fbpx

OSHO Active Meditation หนทางใหม่แห่งการภาวนา

…เหตุใดจึงไม่ควรเริ่มต้นภาวนาด้วยการนั่งสมาธิแบบพระพุทธเจ้า…

OSHO Active Meditation
เมื่อปลายปีที่แล้ว OSHO Thailand โอโช่ ไทยแลนด์ ได้มาเช่าพื้นที่ชั้น 3 ที่ร้าน House of Commons – BookCafe & Space จัดกิจกรรมภาวนาแบบ Active Meditation
คำถามแรกที่ผู้ประสานงานถามผ่านน้องที่ร้าน ก็คือ กระโดดได้ไหม ตะโกนส่งเสียงดังได้ไหม (คำตอบที่แจ้งไป คือ ได้แต่พอประมาณ เพราะชั้น 2 มีห้องพัก)
เราเองเคยอ่านงาน OSHO นานมาแล้ว แต่ไม่เคยฝึกภาวนาแบบ Active Meditation มาก่อนเลย ก็เลยตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมในวันนั้นด้วย
เราเข้าร่วมกิจกรรมแบบไว้วางใจ ปล่อยวาง เขานำกิจกรรมภาวนาอะไร ไม่ว่าจะเต้น ตะโกนส่งเสียงไม่เป็นภาษา ก็ฝึกตามเขาไป จะมีช่วงท้ายของแต่ละกิจกรรมภาวนา ที่ปล่อยให้เรานั่งหรือนอน แล้วเฝ้าดูความคิดที่เกิดขึ้น
เออมันได้ผลกับเราวะ
ตอนเย็นเขาก็ชักชวนให้เข้าร่วมฝึกภาวนาเช้า-เย็น ทาง Zoom เราก็สมัครเข้าร่วม
ได้เข้าฝึกบ้าง ไม่ได้เข้าฝึกบ้าง ได้เรียนรู้วิธีการภาวนาในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น บางอันก็เข้ากับจริตของเรา บางอันก็ไม่ถูกจริต
ทุกวันที่ฝึกเสร็จจะมีพี่คนหนึ่งนำคำบรรยายของ OSHO ในเรื่องต่างๆมาแบ่งปัน
ทำให้เรานอกจากจะฝึกภาวนาแบบ OSHO แล้ว ก็ไปหยิบหนังสือของ OSHO ที่กองดองไว้มาปัดฝุ่นอ่านใหม่อีกรอบ
การอ่านในรอบนี้หลังจากได้ฝึกมา ทำให้เราเข้าใจในคำบรรยาย OSHO เพิ่มมากขึ้น บางประเด็นก็เหมือนโดนตีกบาลเข้าอย่างจัง ที่ช่วงหลังๆเราชอบแชร์ผ่าน Facebook
กลับมาที่ประเด็นว่าทำไมเราไม่ควรเริ่มต้นภาวนาแบบนั่งสมาธิเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า
วันนี้เราอ่านหนังสือ “เชาว์ปัญญา” ของ OSHO
ในช่วงท้ายเล่ม OSHO ได้บรรยายในประเด็นเรื่อง
“ค้นพบเชาว์ปัญญา ได้ด้วยการภาวนา”
OSHO ได้บรรยายในช่วงหนึ่งไว้ว่า
“…บางทีการเดินนั้นจะง่ายกว่าหรือว่าท่านเต้นรำก็น่าจะง่ายยิ่งขึ้น หลังจากที่ท่านได้ทำสิ่งอื่นที่ง่ายกว่าแล้วท่านจึงจะนั่งได้ การนั่งขัดสมาธิแบบพระพุทธเจ้านั้นควรเป็นสิ่งสุดท้ายที่ทำ ไม่ควรจะใช้สำหรับการเริ่มต้น ต่อเมื่อท่านเริ่มรู้สึกเป็นอันเดียวกันกับการเคลื่อนที่แล้วเท่านั้น ท่านจึงจะฝึกรู้สึกเป็นอันเดียวกับการนั่งนิ่งๆ
ดังนั้นข้าพเจ้าไม่สอนให้คนเริ่มต้นด้วยการนั่ง จงเริ่มต้นจากของที่ง่ายก่อน เพราะไม่เช่นนั้นท่านจะเริ่มต้นรู้สึกว่าหลายอย่างนั้นไม่จำเป็น
