ในการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกของอังกฤษในฤดูกาล 2022-2023 นี้ เราจะเห็นว่าผลงานทีมอาร์เซนอลโดดเด่นโลดแล่นนำจ่าฝูงโดยทิ้งอันดับ 2 แมนเชสเตอร์ ซิตี้ อยู่ถึง 5 คะแนน ด้วยการลงเล่น 19 นัด ชนะ 16 นัด เสมอ
Category: Book review

3 องค์ประกอบในการนำเสนออย่างมืออาชีพ (3 Things of Professional Presentation Skills) ทักษะการนำเสนอ (Presentation Skills) ถือเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งทั้งในการเรียนและการทำงาน หลายคนฝีมือและชำนิชำนาญในงานดี แต่ก็มักมาตกม้าตายตอนนำเสนอ ยิ่งในอาชีพวิทยากรอย่างผม ทักษะการนำเสนอถือเป็นทักษะที่สำคัญอย่างมาก เพราะแม้เราจะมีความเชี่ยวชาญเนื้อหานั้นเป็นอย่างดี แต่ก็บ่อยครั้งที่เราในฐานะผู้นำเสนอหรือผู้ถ่ายทอดมักเผลอยัดเยียดข้อมูลจนล้นทะลัก ทำเอาผู้เรียนสำลักความรู้กันไปเลยทีเดียว และเมื่อไม่นานมานี้ ผมมีโอกาสได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งที่เล่าถึงทริคและกลเม็ดง่ายๆ ในการนำเสนอ ซึ่งใช้ชื่อที่แปลเป็นภาษาไทยว่า เคล็ดลับที่จะทำให้ใคร ๆ

จอนนี่ ไอฟฟ์ (Jony Ive) ชายผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ iPhone จะมีกี่คนจะรู้ว่าเบื้องหลังความสำเร็จของรูปลักษณ์ iPhone ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เกิดจากพนักงานฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ (ผู้ที่เคยโดนไล่ออกจากบริษัทของตัวเองไปก่อนหน้านี้) ที่คิดจะลาออกจากบริษัท Apple แต่กลับเปลี่ยนใจอยู่ทำงานต่อเมื่อได้ยินข่าวการกลับมาของ สตีฟ จ็อบส์ พนักงานผู้อยู่เบื้องหลังคนนั้นคือ….. โจนาธาน ไอฟฟ์ หรือ จอนนี่ ไอฟฟ์

เนื่องในวันครู อยากหยิบหนังสือที่ชื่อ “คุรุวิพากษ์คุรุ” ของ OSHO มาเป็นมุมมองหนึ่งที่สะท้อนความแตกต่างทางบริบทกับที่เป็นอยู่ในสังคมไทยที่การวิพากษ์วิจารณ์ครู อาจารย์ เป็นสิ่งที่ยังไม่เปิดกว้างเท่าไหร่ OSHO มีความกล้าหาญมากในการหยิบยกศาสดา และนักปราชญ์ต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียง มีสาวกที่ศรัทธาอย่างมั่นคง เช่น พระพุทธเจ้า, พระเยซู, คาริล ยิบราน, กฤษณะมูรติ ฯลฯ มาวิพากษ์วิจารณ์ในแก่นธรรมอย่างตรงไปตรงมา สิ่งที่ OSHO สะท้อนให้เราเห็นนั้น

เมื่อวานนี้ได้หยิบหนังสือ “ค้นหาตัวคุณที่ใช่ เข้าใจผู้อื่นด้วยจริตนิสัย ๔” ผลงานเขียนของ เรนนี บารอน แปลเป็นภาษาไทยโดยอาจารย์วาจาสิทธิ์ ลอเสรีวานิช เหตุที่หยิบหนังสือเล่มนี้มาอ่านทบทวนอีกครั้ง ก็สืบเนื่องจากการไปเข้าอบรม MBTI กับอาจารย์วาจาสิทธิ์ เมื่อวันที่ 02/01/2560 ที่ผ่านมา ตามที่เขียนเล่าไว้ใน “ไขรหัสใจ ค้นใจฉัน เข้าใจกัน ด้วย MBTI” เมื่อตอนที่เริ่มต้นศึกษา “Enneagram” สักประมาณ 6-7

