fbpx

LEED : มาตรฐานอาคารเขียว…สิ่งที่นักสร้างอาคารต้องเข้าใจ (ตอนที่ 2)

(มาว่ากันตอนในตอนที่ 2 กับ LEED มาตรฐานอาคารเขียว)

ความน่าสนใจของ LEED ที่ออกแบบเกณฑ์การให้คะแนนมาอย่างเป็นระบบด้วยการผลักดันไปให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่แท้จริงคือ

1. ปัจจัยที่ส่งผลมากก็จะมีสัดส่วนที่เป็นคะแนนเต็มสูงกว่าปัจจัยที่ส่งผลน้อย

2. ข้อที่ได้คะแนนเต็มจะมีคะแนนพิเศษเพิ่มให้

ทั้งสองส่วนนี้มองว่าเป็น LEAD factors หรือเป็นปัจจัยที่ชักนำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายพยายามให้ความสำคัญกับมิติที่ส่งผลต่อการสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

จุดที่น่าสนใจอีกเรื่องของการประเมินมาตรฐาน LEED คือการมุ่งไปที่การส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนตลอดวงจรชีวิตของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างระบบการให้คะแนนแต่ละข้อจะแยกอย่างละเอียดเพื่อส่งเสริมเป้าหมายความยั่งยืนในแต่ละมิติอย่างชัดเจน เช่น คะแนนของการใช้วัสดุรีไซเคิลจะแยกเป็นวัสดุรีไซเคิลที่มาจากท้องถิ่นกับจากสถานที่อื่นที่ต้องขนส่งมา คะแนนจะไม่เท่ากัน รวมถึงประเภทของวัสดุรีไซเคิลที่เคยผ่านการใช้งานมาแล้ว หรือยังไม่เคยใช้งานมาก่อนก็ได้คะแนนไม่เท่ากัน จะเห็นว่าเกณฑ์การประเมินทุกหมวด ทุกข้อจะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเป้าหมายเดียวกันคือการพัฒนาที่ยั่งยืน 

นอกจากนี้ มาตรฐาน LEED ไม่ได้สนใจเฉพาะขั้นตอนการสร้างสิ่งปลูกสร้างอย่างเดียว แต่ยังคำนึงถึงการออกแบบตกแต่งภายใน และการรักษาสภาพการจัดการหลังจากที่ตึกสร้างเสร็จแล้วโดยแบ่งตามประเภทการใช้งานของอาคารแต่ละประเภทอีกด้วย ในมาตรฐาน LEED เรียกสิ่งนี้ว่า “LEED Rating System” ประเภทหลักๆ ได้แก่

LEED BD+C คือ LEED for Building Design and Construction เน้นที่การออกแบบและก่อสร้างอาคารใหม่

LEED O+M คือ LEED for Operation and Maintenance  เน้นที่การจัดการและการดูแลรักษาอาคารที่มีอยู่เดิม

LEED ID+C คือ LEED for Interior Design and Construction เน้นที่การออกแบบตกแต่งภายในอาคาร

โดยแต่ละประเภทจะมีหมวดหัวข้อการให้คะแนนเหมือนกัน แต่คะแนนเต็มจะไม่เท่ากัน และครอบคลุมช่วงเวลาในการออกแบบ ก่อสร้าง หรือใช้งานอาคารหลังสร้างเสร็จที่ต่างกัน คือ ถ้าเป็นการก่อสร้างอาคารใหม่ก็จะประเมินการออกแบบและก่อสร้าง และให้การรับรองเพียงครั้งเดียว และไม่มีการหมดอายุ แต่ถ้าเป็นการดูแลอาคาร ผลการรับรองจะมีหมดอายุซึ่งต้องขอการรับรองอย่างต่อเนื่อง เช่น ทุก 3 หรือ 5 ปี

นอกจากนี้ประเภทอาคารในแต่ละแบบจะปรับเปลี่ยนประเภทการใช้งานตามยุคสมัย ซึ่งใน Version ล่าสุด (LEED V.4) ได้เพิ่มประเภทอาคาร Data Center การใช้งานประเภทนี้มีการก่อสร้างมากขึ้น เมื่อไม่นานมานี้  ที่ต้องแยกอาคารประเภทนี้ออกจากอาคารประเภทอื่นๆ เพราะลักษณะการใช้พลังงานแตกต่างจากประเภทอื่น ๆ เป็นต้น

