fbpx

จากประสบการณ์ในการฝึกอบรม และพัฒนาคนของผู้เขียน ตั้งแต่ปี 2545 มีอยู่หลายบทบาท ได้แก่ Facilitator โครงการ C-Pulp ด้วยแนวคิดการเรียนรู้แบบ Constructionism ให้กับเครือซิเมนต์ไทย (2545-2549) Coach ด้าน Productivity Improvement ให้กับเครือเบทาโกร (2549-2557) และบทบาทของ Trainer ที่เชี่ยวชาญในเรื่องกระบวนการคิดแก้ปัญหา และคิดตัดสินใจ ให้กับ A@LERT

Read More

“หมอกจาง ๆ และควัน คล้ายกันจนบางทีไม่อาจรู้…” บทเพลงยอดฮิตของนักร้องชื่อดัง พี่เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ สะท้อนให้เห็นภาพที่เกิดขึ้นได้อย่างดีในกรณีหมอกควันจากการเผาป่าในภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ มีการออกมาให้ข่าวว่าสาเหตุของการเผาป่านั้น เกิดจากความต้องการในการเผาเอา “เห็ดถอบและผักหวาน” ซึ่งเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีมูลค่าสูง ซึ่งคงเป็นสาเหตุเล็ก ๆ เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ต้องยอมรับกันว่าสาเหตุใหญ่ประการสำตัญ ก็คือ การเผาป่าเพื่อปลูกพืชไร่ “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” ซึ่งมีการเร่งขยายพื้นที่การปลูกกันอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตามความเติบโดของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในประเทศไทย ชาวบ้านต้องเร่งเก็บเกี่ยว และเตรียมแปลงให้พร้อมในการปลูกรอบถัดไปให้เร็วที่สุด

Read More

“…เพราะเธอนั่นไง คือ เหตุผลที่ทำให้ฉันเชียน เป็นเพราะเธอส่ง ส่งใจมามาให้กัน แทนกระดาษดินสอ ด้วยรักที่คงมั่น ให้ฉันเขียนเป็นถ้อยคำถึงเธอ…” คือ เนื้อเพลงท่อนหนึ่งของเพลง “เขียนให้เธอ” ผลงานของ พี่จิก-ประภาส ชลศรานนท์ เป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ผู้เขียนนึกถึง เวลาที่มีคนรู้จักมาถามว่า “เขียนหนังสือไปเพื่ออะไร…?” ผู้เขียนก็มักจะเล่าถึงความปลื้มใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ตัวเองก็มีแฟนคลับที่คอยติดตามงานอย่างสม่ำเสมอ บางคนก็เขียน E-mail มาพูดคุยด้วย

Read More

“Live & Learn” เพราะชีวิตคือการเรียนรู้ คือ ชื่องานทอล์คการกุศล Give&Take ครั้งที่ 10  งาน Give&Take คือ งานที่อาจารย์ไชยยศ ปั้นสกุลไชย วิทยากรระดับแนวหน้าของเมืองไทย เป็นคนริเริ่มจัดขึ้น ตั้งแต่ครั้งแรกในปี 2553 จนมาถึงปัจจุบันที่กำลังจะจัดขึ้นก็นับเป็นครั้งที่ 10 เข้าไปแล้ว ซึ่งในครั้งนี้มีอาจารย์เอ-ทวีวรรณ กมลบุตร แห่ง บริษัท

Read More

สัปดาห์ที่ผ่านมาผู้เขียนได้มีโอกาสเจอกับคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่สองคน คือ “ครูบริ๊งค์” – อติเวทย์ ตั้งอมรสุขสันต์ และ “น้องนิดหน่อย” – สิริรัตน์ รองเดช ที่มีความมุ่งมั่นอยากเปลี่ยนแปลงในเรื่องความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาของประเทศไทย โดยคิดโครงการชื่อว่า “เติมเต็ม” น้องสองคนเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า จากการสำรวจรายได้ของคนไทย พบว่าคนที่มีฐานะดีในประเทศนั้นมีน้อยกว่าคนฐานะไม่ค่อยดี ส่วนหนึ่งที่เกิดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้นั้น เกิดจากโอกาสทางการศึกษาที่แตกต่างกัน คนที่มีฐานะที่ดีกว่า สามารถมีเงินไปลงเรียนกวดวิชา ทำให้ได้ความรู้ที่ดีกว่า สามารถทำคะแนนสอบได้ดี ทำให้มีโอกาสศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย และคณะที่มีชื่อเสียงที่ใฝ่ฝัน

Read More