fbpx

Systems Thinking – การคิดเชิงระบบ

ชื่อหลักสูตร : “Systems Thinking” “การคิดเชิงระบบ”

กลุ่มเป้าหมาย : หัวหน้างาน และผู้จัดการขึ้นไป จำนวนไม่เกิน 30 คนต่อรุ่น

หลักการและเหตุผล :

โลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร การรับรู้ข้อมูลที่มากมายทั้งจากการอ่าน ทั้งจากการฟัง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจในเรื่องราวที่เกิดขึ้น สามารถเชื่อมโยงสิ่งที่ได้รับรู้มา โดยการเขียนออกมาเป็นแผนภาพความคิด (Thought Model) เพื่ออธิบายความเข้าใจของเราให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจตรงกัน อันจะนำไปสู่การรับรู้ และแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการนำไปสู่การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

Peter M. Senge ผู้เชี่ยวชาญในเรื่อง Learning Organization ซึ่งเป็นผู้แต่งหนังสือ “The Fifth Discipline” ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับวินัยตัวที่ 5 คือ “Systems Thinking” ว่าเป็นวินัยอันเป็นเสาหลักที่จะสร้างให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้

ในหลักสูตร “Systems Thinking” นี้ จะทำให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจการเขียนแผนภาพความคิด (Thought Model) ของตนเองในเบื้องต้น ก่อนที่จะเชื่อมโยงและพัฒนาไปสู่การทำความเข้าใจ และเขียนแผนภาพความคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) ในรูปแบบพื้นฐาน ได้แก่

  1. วงจรเสริมแรง (Reinforcing Loop)
  2. วงจรสมดุล (Balancing Loop)

รวมไปถึงรูปแบบแผนภาพความคิดเชิงระบบที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ในรูปแบบ Archetypes ต่าง ๆ

ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากหลักสูตรนี้ จะทำให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจปัญหาความซับซ้อนในเชิงธุรกิจ และสามารถเขียนออกมาเป็นแผนภาพความคิดเชิงระบบ เพื่อให้เกิดความรับรู้และเข้าใจที่ตรงกันของทีมงาน ซึ่งจะทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด

วัตถุประสงค์การฝึกอบรม :

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ และฝึกฝนทักษะการอ่าน การฟัง ในการจับประเด็นสำคัญ
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมฝึกฝนการเขียนแผนภาพความคิด (Thought Model)
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจแนวคิดในเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และความสำคัญของวินัยประการที่ 5 (Systems Thinking)
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกฝนการเขียนแผนภาพความคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)

4.1 วงจรเสริมแรง (Reinforcing Loop)

4.2 วงจรสมดุล (Balancing Loop)

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกฝนการเขียนแผนภาพความคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) ที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ในรูปแบบ Archetypes ต่าง ๆ
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเขียนโจทย์ปัญหาความซับซ้อนในเชิงธุรกิจ ออกมาเป็นแผนภาพความคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)

กรอบความคิดของหลักสูตร :

SystemsThinking

เนื้อหาหลักสูตร :

1.ทำไมคุยเรื่องเดียวกัน แต่เห็นภาพไม่เหมือนกัน ?

2.ฝึกฝนทักษะการอ่าน การฟัง เพื่อจับ Key Words และ Key Topics

3.การเขียนแผนภาพความคิด (Thought Model)

Thinking.001

4.วินัย 5 ประการที่จะนำไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

4.1 Personal Mastery

4.2 Mental Models

4.3 Shared Vision

4.4 Team Learning

4.5 Systems Thinking

5.การเขียนแผนภาพความคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)

5.1 วงจรเสริมแรง (Reinforcing Loop)

Reinforcing-Word-of-Mouth-Sales

5.2 วงจรสมดุล (Balancing Loop)

Balancing-Cruise-Control-Loop

6.เขียนแผนภาพความคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) ที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ในรูปแบบ Archetypes ต่าง ๆ

7.ฝึกเขียนโจทย์ปัญหาความซับซ้อนในเชิงธุรกิจ ออกมาเป็นแผนภาพความคิดเชิงระบบ

เทคนิควิธีการฝึกอบรม :

การเรียนรู้แบบผสมผสานระหว่าง

  1. Activity Based Learning ในการนำเกม และกิจกรรม เข้ามาเชื่อมโยงกับเนื้อหาการเรียนรู้ ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
  2. Problem Based Learning ในช่วงการทำ Workshop เพื่อให้ผู้เรียนเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติจริง

ระยะเวลาฝึกอบรม : 1 วัน

วิทยากร : “อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร”

สนใจ “หลักสูตร Systems Thinking” “อบรม Systems Thinking” “หลักสูตร การคิดเชิงระบบ” “อบรม การคิดเชิงระบบ” 

สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

คุณชลมารค (มิลค์) 098-763-3150

คุณทิพย์สุวรรณ (เพชร) 081-7113466

E-mail : contact@nairienroo.com

Line ID : @lert

โดยสามารถระบุรายละเอียดที่ต้องการได้ในแบบฟอร์มด้านล่างนี้