ในวันนี้ได้หยิบหนังสือที่ชื่อเรื่อง “CSR WAY บทเรียน แนวคิด ความมุ่งหวัง” ของอาจารย์เอนก นาคะบุตร เพื่อเติมเต็มความคิด และมุมมองต่าง ๆ ต่อด้าน CSR เพิ่มเติม ประเด็นเกริ่นนำของหนังสือเล่มนี้ มีที่น่าสนใจอยู่หลายประเด็น โครงการ CSR ที่จะประสบความสำเร็จ เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนโดยรวมอย่างยั่งยืนนั้น ชุมชนต้องมีส่วนรวม (Participation) ในรูปแบบหุ้นส่วน (Partnership) ปัญหาที่ผ่านมาของภาคอุตสาหกรรม

“เมื่อห้องเรียนกลับทาง” หนังสือเล่มเล็ก ๆ โดย ดร.เดชรัต สุขกำเนิด (อาจารย์ต้น) แห่งภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร และทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ในห้องเรียนในมุมมองใหม่ ๆ ที่ได้ทำให้ห้องเรียนมีชีวิตได้ทั้งความรู้ และความรู้สึก ผมหยิบหนังสือเล่มนี้มาอ่านด้วยความสนใจที่ว่า การเรียนการสอนอย่างเช่นในมหาวิทยาลัยที่บางครั้งมีคนเข้าเรียนเป็น 100 คนขึ้นไป อาจารย์ต้นมีกระบวนการในการจัดรูปแบบการเรียนรู้อย่างไร ให้ผู้เรียนได้ทั้งความรู้ และความสนุกสนาน เนื้อหาในหนังสือ ส่วนหนึ่งอาจารย์ต้นนำมาจากบันทึกเรื่องราวประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนที่อาจารย์เขียนเล่าไว้ใน Facebook

ชื่อหนังสือ : เขียวเปลี่ยนโลก (The Truth about Green Business) ชื่อผู้เขียน : Gill Friend ชื่อผู้แปล : สฤณี อาชวานันทกุล สำนักพิมพ์ : โอเพ่นเวิลด์ส ราคา : 300 บาท ความคุ้มค่า :
“ห้องแต่งผมไมเต้” โลกของหนังสือ คือ โลกแห่งจินตนาการ โลกที่จำลองสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงในสังคม วรรณกรรมเยาวชนเป็นหนังสือประเภทหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นของคนหลาย ๆ คน ให้หลงใหลในการอ่านหนังสือ “ห้องแต่งผมไมเต้” ผลงานของ มารี-โอ๊ด มูรัย ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย โดย เย็นตา จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา เป็นวรรณกรรมเยาวชนเรื่องหนึ่ง ที่ผู้เขียนได้หยิบมาอ่านแล้ววางไม่ลง ต้องอ่านรวดเดียวจนจบ เรื่องราวที่ชวนติดตามของเด็กหนุ่มชั้น ม.3 “หลุยส์ เฟรีแยรส์”
แนะนำหนังสือดีดีที่น่าอ่านครับ วิชา “ความคิด” ที่คุ้มค่าหน่วยกิตที่สุดในโลก เขียนโดย Tina Seelig ผู้เขียนหนังสือ “น่าจะรู้อย่างนี้ตั้งแต่ตอนอายุ 20” หนังสือเล่มนี้เกริ่นนำไว้อย่างน่าสนใจว่า “ในทุกๆแวดวงคนที่ประสบความสำเร็จล้วนแต่เป็นนักคิดสร้างสรรค์ทั้งสิ้น …แต่ในโรงเรียนกลับแทบไม่เคยสอนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หรือแทบไม่มองว่ามันเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้กันได้ด้วยซ้ำ” เปรียบเทียบ “วิธีคิดเชิงวิทยาศาสตร์” กับ “วิธีคิดเชิงสร้างสรรค์” ได้อย่างชัดเจนว่า “คุณสามารถค้นพบ สิ่งต่างๆได้ด้วยวิธ๊คิดเชิงวิทยาศาสตร์ แต่หากคุณต้องการคิดค้น สิ่งใหม่ ๆ นั้นย่อมต้องใช้วิธีคิดเชิงสร้างสรรค์” การทลายกรอบความคิดด้วยคำถามว่า “ทำไม” เช่น