Post Grid #1
พัฒนากระบวนการสอนด้วย AAR (After Action Review)
ในวันนี้ (16/01/58) ได้มีโอกาสมาทำงานร่วมกับทีมงานของอาจารย์ไชยยศ ปั้นสกุลไชย เพื่อมาจัดฝึกอบรมในเรื่อง “Team Productivity” ให้กับบริษัทแห่งหนึ่ง ที่สวนสามพราน จ.นครปฐม ผมได้รับมอบหมายให้เป็นวิทยากรในช่วงหลังเบรคบ่าย ในการบรรยายหัวข้อ Kaizen เพื่อการปรับปรุงงานให้กับผู้เข้าอบรม และให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้มาทำ Workshop ในการปรับปรุงงานของจริง ซึ่งหลังจากการฝึกอบรมอาจารย์ไชยยศ ก็ชวนทีมมานั่งล้อมวงคุยกันเพื่อทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นในการฝึกอบรมในวันนี้ เพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ในภาษาทางการทหาร เรียกว่า AAR ที่ย่อมาจากคำว่า After Action Review ข้อแนะนำที่ผมได้จากอาจารย์ไชยยศ และทีมในวันนี้ ก็คือ…
"ความมีวินัย" หัวใจสำคัญของการบริหารงานแบบญี่ปุ่น
ระบบการบริหารงานหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น 5S, TQM, TPM, TPS (Toyota Production System) หรือที่เรารู้จักกันในนามว่า “LEAN” นั้น มักมีคำถากถางคนไทยอยู่เสมอว่า “ระบบพวกนี้โตที่ญี่ปุ่น แต่ต้องมาตายที่เมืองไทย” ก็น่าสนใจนะครับว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ? ผมเองได้มีโอกาสไปศึกษาเรื่อง LEAN Production ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ช่วงที่เกิดเหตุการณ์ Tsunami พอดี ซึ่งในวันเกิดเหตุนั้น ผมอยู่ที่โรงงานผลิตรถยนต์ Toyota กำลังเดินอยู่บน…
จัดระเบียบความคิดด้วย Affinity Diagram
Affinity Diagram คือ เครื่องมือตัวหนึ่งที่จะช่วยจัดระเบียบความคิด จากการระดมสมอง เพื่อจัดไอเดียที่หลากหลายจำนวนมากมาย ออกเป็นกลุ่ม ๆ ที่มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกัน เพื่อนำไปสู่การหาข้อสรุปร่วมกัน โดยมีขั้นตอนดังนี้ ร่วมกันระดมสมอง เขียนไอเดียเป็นข้อความที่กระชับ 1 ไอเดียต่อ 1 แผ่น ลงบน Post-it และติดไว้บนกระดาน หรือผนังกำแพง เพื่อที่ทุกคนจะได้เห็นได้ทั่ว ช่วยกันย้ายไอเดียที่ดูจะสัมพันธ์กันไปไว้อยู่กลุ่มเดียวกัน หากไอเดียไหนไม่เข้าพวกก็แยกไว้โดด ๆ เมื่อจัดกลุ่มได้แล้ว ก็ให้อภิปรายกัน เพื่อหา Keyword เพื่อเป็นหัวข้อของแต่ละกลุ่ม…
แก้ปัญหาที่ต้นตอต้อง Why-Why Analysis
เหตุใดที่ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความผิดพลาดในงาน เครื่องจักร Breakdown จึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แก้ปัญหาเท่าไหร่ก็ไม่เคยหายขาดซักที ลองถามตัวคุณเองดูว่า คุณยังวิเคราะห์ปัญหาแบบนี้อยู่หรือไม่ จู่โจมเข้าวิเคราะห์ปัญหาเลย ทั้งที่ยังไม่ได้รวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน เริ่มวิเคราะห์ทั้งที่ยังไม่เข้าใจสถานการณ์อย่างถูกต้อง เริ่มวิเคราะห์ทั้งที่ยังไม่ได้ไล่เรียงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น เริ่มวิเคราะห์ทั้งที่ยังไม่เฟ้นหาปรากฎการณ์ที่ควรนำเจาะหาสาเหตุ วิเคราะห์ไปเรื่อย ทั้งที่ไม่ใช่การเจาะหาสาเหตุอย่างมีเหตุมีผล ยุติการวิเคราะห์ ทั้งที่ยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา หากคุณยังมีอาการในการวิเคราะห์ปัญหาเช่นนี้ การแก้ปัญหาก็จะเป็นการแก้ปัญหาแบบชั่วคราวเพื่อบรรเทาอาการของปัญหาเท่านั้น แต่ยังไม่ได้เข้าไปแก้ปัญหาที่แท้จริงของปัญหา Why-Why Analysis คือ เทคนิคในการวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ที่ไม่ได้แค่เป็นการนึกคิดหาสาเหตุของปรากฎการณ์ที่ทำให้เกิดปัญหาหนึ่ง แต่เป็นการค้นหาสาเหตุของปรากฎการณ์ให้ครบถ้วนและมีหลักการ โดยเป็นวิธีที่จะพาไปสู่มาตรการป้องกันปัญหาเกิดซ้ำ ด้วยการใช้เทคนิคการตั้งคำถามทำไม-ทำไม ไปจนเจอสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ไม่ใช่ว่าต้องตั้งคำถามว่าทำไมซ้ำกัน…