fbpx

(บทความนี้ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “Life is Learning” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์ที่ ​10/11/2556)

ประเด็นร้อนแรงในสังคมขณะนี้คงหนีไม่พ้นเรื่อง พรบ.นิรโทษกรรม ซึ่งแน่นอนว่าหลายฝ่ายต่างเรียกร้องหาความยุติธรรม สิ่งที่อยากชวนคิดในวันนี้ คือ ความยุติธรรม คือ อะไร? ลองอ่านสถานการณ์ข้างล่างนี้ดูครับ

Sandwich_1

ในโบกี้รถไฟขบวนหนึ่ง มีชาย 3 คนนั่งอยู่ด้วยกัน หนึ่งในสามคนนั้นเป็นนักธุรกิจที่มั่งคั่ง ส่วนอีกสองคนที่เหลือฐานะไม่ได้ร่ำรวยอะไร แต่มี Sandwich ติดตัวมาด้วย เมื่อถึงเวลารับประทานอาหารกลางวัน ทั้งสองคนได้นำ Sandwich ขึ้นมา โดยชายคนแรกมี Sandwich 5 ชิ้น และชายคนที่สองมี Sandwich 3 ชิ้น รวมกันเป็น 8 ชิ้น จากนั้นก็นำ Sandwich แต่ละชิ้นมาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนละเท่า ๆ กัน และแบ่งกันกินคนละเท่า ๆ กัน เมื่อถึงเวลาที่ต้องจากกัน นักธุรกิจได้มอบเหรียญทอง 8 เหรียญ ให้กับชายทั้งสองเป็นการตอบแทน โดยให้ชายทั้งสองไปแบ่งกันเองตามสัดส่วนของอาหารที่แบ่งให้เขากิน

เมื่อนักธุรกิจลงจากรถไฟไปคนแรก ทั้งสองคนก็เริ่มถกเถียงกันในเรื่องจำนวนเหรียญทองที่แต่ละคนควรจะได้รับ

ชายคนที่สอง : ผมว่าผมควรจะได้รับเหรียญทองจำนวน 3 เหรียญนะ

ชายคนแรก : ทำไมคุณถึงควรได้ 3 เหรียญ ?

ชายคนที่สอง : ก็ผมเอา Sandwich มา 3 ชิ้น ผมก็ควรได้รับเหรียญทองจำนวน 3 เหรียญซิ ส่วนคุณเอา Sandwich มา 5 ชิ้น ก็น่าจะได้เหรียญทองจำนวน 5 เหรียญ อย่างนี้ซิถึงเรียกว่ายุติธรรม

ชายคนแรก : แต่ผมไม่เห็นด้วยกับคุณนะ Sandwich ที่คุณเอามา ส่วนใหญ่คุณก็กินเอง ส่วนที่คุณแบ่งให้นักธุรกิจคนนั้นนิดเดียวเอง เมื่อเทียบกับส่วนที่ผมแบ่งให้นักธุรกิจคนนั้น

ชายคนที่สอง : ผมไม่เข้าใจสิ่งที่คุณพูด ว่าหมายถึงอะไร? ก็เราก็แบ่งกันกินเท่า ๆ กัน

ชายคนแรก : ใช่เราแบ่งกินเท่า ๆ กัน แต่ลองคิดดูนะ ผมเอา Sandwich มา 5 ชิ้น คุณเอา Sandwich มา 3 ชิ้น แต่ละชิ้น เราแบ่งออกเป็น 3 ชิ้นย่อย ๆ เท่า ๆ กัน ส่วนที่ผมเอามาก็แบ่งได้ 15 ชิ้น ส่วนที่คุณเอามาก็แบ่งได้ 9 ชิ้น

ชายคนที่สอง : ก็รวมกันได้ 24 ชิ้น แล้วเราก็แบ่งกันกินเท่า ๆ กัน คนละ 8 ชิ้น ก็โอเคไม่ใช่หรือ?

ชายคนแรก : ใช่ เราแบ่งเท่า ๆ กัน แต่คุณลองคิดดูนะ ในส่วนที่คุณเอามาแบ่งได้ 9 ชิ้น คุณกินเองไปตั้ง 8 ชิ้น แบ่งให้นักธุรกิจคนนั้นแค่ชิ้นเดียวเอง ส่วนที่ผมเอาแบ่งได้ 15 ชิ้น ผมกินเองไป 8 ชิ้น แบ่งให้นักธุรกิจคนนั้นกินตั้ง 7 ชิ้น เพราะฉะนั้น ผมควรจะได้เหรียญทองจำนวน 7 เหรียญ ส่วนคุณควรได้เพียง 1 เหรียญ

ชายคนที่สอง : ???

จากสถานการณ์ข้างต้นผู้อ่านมีความคิดเห็นอย่างไรครับ เห็นด้วยกับชายคนแรก หรือเห็นด้วยกับชายคนที่สอง ลองนำไปคุยกันในครอบครัวซิครับ แล้วลองแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันดู เห็นด้วยกับชายคนไหนเพราะอะไร เราใช้อะไรเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินใจ แล้วคุณจะเข้าใจว่าความยุติธรรม คือ อะไร?

ดูรายละเอียดหลักสูตร “Analytical and Systematic Thinking”

สนใจฝึกอบรมติดต่อ A@LERT Learning and Consultant
คุณชลมารค (มิลค์) 098-763-3150
คุณทิพย์สุวรรณ (เพชร) 081-711-3466

contact@nairienroo.com

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

A@LERT Learning and Consultant

มือถือ 086-7771833

E-mail : boonlert.alert@gmail.com

Facebook : นายเรียนรู้

Line ID : @lert

www.nairienroo.com

Related Posts