fbpx
Problem Solving and Decision Making, แก้ปัญหาและตัดสินใจ

การแก้ปัญหาและตัดสินใจ ในโลกแห่งการแข่งขันในทางธุรกิจ เราพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking) เพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ มากมายที่ต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็น “สถานการณ์ที่ต้องแก้ปัญหาให้ตรงจุด” และ “สถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจอย่างถูกต้อง”

Read More

แก้ปัญหาไม่ถูกจุด…เพราะไม่รู้ประเภทของปัญหา ปัญหาเป็นสิ่งที่ทุก ๆ คนต้องเผชิญ แต่หลายครั้งหลายหนที่หลายคนจับต้นชนปลายไม่ถูก แก้ปัญหาไม่ถูกจุด เพราะไม่รู้ประเภทของปัญหา หากเรามาจำแนกประเภทของปัญหา โดยใช้ตาราง Matrix ใน 2 มิติ คือ มิติของสาเหตุ แบ่งเป็น “รู้” กับ “ไม่รู้” มิติของมาตรการแก้ไข / มาตรการป้องกัน แบ่งเป็น “รู้” กับ

Read More

“ยิ้มไม่ออก กับ Thai Smile” วันนี้เป็นครั้งแรกที่ผมเดินทางกับสายการบิน Thai Smile และเป็นครั้งแรกที่ผมจะจำไว้ไม่มีวันลืม ผมต้องเดินทางไปเชียงใหม่ เพื่อไปบรรยายในวันที่ 26-27/01/2560 ที่บริษัท ช้าฟเนอร์ อีเอ็มซี จำกัด ผมเลยวางแผนเดินทางล่วงหน้าก่อน 1 วัน เพื่อจะได้พักผ่อนให้เต็มที่ เตรียมพร้อมให้เต็มที่กับการบรรยาย ผมเดินทางไปถึงสนามบินสุวรรณภูมิเวลา 12:15 น. เครื่องบินตามกำหนดการไฟล์ท WE182

Read More

การวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าของปัญหา (Root Cause Analysis) ที่ผมบรรยายอยู่ในปัจจุบัน จะเน้นย้ำผู้เรียนในเรื่องความสำคัญของข้อเท็จจริงในการสืบสวนหาสาเหตุ โดยใช้หลัก 3G (Genba, Genbutsu, Genjitsu) และขั้นตอนที่ผมให้ความสำคัญมาก ๆ ก็คือ ขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนทำการไล่เรียงรายละเอียดเหตุการณ์ที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นให้ชัดเจน โดยให้ผู้เรียนเขียนภาพขั้นตอนการไหลของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น ซึ่งโดยปกติแล้ว เรามักจะไล่ภาพขั้นตอนการไหลของกระบวนการเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำความเข้าใจกระบวนการนั้น ๆ แต่ในกรณีที่เราต้องสืบสวนหาสาเหตุรากเหง้าของปัญหา เราต้องใช้ “เทคนิคย้อนรอย” ไล่ย้อนกลับไปตั้งแต่จุดที่พบความผิดปกติ ไล่ย้อนกลับไปกระบวนการก่อนหน้า เพื่อหาข้อสันนิษฐานว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากสาเหตุความผิดพลาดในกระบวนการใด

Read More

เบื้องลึกการตัดสินใจ หลายครั้งหลายหนที่เรามักมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกัน บ่อยครั้งมักจบลงเอยด้วยการทะเลาะเบาะแว้งกัน ใช้คำพูดที่เหน็บแหนมกัน หากเป็นในที่ประชุมภายในบริษัท ภายในองค์กรก็มักจบลงด้วยการทุบโต๊ะโดยผู้มีอำนาจในที่ประชุม หรือลงมติด้วยเสียงข้างมากในที่ประชุม น้อยครั้งมากที่หันเข้าเข้ามาหากัน เพื่อพิจารณาในเรื่องรูปแบบความคิด (Mental Model) ที่มีในใจของแต่ละคน โดยปุถุชนคนทั่วไปจะมีรูปแบบในการตัดสินใจต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ดังรูปภาพ ปัจจัยในการตัดสินใจแต่ละคนไม่ได้มาจาก Information Feedback ที่เป็นข้อเท็จจริงเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากกฎเกณฑ์การตัดสินใจที่เกิดรูปแบบความคิด (Mental Model) ของคน ๆ นั้น

Read More

การวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis) เมื่อย้อนกลับไปดูที่บทที่ 1 ในเรื่องปัญหาในรูปแบบกรณีที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีที่ “สิ่งที่ต้องการ (Target)” มากกว่า “ค่ามาตรฐาน (Standard)” ดังแสดงในรูปที่ 4.1 รูปที่ 4.1 ปัญหาในรูปแบบกรณีที่ 2 นี้เป็นปัญหาประเภท “ปัญหาพื้น ๆ (Standard Problem)” ที่เราสามารถที่จะใช้วิธีการเดิมในอดีตที่เคยทำสำเร็จตาม

Read More

การออกแบบระบบ (Systems Design) เมื่อย้อนกลับไปดูที่บทที่ 1 ในเรื่องปัญหาในรูปแบบกรณีที่ 1 ซึ่งเป็นกรณีที่ “สิ่งที่ต้องการ (Target)” มากกว่า “ค่ามาตรฐาน (Standard)” ดังแสดงในรูปที่ 3.1 ปัญหาในรูปแบบกรณีที่ 1 นี้เป็นปัญหาประเภท “ปัญหาท้าทาย (Challenge Problem)” ที่เราไม่สามารถที่จะใช้วิธีการเดิมในอดีตที่เคยทำสำเร็จตาม “ค่ามาตรฐาน (Standard)” มาใช้ได้อีกต่อไป

Read More

เมื่อเอ่ยถึงความคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) หลายคนคงนึกถึง หนังสือที่ชื่อว่า “The Fifth Discipline” ของ Peter M. Senge ซึ่งพูดถึงวินัยทั้ง 5 ประการ ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ได้แก่ Personal Mastery Mental Models Shared Vision

Read More

“ปัญหา คือ อะไร ?”  “อะไร คือ ปัญหา ?” คือ คำถามที่คิดว่าหลาย ๆ คนคงเคยโดนตั้งคำถาม หรือเคยตั้งคำถามนี้กับตัวเอง เวลาที่ประสบพบเจอกับสิ่งที่คิดว่าเป็นปัญหาซึ่งมีทั้งเรื่องส่วนตัว และเรื่องงาน คำตอบที่มักได้ยินจากการตั้งคำถาม “ปัญหา คือ อะไร ?” “อะไร คือ ปัญหา ?” มักจะเป็น

Read More

Why-Why Analysis คือ เครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าของปัญหา แต่มักมีคำถามบ่อย ๆ ว่าเทคนิคการวิเคราะห์ด้วย Why-Why นั้น เหมาะกับปัญหาประเภทใด ? ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจ Pattern ของปัญหาก่อนว่าสามารถแบ่งได้หลัก ๆ 2 ประเภท คือ ปัญหาเรื้อรั้ง (Chronic Problem) ปัญหาครั้งคราว (Sporadic Problem) การวิเคราะห์ด้วย

Read More