fbpx

ผังก้างปลา (Fish Bone Diagram) หรืออาจจะเรียกในอีกชื่อว่า ผังแสดงสาเหตุและผล (Casue and Effect Diagram) หรือหลายคนอาจจะเรียกชื่อตามผู้คิดค้นเครื่องมือนี้ คือ แผนผังอิชิกาว่า (Ishikawa Diagram) ซึ่งเครื่องมือนี้ได้รับการพัฒนาครั้งแรกเมื่อปี 1943 โดยศาสตราจารย์คาโอรุ อิชิกาว่า แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว

สำนักมาตรฐานอุตสาหกรรมแห่งญี่ปุ่น (JIS) ได้นิยามความหมายของผังก้างปลาไว้ดังนี้

“ผังก้างปลา เป็นแผนผังที่ใช้แสดงความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบระหว่างสาเหตุหลาย ๆ สาเหตุที่เป็นไปได้ที่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาหนึ่งปัญหา”

ผังก้างปลา เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งของ 7 QC Tools ที่ใช้ในการแก้ปัญหา โดยเราจะเครื่องมือผังก้างปลามาใช้เมื่อต้องการให้ทุกคนภายในทีมช่วยกันระดมสมอง โฟกัสไปที่อาการของปัญหา หรือที่หัวปลา เพื่อทำการค้นหาสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่ออาการของปัญหา

ขั้นตอนการวิเคราะห์โดยใช้แผนภูมิก้างปลา

  1. ระบุอาการของปัญหา (ที่ได้ทำการจำแนก บีบให้แคบแล้วเท่านั้นว่าเป็นประเด็นสำคัญ) เช่น ใช้เวลาตรวจซ่อมเครื่องจักร A นาน
  2. ให้ใช้คำถามว่า “อาการนี้เกิดจากปัจจัยอะไรได้บ้าง ?” เพื่อระบุปัจจัยที่เป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดปัญหานั้น ๆ เช่น พนักงาน, วิธีการ, สภาพแวดล้อม
  3. ให้ระดมสมองถามเจาะลึกลงไปในแต่ละปัจจัยว่า “ที่..ปัจจัยX..ส่งผลต่อ..อาการของปัญหาเนื่องจาก… ?” เพื่อค้นหาสาเหตุที่เป็นไปได้ เช่น “ที่…พนักงาน…ส่งผลต่อ…การใช้เวลาซ่อมเครนนานเนื่องจาก…พนักงานซ่อมไม่เพียงพอ”
  4. ให้ระดมสมองถามเจาะลึกลงไปในแต่ละสาเหตุว่า “ทำไมจึงเกิดสาเหตุX ?” เพื่อค้นหาสาเหตุย่อย เช่น ถามว่า – “ทำไมพนักงานซ่อมไม่เพียงพอ?” คำตอบที่ได้คือ “พนักงานติดงานจุดอื่น, พนักงานลางาน, พนักงานป่วย”
  5. เมื่อทำการระดมสมองเขียนผังก้างปลาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ทวนสอบความเป็นเหตุเป็นผล โดยอ่านจากก้างที่เล็กที่สุด ไปยังก้างที่ใหญ่ที่สุดจนกระทั่งถึงหัวปลา เช่น “พนักงานติดงานจุดอื่น ทำให้พนักงานซ่อมไม่เพียงพอ ทำให้ใช้เวลาตรวจซ่อมเครื่องจักร A นาน”

การกำหนดแนวทางแก้ไขให้พิจารณาดังนี้

  1. สาเหตุนั้นส่งผลกระทบต่อหัวปลา “มาก” หรือ “น้อย”
  2. สาเหตุนั้นสามารถดำเนินการแก้ไขได้ “ง่าย” หรือ “ยาก”

เราก็สามารถมาลำดับความสำคัญในการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา ได้ดังนี้

  • กลุ่ม A “รีบทำทันที” ได้แก่ สาเหตุนั้นส่งผลกระทบต่อหัวปลา “มาก” ดำเนินการแก้ไขได้ “ง่าย”
  • กลุ่ม B “ทำได้เลย” ได้แก่ สาเหตุนั้นส่งผลกระทบต่อหัวปลา “น้อย” ดำเนินการแก้ไขได้ “ง่าย”
  • กลุ่ม C “จัดตั้งทีม Project” ได้แก่ สาเหตุนั้นส่งผลกระทบต่อหัวปลา “มาก” ดำเนินการแก้ไขได้ “ยาก” ต้องจัดตั้งทีม Project ขึ้นมาเพื่อทำการศึกษา และหาทางแก้ปัญหา
  • กลุ่ม D “เอาไว้ก่อน” ได้แก่ สาเหตุนั้นส่งผลกระทบต่อหัวปลา “น้อย” ดำเนินการแก้ไขได้ “ยาก”

นี่ก็เป็นหนึ่งเครื่องมือใน 7 QC Tools ที่ใช้ในการแก้ปัญหา

สนใจเรียนรู้เครื่องมือ 7 QC Tools อื่น ๆ หรือเครื่องมือการแก้ไขปัญหาอื่น ๆ

ทักมาพูดคุยกับ “นายเรียนรู้” ได้ที่ Line : @Lert

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

“นายเรียนรู้”

Line : @Lert

contact@nairienroo.com

www.nairienroo.com

สนใจอบรมหลักสูตร “Root Cause Analysis” “QC Story and 7 QC Tools” ติดต่อ

A@LERT Learning and Consultant

098-7633150 มิลค์

081-7113466 เพชร

Line : @Lert

contact@nairienroo.com

www.nairienroo.com

Related Posts