fbpx

หากพูดถึงคำว่าเป้าหมาย หลาย ๆ คนคงคิดถึงเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องส่วนตัว หรือในเรื่องงาน เป้าหมายนั้นอาจมีที่มาที่แตกต่างกันออกไป บางส่วนมาจากที่คนอื่นกำหนดให้ บางส่วนเราอาจจะต้องเป็นคนกำหนดเป้าหมายขึ้นมาเอง

เมื่อมีค่าเป้าหมายตั้งไว้ ก็ต้องนำมาเปรียบเทียบกับค่าปัจจุบันที่เป็นอยู่ ก็จะเห็นช่องว่างระหว่างค่าเป้าหมายกับค่าปัจจุบัน นั่นคือสิ่งที่เป็นปัญหา (Problem) ที่เราต้องขจัดให้หมดไป หรือมองในอีกมุมหนึ่งมันคือความท้าทาย (Challenge) ที่เราต้องก้าวไปให้ถึง

ดังนั้นเป้าหมายจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการแข่งขัน และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ลองนึกภาพดูสิครับถ้าการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ อย่างเช่น การแข่งขันวิ่ง 100 เมตร ในกีฬาโอลิมปิค นักวิ่งแต่ละคนไม่ตั้งเป้าหมายที่จะวิ่งเพื่อทำลายสถิติโลก เราก็คงได้ดูการแข่งขันที่น่าเบื่อ ไม่รู้สึกที่ตื่นเต้นลุ้นไปด้วยกับการแข่งขันในแต่ละครั้ง และก็คงไม่ได้เห็นวิวัฒนาการของรองเท้าวิ่งในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะช่วยให้นักวิ่งมีศักยภาพในการวิ่งที่ดียิ่งขึ้น

 24950994654_7fb55aa990_o (1)

แนวคิดที่มาทั่ว ๆ ไปในการตั้งเป้าหมายมีดังนี้

  1. Past Performance คือ การตั้งเป้าหมายโดยพิจารณาจากผลงานในอดีตที่เคยทำมา เรียกว่าเป็นการมองในมุมที่เทียบเคียงกับตัวเอง
  2. Benchmarking คือ การตั้งเป้าหมายโดยพิจารณาเทียบเคียงกับคู่แข่งขัน เรียกว่าเป็นการมองในมุมที่เทียบเคียงตัวเองกับคู่แข่งขัน ซึ่งในวิธีการนี้เราอาจไปศึกษาคู่แข่งที่ทำได้ดี หรือที่เรียกว่าเป็น Best Practice ว่าเขามีวิธีการอย่างไร แล้วก็นำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับเรา

ซึ่ง 2 แนวคิดที่กล่าวมานั้น ถือเป็นแนวคิดที่มาในการตั้งเป้าหมายแบบทั่ว ๆ ไป ที่คนทั่ว ๆ ไปนิยมใช้กัน คือ การพิจารณาตั้งเป้าหมายโดยมองจากสภาพปัจจุบันที่เป็นอยู่ แล้วตั้งเป้าหมายไปข้างหน้าว่าควรจะเป็นเท่าไหร่ อาจจะเรียกวิธีคิดแบบนี้ว่าการตั้งเป้าหมายแบบ Forward Thinking

แนวคิดในการตั้งเป้าหมายอีก 1 แนวคิด คือ แนวคิดการตั้งเป้าหมายแบบสุดโต่ง (Ideal Target Setting) ซึ่งใช้วิธีคิดในการตั้งเป้าหมายแบบ Backward Thinking

วิธีคิดการตั้งเป้าหมายแบบสุดโต่ง มีดังนี้

  1. ระบุค่าเป้าหมายที่สูงสุด ที่สมบูรณ์แบบ (Perfect Target) ว่ามีค่าเท่าไหร่ ยกตัวอย่างเช่น เป้าหมายส่วนแบ่งการตลาด (Market Share) ที่สูงสุด ที่สมบูรณ์แบบเลย คือ 100%
  2. ระบุข้อจำกัด (Constraints) ว่ามีอะไรบ้าง ที่เป็นอุปสรรคที่จะทำให้ไม่สามารถบรรลุค่าเป้าหมายที่สูงสุดได้ เช่น ในเรื่องเป้าหมายส่วนแบ่งการตลาด อุปสรรคก็คือ ส่วนแบ่งการตลาดของคู่แข่งขันรายอื่น ๆ ที่มีฐานลูกค้าเดิมที่เหนียวแน่นยังไงเราก็ไม่สามารถไปแย่งชิงในส่วนนี้มาได้ ให้ทำการประเมินออกมาว่าเป็นค่าประมาณเท่าไหร่ เช่น ประมาณ 40%
  3. คำนวณหาค่าเป้าหมายแบบสุดโต่ง (Ideal Target) โดยให้นำค่าเป้าหมายที่สูงสุด หักออกด้วยข้อจำกัด เช่น ในเรื่องเป้าหมายส่วนแบ่งการตลาด เมื่อเราทำการคำนวณหาค่าเป้าหมายแบบสุดโต่ง ก็จะได้เท่ากับ 100%-40% = 60%

 ซึ่งวิธีคิดการตั้งเป้าหมายแบบสุดโต่ง จะทำให้เกิดความท้าทายในเป้าหมายที่มากกว่า ส่งผลทำให้เราต้องออกแรงพยายามที่มากขึ้น คิดค้นหาไอเดียวิธีการต่าง ๆ ที่มากขึ้น เพื่อที่จะให้เราบรรลุในเป้าหมายที่ต้องการ

ดังนั้นการตั้งเป้าหมายในเรื่องที่เราทำในทุก ๆ เรื่องไม่ว่าด้วยวิธีการใดก็ตาม จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด

ดูรายละเอียดหลักสูตร “Systems Problem Solving and Decision Making”

สนใจฝึกอบรมติดต่อ A@LERT Learning and Consultant
คุณชลมารค (มิลค์) 098-763-3150
คุณทิพย์สุวรรณ (เพชร) 081-711-3466

contact@nairienroo.com

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

A@LERT Learning and Consultant

มือถือ 086-7771833

E-mail : boonlert.alert@gmail.com

Facebook : นายเรียนรู้

Line ID : @lert

www.nairienroo.com

Related Posts