fbpx

CSR ไม่ใช่เรื่องของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขององค์กร แต่เป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายในองค์กรที่ต้องร่วมมือกัน HR ก็นับเป็นฝ่ายหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ CSR ในองค์กร ตั้งแต่การจัดอบรมให้ความรู้พื้นฐานทางด้าน CSR และ Sustainable Development เพื่อให้เกิดการกระตุ้นสร้างจิตสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบของสังคมขององค์กร นอกจากนี้แล้ว HR ในฐานะที่รับผิดชอบดูแลพนักงาน ที่จัดเป็น Stakeholder รายหนึ่งที่สำคัญนั้น จะสามารถทำ CSR กับคนภายในองค์กรอย่างไรให้อยู่ดีมีสุข ตั้งแต่ก่อนเข้าทำงาน เข้ามาทำงาน จนสุดท้ายลาออกไป

Read More

HR นับว่าเป็นฝ่ายที่มีบทบาทสำคัญมากในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ต่าง ๆ ขององค์กร กลยุทธ์ด้าน CSR นับเป็นกลยุทธ์อีกด้านหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญมากต่อองค์กรในยุคปัจจุบัน HR ถือเป็นกลไกที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายองค์กรไปสู่พนักงานในมิติด้านต่าง ๆ Employee rights Employee reward Employee wellbeing Employee recruitment Employee development Employee communications Employee involvement ซึ่งจะทำให้เกิด

Read More

GRI ย่อมาจากคำว่า Global Reporting Initiative เป็นองค์กรอิสระระหว่างประเทศที่ช่วยเหลือให้องค์กรธุรกิจภาครัฐ หรือองค์กรอื่น ๆ ที่สนใจสามารถทำความเข้าใจและสื่อสารผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของภาคธุรกิจ รวมถึงสื่อสารผลกระทบของภาคธุรกิจต่อประเด็นความยั่งยืน และวิธีการจัดการ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิทธิมนุษยชน และคอร์รัปชัน โดย GRI เป็นองค์กรที่กำหนดแนวทางการเปิดเผยข้อมูลและจัดทำรายงานด้านความยั่งยืนประจำปีที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลกธุรกิจ “นายเรียนรู้” อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร วิทยากร และที่ปรึกษา A@LERT Learning

Read More

หากพูดถึงการทำ CSR ในภาคธุรกิจ ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นกันไปทำในเรื่อง CSR After Process เช่น ทำบุญ ให้ทุน ปลูกป่า ทอดกฐิน แจกผ้าห่ม ฯลฯ มีธุรกิจน้อยรายที่เริ่มหันมาให้ความใส่ใจเรื่อง CSR ในเชิงกลยุทธ์ ความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์ (Strategic CSR) หมายถึง การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรแบบ “เชิงรุก” โดยองค์กรจะยกระดับจากการเป็นเพียงบริษัทที่สามารถปฏิบัติได้ตามมาตรฐานข้อกำหนดต่าง ๆ

Read More

“เรากำลังจะส่งมอบอะไรให้ลูกหลาน ?” บ้าน ที่ดิน ทรัพย์สินเงินทองต่าง ๆ คือ สิ่งที่คนทั่ว ๆ ไปสะสมเป็นมรดกให้ลูกหลาน แต่มันเป็นแค่เพียงปัจจัยทุนทางเศรษฐกิจเท่านั้น ส่วนในมิติอื่น ๆ ได้แก่ มิติทางสังคม และมิติทางสิ่งแวดล้อม เป็นคำถามที่ชวนให้ครุ่นคิดว่า “เรากำลังจะส่งมอบอะไรให้ลูกหลาน ?” ในบทความ “ปี 2050 ฤาจะเป็น อวสานวันสิ้นโลก ?” ได้แสดงให้เห็นข้อมูลที่น่าสนใจว่า

