fbpx

TPM การบำรุงรักษาเครื่องจักรเพื่อการเพิ่มผลผลิตที่ทุกคนมีส่วนร่วม

ชื่อหลักสูตร : “TPM การบำรุงรักษาเครื่องจักรเพื่อการเพิ่มผลผลิตที่ทุกคนมีส่วนร่วม”

กลุ่มเป้าหมาย : หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป จำนวนไม่เกิน 30 คนต่อรุ่น

หลักการและเหตุผล :

การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance, TPM) คือ ปรัชญา (Philosophy) หรือเครื่องมือ (Tool) ในการบริหารการผลิต เป้าหมายสูงสุดของ TPM คือ เครื่องจักรเสียเป็นศูนย์ หรือ Zero Breakdown ของเสียเป็นศูนย์ หรือ Zero Defect และอุบัติเหตุเป็นศูนย์ Zero Accident ด้วยการดำเนินการตามเสาหลัก 8 ประการ (8 Pillars) ของ TPM และต้องมีกิจกรรมอื่นควบคู่กันไปด้วย เพื่อเป็นส่วนเสริมหรือส่วนเพิ่มศักยภาพ เช่น การดำเนินกิจกรรม 5ส การนำระบบการควบคุมด้วยการมองเห็นหรือ Visual Control การติดตั้งระบบป้องกันความผิดพลาด หรือ Poka – Yoke แม้กระทั่งการนำเทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการ หรือ IE Technique มาใช้ก็สามารถทำได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดความสูญเสีย (waste) ในกระบวนการผลิตหรือการบริหารการผลิต ซึ่งเป็นแนวทางไปสู่ระบบการผลิตแบบปราศจากความสูญเสีย หรือ Waste-free Production ได้อีกทางหนึ่ง

การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม วัดประสิทธิผลของการปฏิบัติที่ค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์ หรือ OEE (Overall Equipment Effectiveness) ซึ่งถือเป็นดัชนีความสำเร็จในภาพรวม โดยพิจารณาที่ผลลัพธ์เป็นสำคัญ กล่าวคือ การพิจารณาที่การใช้ประโยชน์จากเครื่องจักร การใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบและการทำงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนั้นยังจำเป็นต้องมีหน่วยวัดอื่น เช่น การวัดระยะเวลาเฉลี่ยที่เครื่องจักรใช้งานได้ก่อนการเสียหาย หรือ MTBF (Mean Time Between Failure) และ ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการแก้ไขเมื่อเครื่องจักรเสียแต่ละครั้ง หรือ MTTR (Mean Time To Repair)  เป็นต้น รวมถึงหลักการซ่อมบำรุงรักษาด้วยตนเองเบื้องต้นของผู้ที่อยู่หน้าเครื่องจักร (AM) ทั้ง 8 ด้านที่ควรรู้ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถรับรู้ถึงประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรไปพร้อม ๆ กัน เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงเครื่องจักรอย่างต่อเนื่องต่อไป

การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ จึงเป็นคำตอบที่ดีขององค์กรที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต ด้วยการเพิ่มความสามารถในการเดินเครื่องได้ตลอดเวลาของเครื่องจักรผ่านกิจกรรม TPM ที่ในระหว่างการอบรมจะมีแบบฝึกหัด ตัวอย่าง และการระดมสมองของผู้เข้าร่วมการอบรมเอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้จริงหลังการอบรม เพื่อเป้าประสงค์หลักของการเป็น World Class Manufacturing

วัตถุประสงค์การฝึกอบรม : 

  1. เพื่อสร้างความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท
  2. เพื่อสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรม TPM อย่างเป็นระบบ
  3. เพื่อสร้างแนวทางในการบำรุงรักษาด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเครื่องจักร อย่างเป็นมีรูปแบบ
  5. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาหน่วยงาน และบริษัทอย่างต่อเนื่อง

เนื้อหาหลักสูตร :

  1. องค์ประกอบของการผลิต ด้านต้นทุน กำไร และรายได้
  2. ความหมายของระบบการซ่อมบำรุง
  3. การซ่อมบำรุงแบบต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม
  4. ความหมายของ TPM และความแตกต่างจากระบบ PM
  5. ความสูญเสียหลักทั้ง 6 ประการของเครื่องจักร
  6. เสาหลักทั้ง 8 ของ TPM
    • การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง (Individual Improvement)
    • การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
    • การบำรุงรักษาตามแผน (Planned Maintenance)
    • การศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะการทำงานและการบำรุงรักษา (Operation and Maintenance Development)
    • การคำนึงถึงการบำรุงรักษาตั้งแต่ขั้นการออกแบบ (Initial Phase Management)
    • ระบบการบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ (Quality Maintenance)
    • ระบบการทำงานของฝ่ายบริหารที่ตระหนักถึงประสิทธิภาพการผลิตหรือเรียกว่า TPM ในสำนักงาน (TPM in Office)
  7. กลยุทธ์ในการดำเนินการ TPM
  8. ดัชนีชี้วัดของ TPM และความหมายค่า OEE / MTBF / MTTR ของเครื่องจักร
  9. การประสานงานร่วมกันระหว่างฝ่ายผลิตและซ่อมบำรุงเพื่อการทำ TPM ที่สมบูรณ์
  10. Workshop1: การวัดประสิทธิผลของการทำระบบ TPM
  11. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถามตอบ

เทคนิควิธีการฝึกอบรม :

  1. การบรรยาย 70 %
  2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 20%
  3. กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์ 10 %

ระยะเวลาฝึกอบรม : 1 วัน (09:00 – 16:00 น.)

วิทยากร : “อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์”

สนใจ “หลักสูตร TPM” “อบรม TPM” “หลักสูตร OEE” “อบรม OEE” “หลักสูตร Visual Control” “อบรม Visual Control” “หลักสูตร Poka-Yoke” “อบรม Visual Poka-Yoke”

สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

คุณชลมารค (มิลค์) 098-763-3150

คุณทิพย์สุวรรณ (เพชร) 081-7113466

E-mail : contact@nairienroo.com

Line ID : @lert

โดยสามารถระบุรายละเอียดที่ต้องการได้ในแบบฟอร์มด้านล่างนี้