Post Grid #1
"เรากำลังแสวงหาอะไร ?"
(บทความนี้ตีพิมพ์ลงใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม 2558) “เรากำลังแสวงหาอะไร ?” หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับประโยคนี้ เมื่อเอ่ยถึงชื่อหนังสือของท่าน จ.กฤษณมูรติ แต่ในบทความวันนี้ คงจะไม่ได้นำเนื้อหาในหนังสือเล่มดังกล่าวมาเล่าสู่กันฟังแต่อย่างใด แต่อยากจะชวนท่านผู้อ่านใคร่ครวญ และขบคิดไปด้วยกัน เนื่องในโอกาสที่ปี ๒๕๕๘ กำลังจะผ่านพ้นไป และปีพุทธศักราชใหม่ ๒๕๕๙ กำลังจะเริ่มต้นขึ้น “เรากำลังแสวงหาอะไร ?” เป็นประโยคคำถามที่ดีเลยทีเดียว ที่ทำให้ตัวเรานั้นต้องหยุดคิดไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะก้าวเดินต่อไป ผู้เขียนเองวัยก็ย่างเข้าสู่อายุ ๔๐ ปี เรียกได้ว่าเข้าสู่วัยกลางคน ผ่านพ้นชีวิตมากว่าครึ่งทาง…
คาร์บอนเครดิต กลลวง "ทุนนิยมรักษ์โลก"
การแก้ไขปัญหาโลกร้อนที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงแล้ว ต้องเข้าไปแก้ไขที่แหล่งกำเนิดโดยที่ทุกประเทศจะต้องร่วมมือกันในการที่จะช่วยกันลดการปล่อยก๊าซที่ส่งผลสภาวะโลกร้อน แต่ก็มีนำเสนอแนวคิด “การค้าคาร์บอน (Carbon Trading)” คือ ให้ผู้ที่ปล่อยก๊าซฯเกินค่ามาตรฐาน สามารถซื้อคาร์บอนเครดิต จากผู้ที่มีปล่อยก๊าซฯต่ำกว่าค่ามาตรฐานได้ โดยใช้ชื่อเรียกกลไกนี้ว่า “กลไกการพัฒนาที่สะอาด” หรือ “Clean Development Mechanism” เพื่อช่วยประเทศพัฒนาแล้วที่โดนบังคับให้ลดการปล่อยก๊าซฯ แต่อ้างว่าต้นทุนการลดก๊าซในประเทศตัวเองสูงเกินไป นำเงินไปซื้อ “คาร์บอนเครดิต” จากประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งกล่าวอ้างต้นทุนการลดก๊าซในประเทศดังกล่าวนั้นถูกกว่า แนวคิดการค้า “คาร์บอนเครดิต” ถูกโฆษณาและนำเสนอไปทั่วโลกว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อหยุดภาวะโลกร้อน แต่แท้ที่จริงแล้วกลับยิ่งซ้ำเติมปัญหาให้หนักยิ่งขึ้น เพราะถ้าสามารถทำกำไรจากอุตสาหกรรมอย่างมากมาย การจ่ายเงินเพียงเล็กน้อยเพื่อซื้อ “คาร์บอนเครดิต” นั้นก็มีความคุ้มค่าทางธุรกิจ…
เหตุใดการทำ EIA / EHIA จึงไม่เป็นที่ยอมรับ
EIA กับ EHIA คือ อะไร ต่างกันอย่างไร แล้วทำไมต้องมี EIA (Environmental Impact Assessment) คือ “รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม” จากโครงการต่าง ๆ ของรัฐและเอกชน เช่น เขื่อน โรงไฟฟ้า ถนน สนามบิน ที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ทั้งด้านบวกและลบ เพื่อเตรียมควบคุม ป้องกัน และแก้ไขก่อนเริ่มสร้างโครงการนั้น ๆ ส่วน EHIA (Environmental…
"ช่องสาริกา โมเดล" หนึ่งในรูปแบบการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
“ช่องสาริกา โมเดล” นับเป็นแนวคิดในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนของเครือเบทาโกร ที่ได้นำแนวคิดในด้าน Productivity Management เข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านใน ต.ช่องสาริกา อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี โดยล่าสุดได้ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Productivity World ของ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ฉบับที่ 119 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558) ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่จบปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์อย่างคุณวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ ทำให้มองว่าการทำ CSR แบบเดิม ๆ ที่แจกทุนการศึกษาให้กับเด็กผู้ด้อยโอกาส ยังไม่ได้ส่งผลให้ชุมชนเติบโตเข้มแข็งทางเศรษฐกิจอย่างใด จึงตั้งโจทย์ที่คิดว่าจะสร้างกลไกการขับเคลื่อนในการทำงานร่วมกับชุมชนอย่างไร เพื่อให้เกิดผลที่แท้จริงต่อชุมชน และสามารถนำแนวคิดนี้ขยายไปยังพื้นที่อื่น…