fbpx

“Butterfly Effect”

ButterflyEffect_T-Shirt

ทฤษฎีผีเสื้อกระพือปีก (Butterfly effect)” อันลือลั่นนั้น ไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องกับการศึกษาวงจรชีวิตของเจ้าผีเสื้อตัวน้อยแต่อย่างใด แต่เกิดจากการทดลองทางด้านการพยากรณ์อากาศ ในปี ค.ศ. 1961 ของเอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์ (Edward Lorenz) ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์สร้างแบบจำลองสภาพอากาศ ซึ่งในการคำนวณครั้งถัดมาเขาไม่ต้องการเริ่มแบบจำลองจากจุดเริ่มต้นใหม่เพื่อประหยัดเวลาในการคำนวณ เขาจึงใช้ข้อมูลในการคำนวณก่อนหน้านี้เพื่อเป็นค่าเริ่มต้น เขาพบว่าสาเหตุเกิดจากการปัดเศษ จากการคำนวณค่าที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีค่าน้อยมากแม้แค่เพียง .0000001 ที่คลาดเคลื่อนไปนั้นก็สามารถนำไปสู่ความแตกต่างอย่างมากมาย เรียกว่าไวต่อสภาวะเริ่มต้น ซึ่งก่อให้เกิดกราฟรูปผีเสื้อ

2048px-Lorenz_attractor_yb.svg

ในปี พ.ศ.2515 เขาได้นำผลการทดลองที่เกิดขึ้นไปบรรยายในสมาคม Advancement of Science ของอเมริกา ที่ Washington, D.C โดย โดยใช้หัวข้อว่า การกระพือปีกของผีเสื้อในประเทศบราซิลก่อให้เกิดพายุทอนาโดในรัฐเท็กซัสได้หรือไม่ นับตั้งแต่นั้นมาคำว่า Butterfly Effect ก็เริ่มมีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในวงกว้างขวาง ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการหมุนเวียนของกระแสอากาศกับกระแสน้ำในมหาสมุทร เมื่อเกิดเอลนีโญ ปริมาณฝนของไทยมักมีค่าต่ำกว่าปกติ เนื่องจากพายุเปลี่ยนทิศทาง จากเดิมที่ก่อตัวจากมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออกของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ และเคลื่อนเข้าไทย 3-4 ลูกต่อปี กลายเป็นขึ้นเหนือเข้าสู่ทะเลจีนใต้ ทำให้ไทยและประเทศแถบอินโดจีนแห้งแล้ง ส่งผลต่อปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อน ทำให้เกษตรกรไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้

ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น กรณีของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ผู้นำการเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพและความเท่าเทียมของคนผิวสีในอเมริกา เขาเป็นตัวแทนการเรียกร้องสิทธิพลเมืองที่รู้จักไปทั้งประเทศ และทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยเพื่อส่งเสริมในสิ่งที่เขาเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า โดยนับตั้งแต่ปี 1957 เขาได้ออกเดินทางไปทั่วอเมริกา เพื่อกล่าวสุนทรพจน์เผยแพร่แนวความคิดของเขาในเรื่องดังกล่าว จนก่อให้เกิดกระแสการชุมนุมครั้งใหญ่ของประชาชนกว่า 200,000 คน ที่อนุสาวรีย์ลิงคอล์นในวอชิงตัน ดี.ซี. ในวันที่ 28 สิงหาคม 1963 ซึ่งในวันนั้นเองที่เขาได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ที่เป็นอมตะ “ข้าพเจ้ามีความฝัน (I have a dream)” ซึ่งจากสุนทรพจน์ที่สร้างแรงบันดาลใจนี่เองก่อให้เกิดกระแสการเรียกร้องในการกรุยทางในการร่างกฎหมายสิทธิพลเมืองขึ้นในปี 1964

สามารถเข้าชมสุนทรพจน์ “ข้าพเจ้ามีความฝัน” ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=9bcL78bypYQ

จากความเชื่อในเรื่อง ทฤษฎีผีเสื้อกระพือปีก (Butterfly Effect) ทำให้อาจารย์ไสว บุญมา อดีตเศรษฐกรอาวุโสของธนาคารโลก ที่มีความเชื่อว่าประเทศไทยจะพัฒนาได้ ต้องเริ่มต้นพัฒนาให้เยาวชนของชาติรักการอ่าน ดังที่อาจารย์ได้พิสูจน์ด้วยตนเองแล้วว่า การอ่านช่วยส่งเสริมปัญญา ให้เปรียบประดั่งอาวุธที่ผลักดันให้ลูกชาวนาอย่างอาจารย์ ก้าวไกลจนได้ไปศึกษาต่อต่างประเทศ และได้ทำงานกับองค์กรระดับนานาชาติ อาจารย์มุ่งมั่นที่จะทำโครงการส่งเสริมการรักการอ่านให้กับเด็ก และเยาวชน จากจุดเล็ก ๆ ที่อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ใช้ชื่อว่าโครงการประกวดนักอ่านบ้านนา เริ่มต้นจากโรงเรียนเพียงไม่กี่โรงเรียน จนขยายผลออกไปในวงกว้างขึ้น นับจนถึงปี 2558 นี้แล้ว ก็เป็นครั้งที่ 10 แล้ว

อาจารย์ไสว บุญมา ได้นำแนวคิดเรื่อง ผีเสื้อกระพือปีก มาถ่ายทอดให้กับทีมงานร้าน House of Commons – Café&Space เพื่อให้พวกเราได้ใช้พื้นที่ร้านกาแฟแห่งนี้ในการทำกิจกรรมดี ๆ แม้เพียงเล็กน้อยเพื่อร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม ซึ่งในปีที่ผ่านมาที่ร้านก็ได้มีการจัดโครงการ “เติมเต็ม” ในการติวภาษาอังกฤษ และแนะนำการเลือกคณะให้กับน้อง ๆ นักเรียนชั้นมัธยมปลาย รวมไปทั้งกิจกรรมที่จัดร่วมกับกลุ่ม “การศึกษาเพื่อความเป็นไท” ในการจัดเสวนาดี ๆ ในประเด็นด้านการศึกษาให้กับนักเรียน และบุคคลทั่วไป

และเพื่อให้แนวคิด “ผีเสื้อกระพือปีก” ได้เผยแพร่ออกไปกว้างขวางมากขึ้น ทางร้าน House of Commons – Café&Space จึงได้จัดทำเสื้อ Collection นี้ขึ้น ภายใต้สโลแกน “Change One Thing, Change Everything” ในราคาตัวละ 200 บาท (มีให้เลือกสองสี คือ สีขาว และสีดำ) โดยสามารถสั่งซื้อได้ที่  082 983 8099 หรือสั่งผ่านช่องทางออนไลน์ที่ https://goo.gl/CDlE9C

“จะขอเป็น เช่นผีเสื้อผู้เชื่อมั่น                 ว่าสักวันภาวะจะเหมาะสม

ปีกบางบางจะสร้างกระแสลม              เป็นพายุแห่งสังคมอุดมการณ์”

                                                                ผู้แต่ง – ดร.ไสว บุญมา

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

A@LERT Learning and Consultant

มือถือ 086-7771833

E-mail : boonlert.alert@gmail.com

Facebook : นายเรียนรู้

Line ID : @lert

www.nairienroo.com

Related Posts