fbpx

ปี 2016 ที่ผ่านมา นับว่าเป็นปีที่ได้เรียนรู้เพิ่มเติมในหลายเรื่อง ในหลากหลายมิติ ในหลากหลายบทบาท บทบาทหุ้นส่วนร้าน House of Commons-Cafe&Space มีความสุขในการทำงานในบทบาทนี้มากที่สุด ดีใจที่ร้าน House of Commons-Cafe&Space ได้เป็นพื้นที่ที่เปิดกว้างความคิดเห็นต่างอย่างแท้จริง ดีใจที่เพชรมีความสุขในการทำสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Project Manager หนังสือ “ถูกทางเกรียน เมื่อลูกเปลี่ยนเรา” ของอาจารย์ต้น

Read More

“เมื่อห้องเรียนกลับทาง” หนังสือเล่มเล็ก ๆ โดย ดร.เดชรัต สุขกำเนิด (อาจารย์ต้น) แห่งภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร และทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ในห้องเรียนในมุมมองใหม่ ๆ ที่ได้ทำให้ห้องเรียนมีชีวิตได้ทั้งความรู้ และความรู้สึก ผมหยิบหนังสือเล่มนี้มาอ่านด้วยความสนใจที่ว่า การเรียนการสอนอย่างเช่นในมหาวิทยาลัยที่บางครั้งมีคนเข้าเรียนเป็น 100 คนขึ้นไป อาจารย์ต้นมีกระบวนการในการจัดรูปแบบการเรียนรู้อย่างไร ให้ผู้เรียนได้ทั้งความรู้ และความสนุกสนาน เนื้อหาในหนังสือ ส่วนหนึ่งอาจารย์ต้นนำมาจากบันทึกเรื่องราวประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนที่อาจารย์เขียนเล่าไว้ใน Facebook

Read More

หวังผลระยะยาว วัดผลระยะสั้น ? คำถามนี้ผุดขึ้นในหัวขณะกำลังนั่งอบรมสัมมนา ณ โรงแรมแห่งหนึ่ง ความคิดเชื่อมโยงไปกับหลักสูตร “เทคนิคการกำหนดตัวชี้วัด และเป้าหมายให้บรรลุผล” ที่กำลังออกแบบอยู่ ว่าหากเราเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหลักสูตร เราจะมีวิธีการวัดผลอื่น ๆ อย่างไรบ้าง นอกเหนือจากการประเมินผลหลังการฝึกอบรม เพื่อวัดผลการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนที่เกิดขึ้นในระยะยาว มองในมุมกลับกัน เราเองในฐานะที่เป็นวิทยากรจะออกแบบกระบวนการเรียนรู้อย่างไร เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน คิดย้อนอดีตกลับไปตอนทำโครงการ C-Pulp#3 และ C-Pulp#4 ที่เป็นโครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของพนักงานในเครือ SCG

Read More

ใคร คือ “ครู” ผู้เปลี่ยนแปลง ? คำถามนี้เป็นคำถามชวนคิดที่นึกขึ้นได้ขณะยืนอยู่บนรถไฟฟ้า BTS ในวันนี้ คำว่า “ครู” ในที่นี้ มิได้หมายถึงเฉพาะ “ครู” ที่เป็นตัวบุคคลเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เราเรียนรู้มากมายในชีวิตทั้งจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เราเคยมีประสบการณ์ตรงด้วยตัวเอง และจากเรื่องราวต่าง ๆ ในหนังสือที่อ่าน ในมุมมองของผมเองพอนึกถึง “ครู” ผู้เปลี่ยนแปลง

Read More

ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาผู้เขียนได้มีโอกาสไปบรรยายในหัวข้อ “ทำอย่างไรให้ประเทศไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ?” ให้กับคณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่โรงไฟฟ้า ในพื้นที่ต่าง ๆ โดยจัดขึ้นทั้งที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดระยอง และจังหวัดนครราชสีมา โดยมีจำนวนผู้เข้าฟังในแต่ละครั้งประมาณ 80 คน ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจในคำนิยามเบื้องต้นก่อนว่า “สังคมแห่งการเรียนรู้ คือ อะไร ?” “สังคมแห่งการเรียนรู้” หมายถึง กระบวนการทางสังคมที่เกื้อหนุนส่งเสริมให้บุคคลหรือสมาชิกในชุมชน ในสังคมเกิดการเรียนรู้ โดยผ่านสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ

Read More

“ความกลัว ความเชื่อ อำนาจ” (บทความนี้ถูกตีพิมพ์ลงใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม 2559) ครอบครัวนับเป็นหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุด แต่นับเป็นหน่วยทางสังคมที่ทรงอิทธิพลมากต่อการเติบโตของเด็กคนหนึ่ง เพราะเด็กจะเติบโตมาภายใต้สภาพแวดล้อมที่ผู้นำครอบครัว ผู้ที่มีอิทธิพลสูงสุดในครอบครัว (ไม่ว่าจะเป็นพ่อ หรือจะเป็นแม่ หรือจะเป็นพ่อและแม่ทั้งสองคนที่มีอิทธิพลร่วมกัน) เป็นผู้กำหนดให้ ซึ่งเป็นไปตามความเชื่อ ความปราถนาดีที่คิดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเด็กเหล่านั้น ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อของผู้นำครอบครัว ก็คือ ประสบการณ์ที่ตนเองประสบพบเจอมาในแต่ละช่วงวัย ทำให้เกิดความระแวดระวัง ความกลัวต่อสภาพแวดล้อมของสังคมภายนอกที่เป็นอันตราย ทำให้เกิดเบ้าหลอมทางความคิดชุดหนึ่งขึ้นมาจนกลายเป็นความเชื่อว่าสภาพแวดล้อมใดที่ดีต่อเด็ก

Read More

(บทความนี้ตีพิมพ์ลงใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม 2558) “เรากำลังแสวงหาอะไร ?” หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับประโยคนี้ เมื่อเอ่ยถึงชื่อหนังสือของท่าน จ.กฤษณมูรติ แต่ในบทความวันนี้ คงจะไม่ได้นำเนื้อหาในหนังสือเล่มดังกล่าวมาเล่าสู่กันฟังแต่อย่างใด แต่อยากจะชวนท่านผู้อ่านใคร่ครวญ และขบคิดไปด้วยกัน เนื่องในโอกาสที่ปี ๒๕๕๘ กำลังจะผ่านพ้นไป และปีพุทธศักราชใหม่ ๒๕๕๙ กำลังจะเริ่มต้นขึ้น “เรากำลังแสวงหาอะไร ?” เป็นประโยคคำถามที่ดีเลยทีเดียว ที่ทำให้ตัวเรานั้นต้องหยุดคิดไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะก้าวเดินต่อไป

Read More

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 ทางองค์การสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศยกย่อง “ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์” อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก อาจารย์ป๋วย เป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องเป็นอย่างมาก ในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ความรู้ความสามารถ ความรักสิทธิเสรีภาพ ความยุติธรรม และความมีสัจจะ ซึ่งเห็นได้จากหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ที่กระแสสังคมในช่วงเวลานั้นมีความนิยมในตัวอาจารย์ป๋วยเป็นอย่างมาก

Read More

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 ทางองค์การสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศยกย่อง “ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์” เป็นบุคคลสำคัญของโลก และในปี 2559 ที่จะครบรอบ 100 ปี ชาตกาล “ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์” ทางมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป  ได้จัดพิมพ์ปฏิทินตั้งโต๊ะ “100 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์

Read More

“Butterfly Effect” “ทฤษฎีผีเสื้อกระพือปีก (Butterfly effect)” อันลือลั่นนั้น ไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องกับการศึกษาวงจรชีวิตของเจ้าผีเสื้อตัวน้อยแต่อย่างใด แต่เกิดจากการทดลองทางด้านการพยากรณ์อากาศ ในปี ค.ศ. 1961 ของเอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์ (Edward Lorenz) ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์สร้างแบบจำลองสภาพอากาศ ซึ่งในการคำนวณครั้งถัดมาเขาไม่ต้องการเริ่มแบบจำลองจากจุดเริ่มต้นใหม่เพื่อประหยัดเวลาในการคำนวณ เขาจึงใช้ข้อมูลในการคำนวณก่อนหน้านี้เพื่อเป็นค่าเริ่มต้น เขาพบว่าสาเหตุเกิดจากการปัดเศษ จากการคำนวณค่าที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีค่าน้อยมากแม้แค่เพียง .0000001 ที่คลาดเคลื่อนไปนั้นก็สามารถนำไปสู่ความแตกต่างอย่างมากมาย เรียกว่าไวต่อสภาวะเริ่มต้น ซึ่งก่อให้เกิดกราฟรูปผีเสื้อ

Read More