fbpx

IS AND IS NOT กับเหตุการณ์ขโมยภาพ

nrm-front-cover

ความตั้งใจเดิมในวันนี้นั้น อยากที่เขียนวิเคราะห์เชื่อมโยงการวิเคราะห์เรื่องราวที่เกิดขึ้นในกรณีที่เป็นข่าวที่โด่งดังเรื่องหนึ่ง คือ ข่าวของรองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาขโมยภาพจากโรงแรมแห่งหนึ่ง

ล่าสุดก่อนผมลงมือเขียนบทความนี้ท่านรองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา คุณสุภัฒ สงวนดีกุล ก็ออกหนังสือชี้แจงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และขอยอมรับผิดด้วยการลาออกจากตำแหน่ง

แต่ในประเด็นที่ผมจะนำมาวิเคราะห์เกี่ยวกับข่าวนี้ เพื่อใช้เป็น Case Study เชื่อมโยงกับหลักการวิเคราะห์ปัญหา IS / IS NOT อันโด่งดังของสองคู่หู Kepner-Tregoe

เมื่อเกิดข่าวนี้ขึ้นปรากฎว่า ทางการไทยได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือทุกอย่างเพื่อให้รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาพ้นจากการลงโทษตามกฎหมายของรัฐบาลญี่ปุ่น พร้อมทั้งมีเนติบริกรที่เป็นกุนซือของรัฐบาลนี้ออกมาปกป้องการกระทำผิดในครั้งนี้

ทำให้ผมลองไปค้นหาดูว่าเคยมีเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันนี้เกิดขึ้นหรือเปล่า ก็ไปพบข่าวชิ้นหนึ่งของสำนักข่าว Manager Online เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558 (http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9580000068076)

ในเนื้อข่าวระบุว่า “สถานทูตไทยในกรุงโตเกียวเผยเรื่องจริงสาวไทยขโมยของในสวนสนุก แต่โดนจับได้ เจ้าตัวเผยนึกว่าแค่โดนปรับ แต่กลับโดนดำเนินคดีแบบจัดเต็ม คุมขังยาว 2 เดือนยังไม่ได้กลับประเทศไทย เผยเป็นอุทาหรณ์เตือนคนไทยมือไวที่คิดจะไปเที่ยวญี่ปุ่น”

“ทั้งนี้ สถานทูตฯไม่สามารถที่จะเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงระบบยุติธรรมหรือกฎหมายของญี่ปุ่นได้ กล่าวคือ คนไทยทุกคนเมื่อเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นแล้ว ก็จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น หากกระทำความผิดจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น” สถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงโตเกียวระบุ

ก็เลยเกิดการตั้งคำถามกับ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่ามีความแตกต่างตรงไหนที่ทำให้ เหตุการณ์หนึ่งถูกรัฐบาลญี่ปุ่นดำเนินการตามกฎหมาย ขณะที่อีกเหตุการณ์หนึ่งกลับไม่ถูกการดำเนินการใด ๆ ?

มีหลักคิดในการตั้งคำถามที่ใช้ในการค้นหาความแตกต่าง เพื่อหาข้อสมมติฐาน ด้วยหลักการ IS / IS NOT

  1. What ? เหตุการณ์ขโมยในสวนสนุกมีความผิด แต่ทำไมเหตุการณ์ขโมยในโรงแรมไม่มีความผิด ลักษณะการกระทำความผิดมีผลไหม ?
  2. Where ? เหตุการณ์ทั้งสองเกิดในประเทศญี่ปุ่น ทำไมเหตุการณ์หนึ่งมีความผิด แต่เหตุการณ์หนึ่งไม่มีความผิด สถานที่เกิดเหตุมีผลไหม ?
  3. When ? เหตุการณ์ที่เกิดเมื่อปี 2558 มีความผิด  แต่เหตุการณ์ล่าสุดปี 2560 ไม่มีความผิด ปีที่เกิดเหตุการณ์มีผลไหม ?
  4. อื่น ๆ เช่น เหตุการณ์เมื่อปี 2558 เป็นประชาชนที่เป็นนักท่องเที่ยวธรรมดา เหตุการณ์เมื่อปี 2560 เป็นข้าราชการระดับสูง ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ บทบาทมีผลไหม ?

การตั้งคำถามลักษณะนี้ก็จะทำให้สามารถตั้งสมมติฐานในการวิเคราะห์ความแตกต่างที่เกิดขึ้นของ 2 เหตุการณ์ได้ เช่น สมมติฐานอาจจะเป็นว่ากฎหมายที่ญี่ปุ่นปรับเปลี่ยนไป ผลจึงแตกต่างกัน? สมมติฐานอาจจะเป็นว่าเพราะบทบาทของคนในเหตุการณ์แตกต่างกัน ผลจึงแตกต่างกัน?

คำถาม IS / IS-NOT เช่นนี้จะทำให้เราฝึกวิเคราะห์ในการตั้งสมมติฐานของปัญหาที่เกิดขึ้น

ดูรายละเอียดหลักสูตร “Systems Problem Solving and Decision Making”

สนใจฝึกอบรมติดต่อ A@LERT Learning and Consultant
คุณชลมารค (มิลค์) 098-763-3150
คุณทิพย์สุวรรณ (เพชร) 081-711-3466

contact@nairienroo.com

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

A@LERT Learning and Consultant

มือถือ 086-7771833

E-mail : boonlert.alert@gmail.com

Facebook : นายเรียนรู้

Line ID : @lert

www.nairienroo.com

Related Posts