โลกแห่งการเรียนรู้ยังคงก้าวเดินต่อไป วันนี้ก้าวมาสู่การเรียนรู้โลกภายในกับ “ซาเทียร์” ที่จัดโดย เสมสิกขาลัย นำโดยกระบวนกร 3 ท่าน คือ ศ.พญ.นงพงา ลิ้มสุวรรณ นพ.ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ คุณศิริวรรณ ทวีวัฒนปรีชา เริ่มต้นกิจกรรมในวันนี้ กระบวนกรได้ชวนเราให้สำรวจในข้อดีของตนเอง มองเห็นคุณค่าในตนเอง ให้เราจับคู่และเล่าข้อดีของตนเองให้คู่ของเราฟัง และเมื่เราเป็นผู้รับฟังก็ขอให้ฟังด้วยความชื่นชม Appreciate Listening จากนั้นกระบวนกรก็นำเราให้ทำความเข้าใจในเรื่องความสอดคล้องกลมกลืน (Congruence) ผ่านวงกลมแสดงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่าง
Year: 2017

CSR ไม่ใช่เรื่องของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขององค์กร แต่เป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายในองค์กรที่ต้องร่วมมือกัน HR ก็นับเป็นฝ่ายหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ CSR ในองค์กร ตั้งแต่การจัดอบรมให้ความรู้พื้นฐานทางด้าน CSR และ Sustainable Development เพื่อให้เกิดการกระตุ้นสร้างจิตสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบของสังคมขององค์กร นอกจากนี้แล้ว HR ในฐานะที่รับผิดชอบดูแลพนักงาน ที่จัดเป็น Stakeholder รายหนึ่งที่สำคัญนั้น จะสามารถทำ CSR กับคนภายในองค์กรอย่างไรให้อยู่ดีมีสุข ตั้งแต่ก่อนเข้าทำงาน เข้ามาทำงาน จนสุดท้ายลาออกไป

บทสรุปสำหรับ 3 วัน ในการเรียนหลักสูตร “Leadership for Transcendence” ที่ขยี้ลงไปในประเด็น Intuition เป็นหลักตลอดนั้น สำหรับผมแล้วนั้นยอมรับเลยว่าระดับการเข้าถึง Intuition ยังน้อยอยู่มาก ถามว่าเชื่อไหมในเรื่อง Intuition ? ตอบได้เลยว่าเชื่อ เพราะเคยเจอในเรื่องเหล่านี้ที่น่ามหัศจรรย์มาก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาไปวิปัสสนากับพระสายวัดป่าต่าง ๆ และก็มีปรากฎเตือนเป็นสัญญาณเพื่อบอกให้เราทำอะไรบางอย่างในช่วงชีวิตที่ผ่านมา เช่น การตัดสินใจลาออกจาก SCG

วันนี้เป็นวันที่สองในการเรียนรู้ในหลักสูตร “Leadership for Transcendence” หัวข้อในการเรียนรู้ในวันนี้ยังคงอยู่ในเรื่อง “Intuition” เช่นเดิม เริ่มต้นในวันนี้ กระบวนกรให้ Check-in ว่า “วันนี้เราจะอนุญาตให้ตัวเราเองทำอะไรได้บ้าง ?” ซึ่งเป็นคำถามที่ดีเลยทีเดียว ที่มาปลดล็อคอะไรบางอย่าง เพื่อให้เราพร้อมเรียนรู้กับมัน เมื่อวานผมเป็นนักเรียนที่ตั้งคำถามในหัวตลอดเวลาว่าสิ่งที่กระบวนกรพูด ชี้แนะ หรือนำกระบวนการมันใช่ไหม ? เรียกว่ามีคำถามอยู่ในหัวตลอดเวลา แต่พอเจอคำถามตอน Check-in ผมก็เลยคิดว่าวันนี้ผมจะอนุญาตให้ตัวเองเรียนรู้ไปกับมันอย่างไหลลื่น (Flow)

วันนี้เป็นวันแรกที่ได้มาเรียนในหลักสูตร 3 วันในหลักสูตร “ภาวะการนำเพื่อการข้ามพ้น (Leadership for Transcendence)” ที่ สสส. ซอยงามดูพลี ประเด็นที่ถูกหยิบขึ้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน Class ในวันนี้ คือ หัวข้อเรื่อง Intuition ซึ่งมีคำเรียกเป็นภาษาไทยว่า “ญาณทัศนะ” หรืออาจจะใช้คำว่า “ปัญญาญาณ” แต่จะใช้คำอะไรคงไม่สำคัญไปกว่าการทำความเข้าใจกับมัน หากจะลองถามกับตัวเองว่าเรามี “Intuition” หรือไม่ ?

