fbpx

หลายโรงงานที่รับซื้อวัตถุดิบเป็นของสด เพื่อนำเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า น่าจะเจอปัญหาอย่างหนึ่งที่คล้ายคลึงกัน คือ บางครั้งราคาวัตถุดิบก็ช่างเย้ายวนใจให้ซื้อเสียเหลือเกิน แต่ปริมาณก็อาจจะมีไม่มาก จะเดินเครื่องผลิตที่ไม่รู้จะคุ้มค่าแรง ค่าไฟหรือเปล่า ? ปัญหาในลักษณะนี้ คงต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลต้นทุนการผลิต (บาทต่อหน่วย) ที่ผันแปรไปตามปริมาณการผลิต (หน่วย) ว่าเป็นเช่นไร ? เพื่อนำข้อมูลในส่วนตรงนี้ไปให้ฝ่ายที่จัดหาวัตถุดิบเข้าโรงงาน ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจว่าจะรับซื้อหรือไม่ ? จะเห็นได้ว่า การบริหารต้นทุนที่ดี ต้องอาศัยข้อมูลตัวเลขที่แท้จริงของแต่ละส่วน เข้ามาประกอบการพิจารณากันให้ดี สร้างเป็น Model

Read More

ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างนี้ พนักงานหลาย ๆ คนคงได้รับมอบหมายนโยบายจากผู้บริหาร หัวหน้างาน ให้ช่วยกันหาแนวทางในการปรับปรุงงาน เพื่อลดต้นทุนที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต หลายคนอาจจะเริ่มต้นไม่ถูก ไม่รู้จะมองหาไอเดียในการลดต้นทุนอย่างไร ? เทคนิคหนึ่งที่อยากจะแนะนำ ก็คือ ให้ลองเริ่มต้นค้นหาจากการทำงานรอบ ๆ ตัว ว่ามีความสูญเสียอะไรบ้างหรือเปล่า ? ความสูญเสียโดยทั่วไปที่เกิดขึ้นสามารถจำแนกออกได้ 8 ประเภทด้วยกัน Defects – งานผิด คือ การทำงานผิดพลาด

Read More

ก่อนเริ่มทำกิจกรรมปรับปรุงงานใด ๆ สิ่งที่เราจะต้องทำความเข้าใจก่อน ก็คือในเรื่องบัญชีต้นทุน เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนของกิจการเราว่าเป็นอย่างไร ? การทำกิจกรรมปรับปรุงงานแบบที่ทุกคนมีส่วนร่วม จะต้องเริ่มจากจุดนี้ โดยผู้บริหารระดับสูงขององค์กรจะต้องกำหนดเป้าหมายในภาพรวมว่าต้องการกำไรเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ? เมื่อกระจายเป้าหมายไปแล้ว ฝ่ายขายต้องไปทำยอดขายเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ? ไปลดต้นทุนการบริหารงานขายเท่าไหร่ ? ฝ่ายผลิตต้องไปลดต้นทุนเท่าไหร่ ? ถ้าเราลองไปวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต (Manufacturing Cost) ก็จะประกอบไปด้วยต้นทุนวัตถุดิบ (Raw Material Cost) ต้นทุนโสหุ้ยการผลิต

Read More

หลาย ๆ โรงงานที่ผลิตสินค้าบรรจุถุงขายเป็นแพ็กกรัม แพ็กกิโล ปัญหาอย่างหนึ่งที่ต้องเผชิญก็คือ จะควบคุมกระบวนการบรรจุถุงอย่างไร เพื่อไม่ให้ชั่งน้ำหนักสินค้าขาดไป ต่ำกว่าค่าน้ำหนักที่ระบุไว้ข้างถุง แต่จะชั่งเผื่อเกินไปมาก ก็จะทำให้กำไรหดหาย ดังนั้นในกระบวนการบรรจุถุง (Packing) จะต้องมีการเฝ้าติดตาม (monitor) ขีดความสามารถในการควบคุมกระบวนการ (Process Capability) ว่าสามารถควบคุมค่าน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักสินค้าที่กำหนดได้หรือไม่ จากรูปข้างบน Spec. ในการควบคุมน้ำหนักสินค้าค่าจะอยู่ระหว่างช่วง 200 g – 205

Read More

“การจัดสมดุลการผลิต” หรือที่เรียกกันคุ้นหูว่า “Line Balancing” นั้น ช่วยให้กระบวนการไหลลื่น ลดเวลาในการรอคอยของงานที่กองอยู่ในกระบวนการได้อย่างไร เราลองมาดูตัวอย่างนี้กัน กระบวนการทำงานของงานหนึ่ง ประกอบด้วยงานย่อย ๆ 5 สถานีงาน คือ  A, B, C, D และ E โดยใช้เวลาในแต่ละสถานีงานแตกต่างกันไป โดยจุดคอขวด (จุดที่ใช้เวลานานที่สุด) ของกระบวนการทำงานนี้ คือ

