ในหัวตลอดเวลา แต่พอเจอคำถามตอน Check-in ผมก็เลยคิดว่าวันนี้ผมจะอนุญาตให้ตัวเองเรียนรู้ไปกับมันอย่างไหลลื่น (Flow)

Read More

วันนี้เป็นวันแรกที่ได้มาเรียนในหลักสูตร 3 วันในหลักสูตร “ภาวะการนำเพื่อการข้ามพ้น (Leadership for Transcendence)” ที่ สสส. ซอยงามดูพลี ประเด็นที่ถูกหยิบขึ้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน Class ในวันนี้ คือ หัวข้อเรื่อง Intuition ซึ่งมีคำเรียกเป็นภาษาไทยว่า “ญาณทัศนะ” หรืออาจจะใช้คำว่า “ปัญญาญาณ” แต่จะใช้คำอะไรคงไม่สำคัญไปกว่าการทำความเข้าใจกับมัน หากจะลองถามกับตัวเองว่าเรามี “Intuition” หรือไม่ ?

Read More

วันนี้ (08/01/60) มีโอกาสอันดีที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม “คั่วคนให้ค้นเป้า” โดย อาจารย์ณรงค์วิทย์ แสนทอง บุคคลที่ปรากฎในภาพบทความนี้ อาจารย์เริ่มต้นว่า วันนี้เราจะมาใช้วิธีการโค้ชแบบ “เขกกะโหลก” ใช้วิธีการคั่ว เพื่อกะเทาะสิ่งที่เป็นเปลือกออกไปให้หมด โฟกัสในสิ่งที่เป็นแก่นจริง ๆ แล้วทำมันให้สำเร็จซะก่อน ดังนั้นการจัดลำดับความสำคัญในชีวิตจึงเป็นเรื่องสำคัญ อย่างนน้อยก่อนที่เราจะไปช่วยสังคม เราควรเอาตัวเองให้รอดเสียก่อน หลังจากทุกคนแนะนำตัวแล้ว ก็เริ่มการคั่วกันเลย คำถามที่ 1 “ชีวิตนี้ต้องการอะไรอีก ?”

Read More

เมื่อวานนี้ได้หยิบหนังสือ “ค้นหาตัวคุณที่ใช่ เข้าใจผู้อื่นด้วยจริตนิสัย ๔” ผลงานเขียนของ เรนนี บารอน แปลเป็นภาษาไทยโดยอาจารย์วาจาสิทธิ์ ลอเสรีวานิช เหตุที่หยิบหนังสือเล่มนี้มาอ่านทบทวนอีกครั้ง ก็สืบเนื่องจากการไปเข้าอบรม MBTI กับอาจารย์วาจาสิทธิ์ เมื่อวันที่ 02/01/2560 ที่ผ่านมา ตามที่เขียนเล่าไว้ใน “ไขรหัสใจ ค้นใจฉัน เข้าใจกัน ด้วย MBTI” เมื่อตอนที่เริ่มต้นศึกษา “Enneagram” สักประมาณ 6-7

Read More

เปิดต้นศักราช ในวันที่ 2 มกราคม 2560 ได้มีโอกาสอันดีในการมาอบรมที่ศศนิเวศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหัวข้อ “Understand Yourself & Others with the MBTI” กับอาจารย์วาจาสิทธิ์ ลอเสรีวานิช ผู้แปลหนังสือที่ชื่อว่า “ไขรหัสใจ ค้นใจฉัน เข้าใจกัน ด้วย MBTI” และผู้แปลหนังสือ Enneagram

Read More