ด้วยการเติบโตและพัฒนาของภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ซึ่งมีการขยายกำลังการผลิต และเติบโตอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหามลพิษทางด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาความเป็นธรรมในการจ้างงาน รวมไปถึงผลกระทบอื่น ๆ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน
ผู้ประกอบการที่มีธรรมาภิบาล (Good Governance) จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ทั้งหมด มิใช่คำนึงถึงผลกำไรของบริษัท กับผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (Shareholders) เพียงเท่านั้น
เพื่อให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีแนวทางในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และมีมาตรฐานในการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงได้จัดทำมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม (Standard for Corporate Social Responsibility, Department of Industrial Works : CSR-DIW) ขึ้น โดยได้ปรับปรุงและพัฒนาจากมาตรฐานสากล ISO 26000: Social Responibility
ซึ่งประกอบไปด้วย 7 หัวข้อหลัก
- การกำกับดูแลองค์กร (Organizational governance)
- สิทธิมนุษยชน (Human right)
- การปฏิบัติด้านแรงงาน (Labour practices)
- สิ่งแวดล้อม (The environment)
- การดำเนินงานอย่างเป็นธรรม (Fair operating practice)
- ประเด็นด้านผู้บริโภค (Consumer issues)
- การมีส่วนรวมและการพัฒนาชุมชน (Community involvement and development)
จะเห็นว่าการบริหารจัดการของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เพื่อให้บรรลุมาตรฐานนี้นั้นจำเป็นต้องอาศัยศาสตร์ และศิลป์ ทั้งในด้านบริหารจัดการ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาชุมชน
ในครั้งต่อ ๆ ไป เราจะเจาะลึกกันในแต่ละหัวข้อกันต่อไป
“นายเรียนรู้”
วิทยากร และที่ปรึกษา
A@LERT Learning and Consultant
มือถือ 086-7771833
E-mail : boonlert.alert@gmail.com
Facebook : นายเรียนรู้
Line ID : @lert
www.nairienroo.com