ถ้าท่านเริ่มต้นด้วยการนั่ง ภายในตัวท่านจะรู้สึกไม่สงบอย่างมาก ยิ่งท่านพยายามที่จะนั่งนิ่ง ท่านก็จะยิ่งรู้สึกไม่สงบมากขึ้น ท่านจะรู้สึกได้แต่ในความวิกลจริตของจิตคิดเท่านั้นไม่มีอะไรอื่นเลย มันจะทำให้ท่านหดหู่ ท่านจะรู้สึกหงุดหงิด ท่านจะไม่รู้สึกเบิกบาน และมันอาจทำให้ท่านเริ่มรู้สึกว่าท่านวิกลจริต บางครั้งมันทำให้ท่านวิกลจริตจริงๆ
ข้าพเจ้าเริ่มต้นกับความบ้าของท่าน แต่ไม่ใช่ด้วยท่านั่ง ข้าพเจ้ายอมรับในความบ้าของท่าน ด้วยการให้ท่านได้กระโดดโลดเต้นอย่างบ้าคลั่ง แล้วสิ่งที่ตรงกันข้ามจะเกิดขึ้นภายในตัวท่าน ด้วยการเต้นแบบบ้าๆบอๆ ท่านเริ่มรู้สึกถึงจุดที่เงียบภายในตัวท่าน ด้วยการนั่งอย่างเงียบๆ ท่านจะรู้สึกถึงความบ้า สิ่งที่ตรงกันข้ามเป็นประเด็นของการตื่นรู้เสมอด้วยการเต้นอย่างบ้าคลั่งของท่าน อย่างไม่เป็นระเบียบ ด้วยการร้องไห้ ด้วยการหายใจอย่างยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ ข้าพเจ้ายอมรับในความบ้าของท่าน แล้วท่านก็จะเริ่มตื่นรู้ถึงจุดที่เบาหวิวนั้น มันอยู่ลึกเข้าไปในตัวท่าน สงบนิ่ง เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความบ้าคลั่งที่อยู่บริเวณผิวนอก ท่านจะรู้สึกเบิกบานใจอย่างที่สุด ณ จุดศูนย์กลางของท่านที่มีความเงียบอยู่ภายใน แต่ถ้าท่านใช้การนั่ง ข้างในท่านก็จะเป็นบ้า ท่านเงียบที่ข้างนอก แต่ข้างในท่านจะเป็นบ้า
ถ้าหากท่านเริ่มด้วยบางสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง ที่เป็นไปในทางบวก มีชีวิตชีวา เคลื่อนไหว มันจะดีกว่า แล้วท่านจะเริ่มรู้สึกว่าความนิ่งภายในกำลังเติบโต ยิ่งมันเติบโต มันจะเป็นไปได้ที่ใช้ท่านั่งหรือท่านอน ยิ่งเงียบมากเท่าใด การภาวนาก็เป็นไปได้ และภายในไม่ช้าสิ่งที่แตกต่างก็จะกระจ่างขึ้น…”
หากใครเคยมีประสบการณ์เหมือนเรา เวลานั่งสมาธิแล้วจิตคิดมันฟุ้งซ่าน
อยากจะชักชวนให้ปล่อยวางหัวคิด แล้วเปิดโอกาสให้หัวใจนำทางไปกับแนวภาวนาในแบบ Active Meditation ที่ OSHO คิดค้นขึ้น
โดยเดือนหน้าจะมีการจัดกิจกรรม 1 Day Osho Gathering Meditation
ในวันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2567
เวลา 09:30-17:00
ที่ร้าน House of Commons – BookCafe & Space
ถ.เจริญกรุง เชิงสะพานพิทยเสถียร ก่อนถึงปากซอยเจริญกรุง 24
“นายเรียนรู้”
บุญเลิศ คณาธนสาร
www.nairienroo.com

Related Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *