fbpx

ในการทำ CSR สิ่งสำคัญเริ่มเลย คือ การยอมรับต่อความรับผิดชอบต่อสังคม (Recognizing social responsibility) ซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ควรมีความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมและการตัดสินใจขององค์กร ด้วยความโปร่งใส มีจริยธรรม และให้สำคัญกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งผู้มีส่วนได้เสีย และสังคม ไม่ว่าจะเป็น ระดับความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับผู้มีส่วนได้เสีย ระดับความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสังคม ระดับความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกับสังคม เนื่องด้วยการตัดสินใจ และการดำเนินงานขององค์กร ย่อมส่งผลกระทบ (Impacts) ซึ่งประกอบไปด้วยผลประโยชน์ (Interests) และนำไปสู่ความคาดหวัง

Read More

เมื่อวานนี้ (01/12/2558) ได้มีโอกาสอ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ในหน้า 7 คอลัมน์ “หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน” ที่ได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับ “ศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียงเครือเบทาโกร” นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรชั้นนำของประเทศ ได้นำแนวคิด “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ของในหลวง มาปฏิบัติให้เกิดผล ได้ประโยชน์ทั้งในเรื่องการลดค่าใช้จ่ายของรีสอร์ทเอง และเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อเผยแพร่แนวคิดเกษตรพอเพียง ให้กับเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจเข้ามาศึกษาหาความรู้ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าเมื่อองค์กรชั้นนำของประเทศจัดทำ “ศูนย์เรียนรู้” ขึ้นมาก็คงต้องทำให้เสมือนโชว์รูม มีการทุ่มเทงบประมาณ

Read More

“Butterfly Effect” “ทฤษฎีผีเสื้อกระพือปีก (Butterfly effect)” อันลือลั่นนั้น ไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องกับการศึกษาวงจรชีวิตของเจ้าผีเสื้อตัวน้อยแต่อย่างใด แต่เกิดจากการทดลองทางด้านการพยากรณ์อากาศ ในปี ค.ศ. 1961 ของเอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์ (Edward Lorenz) ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์สร้างแบบจำลองสภาพอากาศ ซึ่งในการคำนวณครั้งถัดมาเขาไม่ต้องการเริ่มแบบจำลองจากจุดเริ่มต้นใหม่เพื่อประหยัดเวลาในการคำนวณ เขาจึงใช้ข้อมูลในการคำนวณก่อนหน้านี้เพื่อเป็นค่าเริ่มต้น เขาพบว่าสาเหตุเกิดจากการปัดเศษ จากการคำนวณค่าที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีค่าน้อยมากแม้แค่เพียง .0000001 ที่คลาดเคลื่อนไปนั้นก็สามารถนำไปสู่ความแตกต่างอย่างมากมาย เรียกว่าไวต่อสภาวะเริ่มต้น ซึ่งก่อให้เกิดกราฟรูปผีเสื้อ

Read More

สัมภาษณ์งานอย่างนี้ก็มีด้วย วันนี้ (03/11/58) ผมได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์งานที่บริษัทยักษ์ใหญ่ค่ายมือถือแห่งหนึ่งย่านพระราม 9 ก็ไปถึงก่อนเวลานัดหมายประมาณ 20 นาที ทาง HR ก็ให้ทำแบบทดสอบบุคลิกภาพ ก็จะเป็นคำถามถามวนไปวนมาทั้งหมด 24 ข้อ โดยให้เวลาทำภายใน 5 นาที หลังจากทำแบบทดสอบแล้ว ก็มานั่งรอคิวสัมภาษณ์ รออยู่สักพักเพราะมีคนสัมภาษณ์ก่อนหน้าเรา กว่าจะเริ่มสัมภาษณ์ก็เวลา 14:30 น. ผมใช้เวลาในการสัมภาษณ์อยู่ประมาณครึ่งชั่วโมง ก็เล่าประสบการณ์ในการทำงานทั้งที่

