fbpx

เทคนิควิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าด้วย Why-Why Analysis

การวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าของปัญหา หรือที่เรียกว่า Root Cause Analysis นั้น มีเทคนิคในการตั้งคำถามที่นิยมใช้กัน ก็คือ การตั้งคำถามด้วยคำว่า “ทำไม-ทำไม?” ซึ่งมีการเรียกเทคนิคนี้ว่า “Why-Why Analysis” หรือ “5 Why Analysis” แล้วแต่จะเรียกกันไป

เมื่อลองมาวิเคราะห์ดูว่า เหตุใดเทคนิคการตั้งคำถามง่าย ๆ ด้วย “ทำไม-ทำไม?” แบบนี้ จึงเป็นที่นิยมกัน และใช้กันอย่างแพร่หลาย

เหตุผลหนึ่ง ก็คือ มันทำให้เราเข้าใจกลไกการเกิดขึ้นของปัญหา

ลองไปดูตัวอย่างการวินิจฉัยของแพทย์ต่อการเสียชีวิตของคนไข้รายหนึ่งที่ถูกมดตะนอยกัด

“สำหรับสาเหตุการเสียชีวิตนั้น แพทย์ได้แจ้งให้ญาติทราบว่า กรณีถูกมดตะนอยกัดต่อยจนเสียชีวิต ถือเป็น 1 ในล้านของผู้ป่วยเท่านั้น และเป็นกรณีที่หาได้ยากมาก โดยคนที่มีอาการแพ้พิษ จะมีอาการหน้าดำ จะรู้สึกอึดอัดหายใจไม่ออก เนื่องจากเซลล์ปอดขยายตัวอย่างรุนแรง ทำให้ปอดไม่ทำงาน ไม่ฟอกเลือด ทำให้เกิดอาการช็อค เพราะเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ทัน ทำให้เซลล์สมองตาย และเสียชีวิตในที่สุด”

ซึ่งถ้าหากเราลองวิเคราะห์ และถอดคำวินิจฉัยของแพทย์ออกมาเป็นลำดับ จะได้เห็นกลไกการเกิดปัญหาที่ทำให้คนไข้รายนี้เสียชีวิต ตามภาพ

จะเห็นได้ว่าเทคนิคการตั้งคำถามด้วยคำว่า “ทำไม-ทำไม?” จะทำให้เราเข้าใจกลไกการเกิดปัญหาได้อย่างชัดเจน

การวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าด้วย Why-Why Analysis ให้มีประสิทธิผลจนนำไปสู่ “มาตรการแก้ไข” ที่ป้องกันการเกิดซ้ำ มีจุดสำคัญในการวิเคราะห์ดังนี้

  1. สะสางปัญหาให้ชัดเจน
  2. ให้พิจารณาว่านอกจากสาเหตุที่ระบุ ยังมีสาเหตุอื่นอีกหรือไม่ ?
  3. หลังจากวิเคราะห์ด้วย Why-Why เสร็จแล้ว ให้อ่านทวนย้อนกลับ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องตามหลักตรรกะ
  4. ให้ถามทำไมไปเรื่อย ๆ จนสามารถนำไปสู่มาตรการแก้ไข เพื่อป้องกันปัญหา ไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก

สนใจเรียนรู้เพิ่มเติมกับเทคนิควิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าด้วย Why-Why Analysis ได้ในหลักสูตร “Root Cause Analysis”

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

086-7771833

Line: @Lert

E-mail : boonlert.alert@gmail.com

www.nairienroo,com

Related Posts