Post Grid #1
VOC จุดเริ่มต้นที่สำคัญในการบริหารงานแบบ LEAN
กุญแจสำคัญในการบริหารงานแบบลีน (Lean Management) ประกอบไปด้วย การทำให้ลูกค้าพึงพอใจ คือ ให้บริการได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น ภายใต้เวลาที่น้อยลง รวดเร็วขึ้น การมุ่งเข้าไปปรับปรุงกระบวนการ โดยเข้าไปขจัดข้อบกพร่อง (Defect) ที่ลูกค้าไม่ต้องการออกไป การร่วมกันทำงานเป็นทีม ที่จะช่วยกันแบ่งปันความคิดในการร่วมกันแก้ปัญหา การอ้างอิงข้อมูลข้อเท็จจริง (Fact Based) ในการตัดสินใจ โดยจุดเริ่มต้นต้องเริ่มจากข้อแรก คือ การทำให้ลูกค้าพึงพอใจ ที่จะต้องไปสืบค้นถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ฟังเสียงของลูกค้า (Voice of Customer) เพื่อนำมาเป็นตัวกำหนดเป้าหมายในการปรับปรุงกระบวนการต่อไป ดูรายละเอียดหลักสูตร “Business…
บันทึกมูลค่าความสูญเสียในกระบวนการด้วย "MFCA"
เพื่อให้การปรับปรุงกระบวนการโดยการนำแนวคิดบริหารแบบลีน (Lean Management) มาใช้ สามารถวัดและประเมินมูลค่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นที่สามารถเชื่อมโยงสะท้อนไปที่บัญชีต้นทุนได้อย่างแท้จริงว่า สามารถลดต้นทุนจากการลดความสูญเสียในกระบวนการได้เท่าไหร่ ก็จะต้องนำแนวคิดของ “MFCA” มาประยุกต์ใช้ “MFCA” คือ อะไร ? MFCA ย่อมาจากคำว่า Material Flow Cost Accounting บัญชีต้นทุนการไหลวัสดุ ที่มีจุดเริ่มต้นจากประเทศเยอรมนี และมาเริ่มใช้แพร่หลายในประเทศญี่ปุ่นในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นที่จะเข้าไปวัดมูลค่าวัตถุดิบ มูลค่าของเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการ ซึ่งจะทำให้เรามองเห็น และสามารถประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนได้ว่า หากเราต้องการปรับปรุงกระบวนการเพื่อลดความสูญเสียที่เกิดขึ้น จะคุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่…
"Lean for Environment" ด้วยแนวคิด "3 R"
การปรับปรุงงานด้วยการนำแนวคิดการบริหารงานแบบลีน (Lean Management) มาใช้นั้น นอกจากเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำให้งานคล่องตัวแล้ว ก็ยังมีวัตถุประสงค์ในด้านสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน เรียกว่า “Lean for Environment” โดยนำแนวคิด “3 R” มาประยุกต์ใช้ อันได้แก่ R – Reduce การลดการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ พลังงานไฟฟ้า น้ำ เชื้อเพลิง โดยพยายามเข้าไปลดจุดรั่วไหลที่เกิดขึ้นในกระบวนการ R – Reuse การนำกลับมาใช้ซ้ำ เช่น…
"5 Zero" ของการทำงานแบบ LEAN ในอุดมคติ
การนำระบบการบริหารงานแบบลีน (Lean Management) มาปรับใช้ ก็เพื่อมุ่งเน้นขจัดความสูญเสียให้หมดไป ความคาดหวังในทางอุดมคติ เรียกว่า ต้องพยายามอย่างเต็มที่ที่จะต้องทำให้เกิดขึ้น คือ การมุ่งสู่ “5 Zero” อันประกอบด้วย 1. ของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defect) เนื่องจากของเสีย เป็นต้นทุน 2. การรอคอยเป็นศูนย์ (Zero Delay) เนื่องจากการรอคอยทำให้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น คน เครื่องจักร ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ 3. เครื่องจักรหยุดเป็นศูนย์…