fbpx

ความตั้งใจเดิมในวันนี้นั้น อยากที่เขียนวิเคราะห์เชื่อมโยงการวิเคราะห์เรื่องราวที่เกิดขึ้นในกรณีที่เป็นข่าวที่โด่งดังเรื่องหนึ่ง คือ ข่าวของรองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาขโมยภาพจากโรงแรมแห่งหนึ่ง ล่าสุดก่อนผมลงมือเขียนบทความนี้ท่านรองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา คุณสุภัฒ สงวนดีกุล ก็ออกหนังสือชี้แจงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และขอยอมรับผิดด้วยการลาออกจากตำแหน่ง แต่ในประเด็นที่ผมจะนำมาวิเคราะห์เกี่ยวกับข่าวนี้ เพื่อใช้เป็น Case Study เชื่อมโยงกับหลักการวิเคราะห์ปัญหา IS / IS NOT อันโด่งดังของสองคู่หู Kepner-Tregoe เมื่อเกิดข่าวนี้ขึ้นปรากฎว่า ทางการไทยได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือทุกอย่างเพื่อให้รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาพ้นจากการลงโทษตามกฎหมายของรัฐบาลญี่ปุ่น พร้อมทั้งมีเนติบริกรที่เป็นกุนซือของรัฐบาลนี้ออกมาปกป้องการกระทำผิดในครั้งนี้ ทำให้ผมลองไปค้นหาดูว่าเคยมีเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันนี้เกิดขึ้นหรือเปล่า ก็ไปพบข่าวชิ้นหนึ่งของสำนักข่าว

Read More

ปัจจัยสำคัญ 5 ประการ ในการบริหารโครงการให้ประสบความสำเร็จ คือ ขอบเขตโครงการ (Project Scope) หมายถึง สิ่งที่เป็นข้อตกลงในการดำเนินงานโครงการ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดทุกสิ่งที่อยู่ในโครงการ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากร เวลา กิจกรรม ต้นทุน บุคลากร รวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการ จึงนับเป็นปัจจัยหลักในการวางแผนโครงการ การควบคุมโครงการ การติดตามความก้าวหน้าโครงการ ตลอดไปจนถึงการวัดผลโครงการ ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลง Scope งานจะต้องรีบดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมีทิศทางที่ถูกต้องตรงกับเป้าหมาย

Read More

“ยิ้มไม่ออก กับ Thai Smile” วันนี้เป็นครั้งแรกที่ผมเดินทางกับสายการบิน Thai Smile และเป็นครั้งแรกที่ผมจะจำไว้ไม่มีวันลืม ผมต้องเดินทางไปเชียงใหม่ เพื่อไปบรรยายในวันที่ 26-27/01/2560 ที่บริษัท ช้าฟเนอร์ อีเอ็มซี จำกัด ผมเลยวางแผนเดินทางล่วงหน้าก่อน 1 วัน เพื่อจะได้พักผ่อนให้เต็มที่ เตรียมพร้อมให้เต็มที่กับการบรรยาย ผมเดินทางไปถึงสนามบินสุวรรณภูมิเวลา 12:15 น. เครื่องบินตามกำหนดการไฟล์ท WE182

Read More

เมื่อตอนสมัยทำงานอยู่ที่ SCG ลูกพี่ผมหลายคนก็มักจะบอกว่า “ช่วยสรุปทุกอย่างให้อยู่ในหน้าเดียวให้หน่อย” ซึ่งตอนนั้นผมก็ใช้เทคนิคในการคัดให้เลือกประเด็นสำคัญจริง ๆ หากยังไม่พออีกก็ใช้เทคนิคลดขนาด Font เอาซะเลย ต่อมาก็ได้มาเรียนรู้ในตอน Implement ระบบ TPM ในโรงงาน ซึ่งมีแนวคิดในเรื่องการสรุปบทเรียนออกมาเป็น 1 หน้ากระดาษ เรียกว่า One Point Lesson หรือ OPL ต่อมาก็ได้เรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่อง A3

Read More

การวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าของปัญหา (Root Cause Analysis) ที่ผมบรรยายอยู่ในปัจจุบัน จะเน้นย้ำผู้เรียนในเรื่องความสำคัญของข้อเท็จจริงในการสืบสวนหาสาเหตุ โดยใช้หลัก 3G (Genba, Genbutsu, Genjitsu) และขั้นตอนที่ผมให้ความสำคัญมาก ๆ ก็คือ ขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนทำการไล่เรียงรายละเอียดเหตุการณ์ที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นให้ชัดเจน โดยให้ผู้เรียนเขียนภาพขั้นตอนการไหลของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น ซึ่งโดยปกติแล้ว เรามักจะไล่ภาพขั้นตอนการไหลของกระบวนการเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำความเข้าใจกระบวนการนั้น ๆ แต่ในกรณีที่เราต้องสืบสวนหาสาเหตุรากเหง้าของปัญหา เราต้องใช้ “เทคนิคย้อนรอย” ไล่ย้อนกลับไปตั้งแต่จุดที่พบความผิดปกติ ไล่ย้อนกลับไปกระบวนการก่อนหน้า เพื่อหาข้อสันนิษฐานว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากสาเหตุความผิดพลาดในกระบวนการใด

Read More

ปัจจุบันที่กระแสนิยมในเรื่องโค้ช (Coach) กำลังมาแรง ประเด็นที่ถูกพูดถึงกันบ่อย ๆ ก็คือ ระหว่างโค้ช (Coach) กับที่ปรึกษา (Consultant) อย่างไรดีกว่ากัน ? ทั้งสองบทบาทเสริมกันหรือขัดแย้งกัน ? ถ้าเราพิจารณาในส่วนประกอบทั้ง 2 บทบาทนั้น จะประกอบด้วย Self – ตัวเราเองที่สวมบทบาทโค้ช หรือที่ปรึกษา Other – ผู้อื่นที่สวมบทบาทโค้ชชี่

Read More

พอพูดถึงการวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า (Root Cause Analysis) ด้วยวิธีการตั้งคำถาม ทำไม-ทำไม หรือที่เราเรียกว่า Why-Why Analysis หลายคนคงนึกไปถึงภาพเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้นที่จะใช้วิธีนี้ แท้ที่จริงแล้วการวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า (Root Cause Analysis) นั้นเป็นเครื่องมือในการช่วยให้การคิดเป็นลำดับขั้นตอน มีวิธีการคิดที่เป็น Logic เป็นเหตุเป็นผล ดังนั้นจึงไม่จำกัดว่าจะใช้ได้เฉพาะภายในโรงงานเท่านั้น แต่สามารถใช้ได้ในงานทุกงาน ไม่ว่าจะเป็น “งานผลิต” หรือ “งานบริการ” วันนี้

Read More

“ซาเทียร์” เป็นกระบวนการเชิงบวกในการเข้าไปสำรวจภายในของตนเอง ที่แตกต่างจากกระบวนการทางด้านการเยียวยาจิตใจทางด้านอื่นที่พยายามเข้าไปสร้างความบาดเจ็บเพิ่มเติมทางจิตใจอย่างไม่ตั้งใจ “ซาเทียร์” เน้นกระบวนการพัฒนาทางด้านจิตใจให้เกิด Self-Esteem ในตัวเอง ความทุกข์ภายในจิตใจของเราจะคลี่คลายหายไปหากเราเข้าใจในธรรมชาติความเป็นคนอย่างเป็นธรรมชาติ (Fully Human) ยอมรับได้ถ้ามี ความผิดพลาด อารมณ์ความรู้สึกเชิงลบ ความไม่สมบูรณ์แบบ คนทั่วไปจำนวนมากไม่ต้องการเป็นคนธรรมดา เพราะจะรู้สึกตัวเองยังมีคุณค่าไม่พอ จึงพยายามแสวงหาบางสิ่งบางอย่าง เพื่อทำให้ตัวเองโดดเด่น มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับ จงยอมรับความเป็นคนธรรมดา พัฒนาตนเองในความเป็นตัวเรา “นายเรียนรู้” อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

Read More

“ซาเทียร์” เป็นหลักสูตรยอดนิยมหลักสูตรหนึ่งของ “เสมสิกขาลัย” ที่จะมาใช้สถานที่เรือนร้อยฉนำ สวนเงินมีมา ในการจัดเป็นประจำทุกปี แม้ว่าร้าน House of Commons – Cafe&Space ของผมกับหุ้นส่วนจะตั้งอยู่หน้าทางเข้าสวนเงินมีมา แต่ผมก็ยังไม่มีโอกาสได้เข้าอบรมซักที จนกระทั่งเมื่อสุดสัปดาห์ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ที่ผ่านมา ก่อนหน้านั้นผมรู้จัก “ซาเทียร์” เพียงแค่ผิวเผิน รู้ว่ามันเกี่ยวข้องในการพัฒนาจิตใจอะไรบางอย่างจากการทำความเข้าใจกระบวนการภายในของตนเองก็เท่านั้น ผมไม่เคยมีความรู้สึกอยากที่จะเข้าอบรม หรือบางครั้งชักเริ่มอยากแต่ดูแล้วสภาพจิตใจตนเองยังไม่พร้อม จนกระทั่งเมื่อกลางปีที่ผ่านมา ผมเริ่มมีความสนใจ

Read More

ช่วงเวลาต้นปีอาจจะเป็นช่วงเวลาที่ใครหลาย ๆ คน ที่ยังทำงานประจำอยู่ เมื่อได้รับโบนัส ได้รับการปรับเงินเดือน อาจจะได้รับการโปรโมทหรือไม่ก็ตาม ? หลายคนคงคิดทบทวนกับตัวเองอยู่ว่าจะฝากอนาคตตัวเองไว้กับองค์กรนี้อีกหรือไม่ ? วันนี้ผมมีบางส่วนในหนังสือของ OSHO ที่ชื่อว่า “เด็ดเดี่ยว” มาถ่ายทอดให้ได้ขบคิดกัน “โดยพื้นฐานแล้ว ความกล้าหาญคือการเสี่ยง เสี่ยงจากสิ่งที่รู้จักไปยังสิ่งที่ไม่รู้จัก จากสิ่งที่คุ้นเคยไปยังสิ่งที่ไม่คุ้นเคย จากความสะดวกสบายไปยังความไม่สะดวกสบาย จากการเดินทางอย่างมีเป้าหมายไปสู่การเดินทางอย่างไร้จุดหมาย โดยที่ไม่รู้เลยว่าจะสามารถทำสำเร็จหรือไม่ มันไม่ต่างอะไรจากการเดิมพัน แต่เพราะการเดิมพันครั้งนี้เท่านั้นที่จะทำให้ท่านรู้ว่าชีวิตคืออะไร” “จงจำไว้ว่าความกล้าหาญไม่ได้แปลว่าไม่มีความกลัว

Read More