fbpx

คนที่เป็นหัวหน้างาน ผู้จัดการ ผู้บริหารในองค์กร มักจะโดนผู้ใต้บังคับบัญชาค่อนแคะอยู่เสมอว่า ทำตัวเหินห่าง ไม่ค่อยรู้เรื่อง หรือสนใจงานประจำวันสักเท่าไหร่ ชอบทำตัวอยู่บนหอคอยงาช้าง ดังนั้นการที่จะบริหารงานให้ได้ใจลูกน้องนั้นต้อง “ตาดูดาว เท้าติดดิน” ซึ่งในหลักการบริหารเรียกวิธีการทำงานสไตล์ถึงลูกถึงคนแบบนี้ว่า Management by Walking Around ซึ่งนอกจากจะได้ใจลูกน้องแล้ว ก็ยังได้ลงไปรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที มีโอกาสสื่อสารโดยตรงกับคนทำงาน ซึ่งการนำแนวการบริหาร Management by Walking Around

Read More

การแก้ไขปัญหาสังคมในปัจจุบันนั้น คงไม่สามารถที่จะโยนความรับผิดชอบไปให้ภาครัฐเพียงอย่างเดียว ด้วยศักยภาพในเรื่องทรัพยากร และความเชี่ยวชาญหลักของบริษัทเอง จึงมีหลาย ๆ องค์กรนำแนวคิดของการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value – CSV) ที่ Michael E. Porter ได้นำเสนอไว้ว่า “CSV คือ การนำวิธีการทางธุรกิจมาใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคม โดยคำนึงถึงการนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักของกิจการ มาสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน” โดยการดำเนินงานภายใต้แนวคิด CSV จะอยู่ภายใต้เงื่อนไข

Read More

“สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น” เป็นสิ่งที่บ่งบอกให้เห็นถึงความสำคัญของระบบการควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) Visual Control คือ วิธีการบริหารงานที่มองปราดเดียวก็รู้ว่า เกิดความผิดปกติขึ้นหรือไม่ รวมทั้งช่วยสื่อสารให้ชัดเจนขึ้น เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานที่ถูกต้อง Visual Control ที่ใกล้ตัวเรามาก ๆ ก็คือ หน้าปัดรถยนต์ ที่ทำหน้าที่บอกระดับน้ำมัน ความร้อนของหม้อน้ำ ความเร็วของรถ รอบของเครื่องยนต์ เป็นต้น ดูรายละเอียดหลักสูตร “Business

Read More

การวิเคราะห์ และตัดสินใจทางธุรกิจที่สำคัญ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฉายภาพที่เป็นไปได้ต่าง ๆ ออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัด เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่นิยมใช้ คือ Scenario Analysis ขั้นตอนในการทำ Scenario Analysis จะเริ่มต้นจาก การรวบรวมข้อมูลของปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ พิจารณาถึงความแน่นอน ความไม่แน่นอน และแนวโน้ม ของแต่ละปัจจัย สร้างแบบจำลองสถานการณ์ ในกรณีต่าง ๆ ที่เป็นไปได้

Read More

Benchmarking คือ กระบวนการในการเทียบเคียงความสามารถในด้านต่าง ๆ เทียบกับคู่แข่ง ซึ่งบริษัท Xerox ผู้ผลิตเครื่องถ่ายเอกสารชั้นนำของโลก ได้นำวิธีการ Benchmarking นี้มาใช้ในช่วงปี 1980 เพื่อปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันของตนเอง เนื่องจากบริษัท Xerox ประสบปัญหาด้านการตลาดอย่างรุนแรง สูญเสียความสามารถในการแข่งขันให้กับบริษัทคู่แข่งจากประเทศญี่ปุ่นที่เข้ามาตีตลาดด้วยราคาสินค้าที่ต่ำกว่า และคุณภาพที่ดีกว่า กระบวนการทำ Benchmarking คือ การวัด และเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีการปฏิบัติงานกับองค์กรที่ดีกว่า

