หลายคนที่เคยเรียนหลักสูตร Problem Solving and Decision Making มาก่อน คงได้มีโอกาสทบทวนความรู้มาประยุกต์ใช้จริงกับสถานการโควิด 19 นี้แล้ว ด้วยสถานการณ์ทุกอย่างเปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน และมีปัญหาเกิดขึ้นได้ตลอดแบบรายวันทั้งในชีวิตงาน และชีวิตส่วนตัว ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่เจอกับตัวเองทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว มาเริ่มกันที่เรื่องงานกันก่อนดีกว่าค่ะ ลูกค้าขอยกเลิกหรือเปลี่ยนตารางฝึกอบรมเป็นสิบรุ่น บ้างขอลดระยะเวลาฝึกอบรมจาก 1 วันเหลือ 2 ชั่วโมง เปลี่ยนแผนการฝึกอบรม ขอหลักสูตรใหม่ๆ
Tag: หลักสูตร Problem Solving and Decision Making
ในการดำเนินชีวิต การทำงาน หรือการทำกิจกรรมต่างๆ มักจะมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อโดยที่เราไม่ได้คาดคิด แม้ว่าเราจะคิดว่าได้เตรียม วิธี แก้ ปัญหา เอาไว้แล้วก็ตาม การพยายามป้องกัน หรือควบคุมไม่ให้เกิดปัญหา ก็เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ปัญหาก็เหมือนกับ “ฝน” ที่เราไม่รู้เลยว่าจะตกลงมาเมื่อไหร่ เวลาไหน แต่ถึงอย่างไร เราก็ยังสามารถสังเกตได้จากสิ่งรอบๆ ตัว และสัมผัสได้ว่า “ฝนกำลังจะตก” ปัญหาก็เป็นเช่นนั้น แม้จะเป็นสิ่งที่เราไม่รู้ว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อใด แต่เราก็สามารถสัมผัสได้จากการสังเกตจากสิ่งรอบๆ ตัว
แก้ปัญหาไม่ถูกจุด…เพราะไม่รู้ประเภทของปัญหา ปัญหาเป็นสิ่งที่ทุก ๆ คนต้องเผชิญ แต่หลายครั้งหลายหนที่หลายคนจับต้นชนปลายไม่ถูก แก้ปัญหาไม่ถูกจุด เพราะไม่รู้ประเภทของปัญหา หากเรามาจำแนกประเภทของปัญหา โดยใช้ตาราง Matrix ใน 2 มิติ คือ มิติของสาเหตุ แบ่งเป็น “รู้” กับ “ไม่รู้” มิติของมาตรการแก้ไข / มาตรการป้องกัน แบ่งเป็น “รู้” กับ
ความตั้งใจเดิมในวันนี้นั้น อยากที่เขียนวิเคราะห์เชื่อมโยงการวิเคราะห์เรื่องราวที่เกิดขึ้นในกรณีที่เป็นข่าวที่โด่งดังเรื่องหนึ่ง คือ ข่าวของรองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาขโมยภาพจากโรงแรมแห่งหนึ่ง ล่าสุดก่อนผมลงมือเขียนบทความนี้ท่านรองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา คุณสุภัฒ สงวนดีกุล ก็ออกหนังสือชี้แจงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และขอยอมรับผิดด้วยการลาออกจากตำแหน่ง แต่ในประเด็นที่ผมจะนำมาวิเคราะห์เกี่ยวกับข่าวนี้ เพื่อใช้เป็น Case Study เชื่อมโยงกับหลักการวิเคราะห์ปัญหา IS / IS NOT อันโด่งดังของสองคู่หู Kepner-Tregoe เมื่อเกิดข่าวนี้ขึ้นปรากฎว่า ทางการไทยได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือทุกอย่างเพื่อให้รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาพ้นจากการลงโทษตามกฎหมายของรัฐบาลญี่ปุ่น พร้อมทั้งมีเนติบริกรที่เป็นกุนซือของรัฐบาลนี้ออกมาปกป้องการกระทำผิดในครั้งนี้ ทำให้ผมลองไปค้นหาดูว่าเคยมีเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันนี้เกิดขึ้นหรือเปล่า ก็ไปพบข่าวชิ้นหนึ่งของสำนักข่าว
“ยิ้มไม่ออก กับ Thai Smile” วันนี้เป็นครั้งแรกที่ผมเดินทางกับสายการบิน Thai Smile และเป็นครั้งแรกที่ผมจะจำไว้ไม่มีวันลืม ผมต้องเดินทางไปเชียงใหม่ เพื่อไปบรรยายในวันที่ 26-27/01/2560 ที่บริษัท ช้าฟเนอร์ อีเอ็มซี จำกัด ผมเลยวางแผนเดินทางล่วงหน้าก่อน 1 วัน เพื่อจะได้พักผ่อนให้เต็มที่ เตรียมพร้อมให้เต็มที่กับการบรรยาย ผมเดินทางไปถึงสนามบินสุวรรณภูมิเวลา 12:15 น. เครื่องบินตามกำหนดการไฟล์ท WE182
การวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าของปัญหา (Root Cause Analysis) ที่ผมบรรยายอยู่ในปัจจุบัน จะเน้นย้ำผู้เรียนในเรื่องความสำคัญของข้อเท็จจริงในการสืบสวนหาสาเหตุ โดยใช้หลัก 3G (Genba, Genbutsu, Genjitsu) และขั้นตอนที่ผมให้ความสำคัญมาก ๆ ก็คือ ขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนทำการไล่เรียงรายละเอียดเหตุการณ์ที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นให้ชัดเจน โดยให้ผู้เรียนเขียนภาพขั้นตอนการไหลของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น ซึ่งโดยปกติแล้ว เรามักจะไล่ภาพขั้นตอนการไหลของกระบวนการเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำความเข้าใจกระบวนการนั้น ๆ แต่ในกรณีที่เราต้องสืบสวนหาสาเหตุรากเหง้าของปัญหา เราต้องใช้ “เทคนิคย้อนรอย” ไล่ย้อนกลับไปตั้งแต่จุดที่พบความผิดปกติ ไล่ย้อนกลับไปกระบวนการก่อนหน้า เพื่อหาข้อสันนิษฐานว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากสาเหตุความผิดพลาดในกระบวนการใด
พอพูดถึงการวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า (Root Cause Analysis) ด้วยวิธีการตั้งคำถาม ทำไม-ทำไม หรือที่เราเรียกว่า Why-Why Analysis หลายคนคงนึกไปถึงภาพเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้นที่จะใช้วิธีนี้ แท้ที่จริงแล้วการวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า (Root Cause Analysis) นั้นเป็นเครื่องมือในการช่วยให้การคิดเป็นลำดับขั้นตอน มีวิธีการคิดที่เป็น Logic เป็นเหตุเป็นผล ดังนั้นจึงไม่จำกัดว่าจะใช้ได้เฉพาะภายในโรงงานเท่านั้น แต่สามารถใช้ได้ในงานทุกงาน ไม่ว่าจะเป็น “งานผลิต” หรือ “งานบริการ” วันนี้
เบื้องลึกการตัดสินใจ หลายครั้งหลายหนที่เรามักมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกัน บ่อยครั้งมักจบลงเอยด้วยการทะเลาะเบาะแว้งกัน ใช้คำพูดที่เหน็บแหนมกัน หากเป็นในที่ประชุมภายในบริษัท ภายในองค์กรก็มักจบลงด้วยการทุบโต๊ะโดยผู้มีอำนาจในที่ประชุม หรือลงมติด้วยเสียงข้างมากในที่ประชุม น้อยครั้งมากที่หันเข้าเข้ามาหากัน เพื่อพิจารณาในเรื่องรูปแบบความคิด (Mental Model) ที่มีในใจของแต่ละคน โดยปุถุชนคนทั่วไปจะมีรูปแบบในการตัดสินใจต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ดังรูปภาพ ปัจจัยในการตัดสินใจแต่ละคนไม่ได้มาจาก Information Feedback ที่เป็นข้อเท็จจริงเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากกฎเกณฑ์การตัดสินใจที่เกิดรูปแบบความคิด (Mental Model) ของคน ๆ นั้น
การวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis) เมื่อย้อนกลับไปดูที่บทที่ 1 ในเรื่องปัญหาในรูปแบบกรณีที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีที่ “สิ่งที่ต้องการ (Target)” มากกว่า “ค่ามาตรฐาน (Standard)” ดังแสดงในรูปที่ 4.1 รูปที่ 4.1 ปัญหาในรูปแบบกรณีที่ 2 นี้เป็นปัญหาประเภท “ปัญหาพื้น ๆ (Standard Problem)” ที่เราสามารถที่จะใช้วิธีการเดิมในอดีตที่เคยทำสำเร็จตาม
การออกแบบระบบ (Systems Design) เมื่อย้อนกลับไปดูที่บทที่ 1 ในเรื่องปัญหาในรูปแบบกรณีที่ 1 ซึ่งเป็นกรณีที่ “สิ่งที่ต้องการ (Target)” มากกว่า “ค่ามาตรฐาน (Standard)” ดังแสดงในรูปที่ 3.1 ปัญหาในรูปแบบกรณีที่ 1 นี้เป็นปัญหาประเภท “ปัญหาท้าทาย (Challenge Problem)” ที่เราไม่สามารถที่จะใช้วิธีการเดิมในอดีตที่เคยทำสำเร็จตาม “ค่ามาตรฐาน (Standard)” มาใช้ได้อีกต่อไป