Read More
lean management im

ด้วยสภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลให้การอยู่รอดของแต่ละองค์กรนั้นจำเป็นต้องเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้ทัดเทียมหรือเหนือกว่าคู่แข่งขันอยู่ตลอดเวลา แต่ในขณะเดียวกัน หากองค์กรนั้นกลับมีจุดอ่อนมากมาย เราจะทำอย่างไรให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างมั่นคง หลักสูตร ฝึก อบรม Lean Management นอกจากการที่องค์กรต้องตอบให้ได้ว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการคืออะไร ? เราต้องหันกลับมาพิจารณาว่ากระบวนการในการส่งมอบคุณค่า (Value) ที่ตรงความต้องการของเรานั้นเป็นอย่างไร และรวดเร็วเพียงใด ? โดยอาศัยกลยุทธ์ “Lean” ขจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการ ซึ่งมี 8 ข้อหลักๆดังนี้ หลักสูตร ฝึก อบรม

Read More

“ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่วิถีแห่งโตโยต้า และทำให้โตโยต้าประสพความสำเร็จอย่างโดดเด่นนั้นมิได้เป็นองค์ประกอบเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น หากแต่เป็นการทำให้องค์ประกอบเหล่านั้นทั้งหมดทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ลักษณะการทำงานเช่นนี้จะต้องผ่านการฝึกปฏิบัติทุกวัน ๆ จนเป็นแนวปฏิบัติที่กระทำอยู่เป็นนิสัยอย่างสม่ำเสมอ มิใช่การปฏิบัติเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเมื่ออยากจะทำเท่านั้น” – Taiichi Ohno หลักการ 14 ข้อตามวิถีแห่งโตโยต้า ตามงานวิจัยของ Dr.Jeffrey K. Liker ในหนังสือ “วิถีแห่งโตโยต้า” สามารถแบ่งออกได้ 4 หมวด Long-Term Philosophy The

Read More

หัวใจสำคัญของผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตสินค้า คือ ต้นทุนสินค้า การบริหารต้นทุนสินค้า โดยการทำโครงการประเภทลดต้นทุน (Cost Down) เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่จะทำให้ได้ผลกำไรที่เพิ่มขึ้น (Profit Up) ยกตัวอย่าง เช่น สินค้าตัวหนึ่งราคา 100 บาทต่อหน่วย ต้นทุนสินค้าอยู่ที่ 60 บาทต่อหน่วย กำไรเท่ากับ 40 บาทต่อหน่วย หากในแต่ละเดือนโรงงานแห่งนี้มียอดขายสินค้าที่ 10,000 หน่วย จะได้รายรับทั้งสิ้น

Read More

Kaizen ปรัชญาการทำงานที่เป็นรากฐานที่สำคัญของการทำงานวิถีโตยาต้า (Toyota Way) โดยมุ่งเน้นให้ทุกคนคิด และลงมือทำตามกระบวนการ P-(Think)-D-(Think)-C-(Think)-A-(Think) โดยแทรกกระบวนการคิดไว้ในทุก ๆ ขั้นตอนเสมอ ทัศนคติที่ต้องการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า คือ เรื่องสำคัญ ดังนั้น “การเกิดความพลาดนั้น ย่อมดีเสียกว่าไม่ทำอะไรเลย” มีคนจำนวนมากที่เข้าใจผิดว่า Kaizen นั้นหมายถึงเฉพาะ “การทำให้ดีขึ้น” เท่านั้น แต่ต้องย้ำกันว่า สิ่งที่มีความสำคัญที่สุดของ Kaizen นั้น

Read More

ในอดีตเมื่อกล่าวถึงความสามารถในการแข่งขัน เรามักจะโฟกัสไปเฉพาะในเรื่อง “Economy of Scale” แต่เมื่อกล่าวถึงในโลกแห่งการแข่งขันปัจจุบันนั้น ความรวดเร็วในการแข่งขัน “Economy of Speed” เป็นประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ธุรกิจมีความสามารถเหนือกว่าคู่แข่งขัน อย่างเช่น McDonald ในหลาย ๆ ประเทศก็จะมีการันตีในการเสิร์ฟเบอร์เกอร์ให้กับลูกค้าภายในเวลา 60 วินาที หรืออย่างความสำเร็จของแบรนด์เสื้อผ้าชั้นดังระดับโลกอย่าง ZARA ที่ใช้กลยุทธ์การออกแบบ และผลิตสินค้าแฟชั่นคอลเลคชั่นใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดในเวลาที่รวดเร็ว ในราคาที่ผู้บริโภคจับต้องได้

Read More