Read More

เมื่อชีวิตไม่ได้มีแค่ “เกียร์เดินหน้า” หรือ “เกียร์ถอยหลัง” วันนี้ (02/11/58) ผมได้มีโอกาสอันดี ที่ได้เป็น “Coachee” ของอาจารย์ไชยยศ ปั้นสกุลไชย วิทยากรชื่อดังของประเทศไทย โดยเราไปนั่งโค้ชกันในบรรยากาศอันแสนสงบ ณ ร้านกาแฟแห่งหนึ่งด้านหน้าสยามสมาคม ช่วงเกริ่นนำทำความรู้จักระหว่าง “Coach” กับ “Coachee” นั้นเป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เพราะผมกับอาจารย์คุ้นเคยเป็นอย่างดี เพียงแต่อาจารย์บอกว่าให้ทำตัวสบาย ๆ

Read More

“ห้องแต่งผมไมเต้” โลกของหนังสือ คือ โลกแห่งจินตนาการ โลกที่จำลองสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงในสังคม วรรณกรรมเยาวชนเป็นหนังสือประเภทหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นของคนหลาย ๆ คน ให้หลงใหลในการอ่านหนังสือ “ห้องแต่งผมไมเต้” ผลงานของ มารี-โอ๊ด มูรัย ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย โดย เย็นตา จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา เป็นวรรณกรรมเยาวชนเรื่องหนึ่ง ที่ผู้เขียนได้หยิบมาอ่านแล้ววางไม่ลง ต้องอ่านรวดเดียวจนจบ เรื่องราวที่ชวนติดตามของเด็กหนุ่มชั้น ม.3 “หลุยส์ เฟรีแยรส์”

Read More

ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้รับเชิญจาก สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ให้ไปแบ่งปันประสบการณ์การเป็นกระบวนกร (Facilitator) ให้กับชุมชนกระบวนกร ในงาน CoP#16 ที่มีอาจารย์เอกรัตน์ รวยรวย เป็นผู้ประสานงานในการกิจกรรมเรียนรู้ครั้งนี้ให้เกิดขึ้น ผู้เขียนได้เล่าประสบการณ์การเป็นกระบวนกร (Facilitator) ตั้งแต่สมัยที่มีโอกาสมาทำงานที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย เพื่อเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบ Constructionism เพื่อนำไปปรับใช้ในโครงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของพนักงาน ธุรกิจกระดาษและบรรจุภัณฑ์ เครือซิเมนต์ไทย หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า โครงการ C-Pulp

Read More

ในวันนี้จะขอแนะนำหนังสือน่าอ่านสำหรับคนที่สนใจเรื่องการศึกษา หนังสือนี้ชื่อว่า “How Learning Works: 7 Research-Based Principles for Smart Teaching” ซึ่งมีการแปลเป็นภาษาไทยในชื่อ “การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21: 7 หลักการสร้างนักเรียนรู้แห่งอนาคตใหม่” ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้ คือ การตั้งคำถามกับปัญหาในเรื่องที่ส่งผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการทำวิจัยนับพันชิ้น เพื่อให้เข้าใจปัญหา เข้าใจที่มาที่ไป และได้สรุปออกมาเป็นหลักการ 7 ข้อ

Read More

Five Force Analysis Michael E. Porter กูรูทางด้านกลยุทธ์การแข่งขัน ผู้เขียนหนังสือชื่อดัง “Competitive Advantage” ได้นำเสนอ Model ในการวิเคราะห์สภาพการแข่งขัน ว่าประกอบไปด้วย 5 ปัจจัยที่เป็นแรงกดดันต่อการแข่งขัน คือ 1. แรงกดดันจากการแข่งขันกับคู่แข่งขันในปัจจุบัน 2. แรงกดดันจากอำนาจต่อรองของลูกค้า (Customer) 3. แรงกดดันจากอำนาจต่อรองของผู้จำหน่าย (Supplier)

Read More

Time Management Matrix (The Eisenhower Matrix) ทรัพยากรอย่างหนึ่งที่ทุกคนมีเท่าเทียมกัน คือ เวลา ในแต่ละวันทุกคนจะมีเวลาเท่ากัน คือ 86,400 วินาที เราจะบริหารเวลาที่มีอยู่ทุกวินาที ให้มีประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร Dwight D. Eisenhower อดีตประธานาธิบดีผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้คิดค้นวิธีการที่จะจัดการสะสางงานที่มีเข้ามาอย่างเป็นระบบ ด้วยการแบ่งประเภทของงานตาม ความเร่งด่วนของงาน(เร่งด่วน-ไม่เร่งด่วน) และความสำคัญของงาน (สำคัญ-ไม่สำคัญ) ก็จะสามารถจัดกลุ่มประเภทของงาน

Read More