Read More

รูปที่ 1 การตั้งเป้าหมายด้วยมุมมอง Think from Right Hand Side การตั้งเป้าหมาย คือ หนึ่งในกระบวนการของการวางแผน หรือในกระบวนการแก้ไขปัญหา (ดังแสดงในรูปที่ 2) ที่เราต้องรู้ให้แน่ชัดเสียก่อนว่าเป้าหมายที่เราต้องการอยู่ที่ระดับใด ? รูปที่ 2 วงจรการแก้ปัญหาแบบ Systems Problem Solving ซึ่งโดยทั่วไปแล้วที่เรานิยมตั้งเป้าหมายกันนั้นจะใช้มุมมอง Think from

Read More

ในหลักการบริหารจัดการแบบลีน (Lean Management) นั้น ต้องออกแบบกระบวนการให้มีการไหลลื่นไม่ติดขัด Flow อย่างต่อเนื่อง แต่แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานนั้น ล้วนแต่มีสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการไหลลื่น อันประกอบไปด้วย 3 MU ได้แก่ Muda – ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในงาน อันประกอบไปด้วย “ความสูญเสีย 7 ประการ” Overproduction (การผลิตที่มากเกินไป) Inventory (การมีสินค้าคงคลังเกินความจำเป็น) Motion

Read More

“Jidoka” หมายถึง การควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติ เพื่อป้องกันการเกิด Defect ของชิ้นงานที่จะหลุดไปยังกระบวนการต่อไป คือ แทนที่จะปล่อยให้ไปตรวจพบของเสีย (Defect) ที่ปลายทางจำนวนมา ก็ให้รีบทำการหยุด Line การผลิตเพื่อแก้ไขทันที โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ Zero Defect แนวคิดพื้นฐาน คือ จะต้องไม่ส่งของเสีย (Defect) ไปยังหน่วยงานถัดไป และป้องกันความเสี่ยงที่ของเสียจะหลุดไปถึงมือลูกค้าด้วย ดูรายละเอียดหลักสูตร “Business

Read More

Just-in-time : JIT คือ สถานะในอุดมคติที่มีการไหลของงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous Flow) ที่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า ได้แก่ ทำเฉพาะสินค้าที่ลูกค้าสั่งเท่านั้น ทำให้เสร็จภายในเวลาที่ลูกค้าต้องการเท่านั้น ทำในปริมาณที่ลูกค้าต้องการเท่านั้น เพราะฉะนั้นการออกแบบกระบวนการไหลของสินค้า ตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมวัตถุดิบ ไปผ่านขั้นตอนการแปรรูปต่าง ๆ จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ จนไปถึงกระบวนการบรรจุหีบห่อ และส่งมอบสินค้า จะต้องมีจังหวะที่สอดประสานกัน เกิดการไหลอย่างต่อเนื่อง ไม่มีจุดคอขวด (Bottleneck) ที่ทำให้กระบวนการชะงักงัน สภาวะในอุดมคติของ

Read More

เมื่อเริ่มต้นที่จะวิเคราะห์เรื่องใด สิ่งสำคัญเลย ก็คือ ทุกคนในทีมจะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันเสียก่อน การใช้คำพูดเพียงอย่างเดียวในการสื่อสาร ก็อาจจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจคลาดเคลื่อนไปได้ เครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะช่วยทำให้เราสื่อสารกันเข้าใจถูกต้องตรงกัน ก็คือ การเขียนออกมาเป็นแผนภาพความคิด (Thought Model) ซึ่งแผนภาพความคิดอาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเด็นที่เราพูดคุยกันอยู่ เช่น เราอาจจะเลือกใช้ Ansoff Matrix ในการพูดคุยกันในกรณีที่เรากำลังคุยกันในเรื่องกลยุทธ์ด้านการตลาด เราอาจจะเลือกใช้ Five Force Analysis เมื่อเรากำลังวิเคราะห์ภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่เราอยู่ เราอาจจะเลือกใช้ Value

Read More