fbpx

สรุปประเด็นสำคัญในการแก้ปัญหาด้วย QC Story และ QC 7 Tools

ประเด็นสำคัญในการแก้ปัญหาด้วย QC Story และ QC 7 Tools มีดังนี้

  1. มุมมองในการทำความเข้าใจกับปัญหา คือ ความแตกต่างระหว่าง ผลงานที่เกิดขึ้นจริง (Actual Performance) กับผลงานที่ควรจะเป็น (Should Performance) ดังนั้นถ้าแก้ปัญหาได้สำเร็จจริง ผลงานจะต้องดีขึ้น
  2. สิ่งที่สำคัญก่อนการวิเคราะห์สาเหตุ คือ ต้องสังเกตการณ์อาการ ปรากฏการณ์ที่เป็นตัวบ่งชี้ปัญหาอย่างละเอียดโดยใช้หลัก 5G คือ สภาวะที่ควรจะเป็นรู้ได้ด้วย 2G (Genri, Gensoku) สภาวะที่เกิดขึ้นจริงรู้ได้ด้วย 3G (Genba, Genbutsu, Genjitsu)
  3. ใช้หลักการ IS/IS-Not และการตั้งคำถาม 5W1H ในการวิเคราะห์ความผันแปร หาความแตกต่างระหว่างจุดที่เป็นปัญหา กับจุดที่ไม่เป็นปัญหา
  4. บางปัญหาก่อนเริ่มลงมือทำการปรับปรุงแก้ไข ให้เราวิเคราะห์กระบวนการว่ามีความผันแปรที่ผิดธรรมชาติหรือไม่? หากมีให้ทำการจัดการควบคุมให้อยู่ในสภาวะควบคุมซะก่อน เครื่องมือ Control Chart จะนำมาใช้วิเคราะห์ได้ดี
  5. เครื่องมือ Pareto ก็ใช้วิเคราะห์ความผันแปร ความแตกต่างได้ดี ระหว่างจุดที่เป็นปัญหา (IS) กับจุดที่ไม่เป็นปัญหา (IS-Not)
  6. เขียนหัวข้อปัญหาให้สั้นกระชับ ด้วยหลักการ How + What + (Where/When) เช่น ลด % ของเสีย ที่เกิดจาก M/C No.7
  7. การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา อย่านำข้อจำกัด (Constraint) เข้ามาเป็นเหตุ เพียงแต่ให้เราเข้าใจว่าเราต้องทำงานภายใต้ข้อจำกัด ดังนั้นต้องแยกให้ชัดระหว่าง สาเหตุ กับ ข้อจำกัด

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เป็นประเด็นสำคัญในการแก้ปัญหาด้วย QC Story และ QC 7 Tools

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

boonlert.alert@gmail.com

สนใจอบรมหลักสูตร

“QC Story and QC 7 Tools”

“7 QC Tools เพื่อความสำเร็จในการทำงาน”

ติดต่อ A@LERT Learning and Consultant

098-7633150 (มิลค์)

081-7113466 (เพชร)

Line ID: @Lert

www.nairienroo.com

contact@nairienroo.com

Related Posts