วันนี้ (08/01/60) มีโอกาสอันดีที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม “คั่วคนให้ค้นเป้า” โดย อาจารย์ณรงค์วิทย์ แสนทอง บุคคลที่ปรากฎในภาพบทความนี้ อาจารย์เริ่มต้นว่า วันนี้เราจะมาใช้วิธีการโค้ชแบบ “เขกกะโหลก” ใช้วิธีการคั่ว เพื่อกะเทาะสิ่งที่เป็นเปลือกออกไปให้หมด โฟกัสในสิ่งที่เป็นแก่นจริง ๆ แล้วทำมันให้สำเร็จซะก่อน ดังนั้นการจัดลำดับความสำคัญในชีวิตจึงเป็นเรื่องสำคัญ อย่างนน้อยก่อนที่เราจะไปช่วยสังคม เราควรเอาตัวเองให้รอดเสียก่อน หลังจากทุกคนแนะนำตัวแล้ว ก็เริ่มการคั่วกันเลย คำถามที่ 1 “ชีวิตนี้ต้องการอะไรอีก ?”

HR นับว่าเป็นฝ่ายที่มีบทบาทสำคัญมากในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ต่าง ๆ ขององค์กร กลยุทธ์ด้าน CSR นับเป็นกลยุทธ์อีกด้านหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญมากต่อองค์กรในยุคปัจจุบัน HR ถือเป็นกลไกที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายองค์กรไปสู่พนักงานในมิติด้านต่าง ๆ Employee rights Employee reward Employee wellbeing Employee recruitment Employee development Employee communications Employee involvement ซึ่งจะทำให้เกิด

“เรียนเป็นเรียน เล่นเป็นเล่น” คงเป็นคำกล่าวที่แยกแยะการเล่น กับการเรียนออกจากกันโดยเด็ดขาดจนเกินไป ทำอย่างไรให้ “เรียนเป็นเล่น เล่นเป็นเรียน” เกิดขึ้นได้ ? ผม อาจารย์หญิง และอาจารย์อัลม่อน จะชวนคุณเข้าไปค้นหาความเป็นเด็กในตัวคุณอีกครั้ง แล้วคุณจะพบกับความมหัศจรรย์ในการเรียนรู้ผ่านการใช้เกมเป็นสื่อการสอน ไม่ว่าจะเป็น Board Game ที่ชื่อว่า “Hey! That’s My Fish” Lego ในรูปแบบ Brick

เมื่อวานนี้ได้หยิบหนังสือ “ค้นหาตัวคุณที่ใช่ เข้าใจผู้อื่นด้วยจริตนิสัย ๔” ผลงานเขียนของ เรนนี บารอน แปลเป็นภาษาไทยโดยอาจารย์วาจาสิทธิ์ ลอเสรีวานิช เหตุที่หยิบหนังสือเล่มนี้มาอ่านทบทวนอีกครั้ง ก็สืบเนื่องจากการไปเข้าอบรม MBTI กับอาจารย์วาจาสิทธิ์ เมื่อวันที่ 02/01/2560 ที่ผ่านมา ตามที่เขียนเล่าไว้ใน “ไขรหัสใจ ค้นใจฉัน เข้าใจกัน ด้วย MBTI” เมื่อตอนที่เริ่มต้นศึกษา “Enneagram” สักประมาณ 6-7

วันนี้ได้มีโอกาสทำงานในบทบาทที่ปรึกษาให้กับองค์กรที่ทำงานภาคสังคมแห่งหนึ่ง ที่มีความรู้ และประสบการณ์มากมายในการทำงานกับคนชายขอบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มแรงงานต่างด้าว แรงงานสตรี และเด็ก ผู้พิการ คนไร้บ้าน ฯลฯ โดยที่ผ่านมามีทั้งการจัดอบรม การจัดเวทีแลกเปลี่ยน การจัดทำชุดความรู้ต่าง ๆ ขึ้นมา ประเด็นที่ปรึกษาหารือกันวันนี้ ก็คือ จะทำอย่างไรให้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนชายขอบต่าง ๆ เหล่านี้ ได้รับการใส่ใจและดูแล เพราะที่ผ่านมาการทำงานผ่านกลไกของภาครัฐยังขับเคลื่อนไปไม่ได้เท่าไหร่นัก เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะนำประเด็นปัญหาเหล่านี้ทำงานขับเคลื่อนร่วมกับภาคธุรกิจ ?