Read More

ชีวลอกเลียน (Biomimicry) คือ การทำตามวิถีของธรรมชาติ ที่เราเรียนรู้พื้นฐานจากธรรมชาติ และนำมาต่อยอดในการเปลี่ยนวิถีที่เราดำเนินธุรกิจ ออกแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ หลักการสำคัญ คือ การมองธรรมชาติเป็นต้นแบบ ดังเช่นการออกแบบชุดว่ายน้ำ Speedo รุ่น LZR Racer ที่ Michael Phelps ใส่แข่งขันตอนว่ายน้ำในกีฬาโอลิมปิกจนได้ 8 เหรียญทอง ก็มาจากแรงบันดาลใจในการศึกษาในเรื่องผิวหนังของฉลาม รถ

Read More

นับวันประชากรโลกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ปริมาณการบริโภคก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งผลของการผลิต และบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้เอง ก็ทำให้มีการปลดปล่อย CO2 ในระดับที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันมีค่าเกินกว่า 400 ppm เข้าไปแล้ว ว่ากันว่าถึงระดับ 500 ppm เมื่อไหร่ภาวะโลกร้อนจะเข้าสู่ภาวะวิกฤติ ภาคส่วนธุรกิจ และอุตสาหกรรมนับเป็นภาคส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับภาคส่วนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือ NGO และมีความพร้อมมากที่สุดที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้โลกใบนี้ ถามว่ามีแนวทางไหนที่จะนำพาธุรกิจไปสู่การเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน

Read More

สถานการณ์โลกร้อนเริ่มเข้าสู่ภาวะวิกฤติ จากข้อมูลล่าสุดขององค์กร NASA  ที่ได้ตรวจวัดระดับก๊าซ CO2 ในชั้นบรรยากาศ พบว่ามีระดับเพิ่มขึ้นสูงอย่างพรวดพราดตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา หากลองย้อนกลับไปดูย้อนหลังตั้งแต่ปี 2007 พบว่าระดับ  CO2 สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 4 ppm ซึ่งในปัจจุบันมีค่าสูงเกิน 400 ppm เข้าไปแล้ว ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้ระบุว่าหากระดับ CO2 ถึงระดับ 500 ppm

Read More

พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior) คือ ปัจจัยสำคัญที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และเฝ้าจับตาการเปลี่ยนไปของพฤติกรรมผู้บริโภค ในปัจจุบันนี้ผู้บริโภคส่วนหนึ่งประมาณการณ์กันว่าประมาณ 20% ของจำนวนผู้บริโภคทั้งหมดในอเมริกา เริ่มมีพฤติกรรมที่เป็นลักษณะ “ผู้บริโภคที่มีจิตสำนึก (Conscious Consumer)” ที่ใส่ใจในเรื่องสุขภาพ สิ่งแวดล้อม การพัฒนาตนเอง การใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน และความยุติธรรมทางสังคม โดยมีการให้คำนิยามว่าเป็น “วิถีชีวิตที่รักสุขภาพและความยั่งยืน (Lifestyles of Health and Sustainability

Read More

แม้ว่านักวิชาการ, NGOs หรือภาคส่วนไหน ๆ จะเรียกร้องหา “ธุรกิจที่ยั่งยืน” ที่อยากเห็นการดำเนินธุรกิจที่ใส่ใจต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่มุ่งแสวงหากำไรเพียงอย่างเดียว… การเรียกร้องนั้นก็คงเป็นเพียงภาพฝันอันเลือนลางที่ยากจะเกิดขึ้นจริง… แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้จริง ก็ต่อเมื่อ เจ้าของกิจการ / ผู้นำองค์กร กล้าที่จะลุกขึ้นมาสร้างความเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินธุรกิจด้วยตนเอง เมื่อนั้นองค์กรของท่านก็จะเปลี่ยนสถานะจาก “จำเลยของสังคม” มาเป็น “ผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสังคม” “นายเรียนรู้” อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร วิทยากร และที่ปรึกษา

Read More