สุดท้าย ความประทับใจกับระบบมาตรฐาน LEED คือการคำนึงถึงมิติการให้ความรู้สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง มาตรฐาน LEED จะแยก Reference Guides สำหรับงานออกแบบแต่ละระบบ ซึ่งตรงนี้ในฐานะ HRD คิดว่าเป็นสิ่งจำเป็นมากๆ เพราะแต่ละวิชาชีพจะมีพื้นฐานความรู้ไม่เหมือนกัน และมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสิ่งปลูกสร้างไม่เหมือนกัน การแบ่งคู่มือตามวิชาชีพจะทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและทำตามเกณฑ์มาตรฐาน LEED

ที่เล่ามาทั้งหมดจะเห็นว่ามาตรฐาน LEED มีความเป็นระบบในการวางมาตรฐานการประเมินโดยคำนึงถึงทุกมิติของการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างโดยให้ความสำคัญตลอดวงจรชีวิตอาคารตั้งแต่เริ่มตัดสินใจสร้างอาคารเลือกทำเล ไปถึงการตกแต่งอาคารและการดูแลบำรุงรักษาอาคาร กลับมาคิดเปรียบเทียบกับการบริหารองค์กรที่ต้องขับเคลื่อนธุรกิจให้ได้ตามเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ของผู้บริหารการวางระบบการบริหารในส่วนงานต่างๆ ได้ถูกมองว่าเป็นระบบที่สอดคล้องกันแล้วหรือยัง? ถ้ายังก็จำเป็นต้องออกแบบให้สอดคล้องกันทุกมิติเหมือนระบบการประเมินด้วยมาตรฐาน LEED ที่ทุกส่วนสอดรับกันเหมือนใยแมงมุม

ระบบมาตรฐาน LEED น่าจะพอนำมาประยุกต์ใช้ในการวางระบบการทำงานทุกส่วนให้สอดคล้องกัน เพื่อทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรด้วย 3 คำถามง่ายๆ คือ 

  1. เราจะวัดหรือให้คะแนนการทำงานมิติไหนให้สอดรับตอบโจทย์ต่อเป้าหมายขององค์กร
  2. เราจะจัดลำดับความสำคัญคะแนนแต่ละข้ออย่างไร ที่จะส่งผลต่อเป้าหมายขององค์กรได้มากที่สุด
  3. เราจะสื่อสารหรือให้ Guidelines ต่อแผนกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างไร เพื่อให้เกณฑ์การวัด การให้คะแนนประสบความสำเร็จ 

สำหรับ HR ที่มีบทบาท Business Partnership ก็ยิ่งจำเป็นต้องออกแบบวางระบบให้สอดคล้องกับภาพใหญ่ขององค์กร เพื่อผลักดันการทำงานของพนักงานในขับเคลื่อนองค์กรไปในทิศทางที่บริษัทวางเป้าหมายไว้  ไม่ว่าจะเป็นการรับพนักงานใหม่ การออกแบบสวัสดิการ รวมถึงการจัดอบรม พัฒนาพนักงาน ซึ่งถ้า HR ท่านใดอยากได้ข้อแนะนำหรือปรึกษาวางแผนการทำงานในลักษณะ HR Partnership สามารถทักมาคุยกันได้ที่ Line @Lert

#มาตรฐานอาคารสีเขียว #มาตรฐานLEED #อบรมLEED #LEEDTRAINING #LEEDV4

เรื่องโดย อาจารย์เพชร ทิพย์สุวรรณ ตั้งอมรสุขสันต์

เรียบเรียงโดย สุภาวดี เจ๊ะหมวก

สนใจอบรมเรื่อง “LEED-มาตรฐานอาคารเขียว”

ติดต่อได้ที่

A@LERT Learning and Consultant

081-7113466 เพชร

098-763-3150  มิลค์

Line : @lert

www.nairienroo.com

contact@nairienroo.com

Related Posts