fbpx

"CSR WAY บทเรียน แนวคิด ความมุ่งหวัง"

9786163820266

ในวันนี้ได้หยิบหนังสือที่ชื่อเรื่อง “CSR WAY บทเรียน แนวคิด ความมุ่งหวัง” ของอาจารย์เอนก นาคะบุตร เพื่อเติมเต็มความคิด และมุมมองต่าง ๆ ต่อด้าน CSR เพิ่มเติม

ประเด็นเกริ่นนำของหนังสือเล่มนี้ มีที่น่าสนใจอยู่หลายประเด็น

  • โครงการ CSR ที่จะประสบความสำเร็จ เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนโดยรวมอย่างยั่งยืนนั้น ชุมชนต้องมีส่วนรวม (Participation) ในรูปแบบหุ้นส่วน (Partnership)
  • ปัญหาที่ผ่านมาของภาคอุตสาหกรรม ก็คือ การละเลยการพัฒนาแบบมีส่วนรวมกับชุมชน การให้ความสำคัญในสิทธิชุมชน

ในส่วนของรายละเอียดเนื้อหา จะถูกแบ่งออกเป็น 4 บทด้วยกัน

  1. CSR บทเรียนจากซีกโลกตะวันตกสู่ไทย
  2. ธุรกิจไทยกับความรับผิดชอบสังคม
  3. สู่ความร่วมมือร่วมใจ
  4. กรณีศึกษา ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อสังคม

สาระสำคัญในเนื้อหาทั้ง 4 บท พอสรุปได้โดยสังเขป ดังนี้

  • เริ่มต้นจะกล่าวถึงจุดกำเนิดที่ก่อให้เกิดกระแสการเรียกร้องต่อภาคธุรกิจในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ที่มาจากการประชุม “เอิร์ธซัมมิต” ในปีค.ศ.1992 ที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ที่ทำให้คำว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development)” เริ่มถูกกล่าวถึง อันนำไปสู่การยกร่างพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ในอีก 5 ปีต่อมาที่ประเทศญี่ปุ่น ในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • แต่กระนั้นก็ตาม CSR ในยุคเริ่มต้นก็ยังคงอยู่ในรูปแบบการบริจาค (Philanthropy) ในอเมริกามีการจัดตั้งมูลนิธิต่าง ๆ เช่น มูลนิธิฟอร์ด มูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์
  • การทำ CSR ส่วนใหญ่ในประเทศไทยก็ยังคงเน้นในการทำ PR เพื่อสื่อสารภาพลักษณ์ไปสู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นหลัก รูปแบบจึงออกมาในลักษณะกิจกรรมที่เป็น Event จบเป็นครั้ง ๆ ไป มากกว่าการทำโครงการระยะยาวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลกระทบในเชิงบวกอย่างแท้จริง
  • ผลกระทบจากแผนพัฒนา Eastern Seaboard ในปีพ.ศ.2524 ในยุครัฐบาลพล.อ.เปรม ได้ส่งผลดีในเชิงเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม แต่ได้ส่งผลกระทบด้านลบต่อคุณภาพชีวิตของชาวบ้านรอบ ๆ เขตพื้นที่อุตสาหกรรม โดยเฉพาะในพื้นที่มาบตาพุด
  • ความเดือดร้อนของชาวบ้านที่ได้รับจากปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อพยายามรวมตัวกันเรียกร้องในเรื่องดังกล่าว กลับไปพบปัญหาในเรื่องกลไกการบริหารงานที่ไม่มีประสิทธิภาพของภาครัฐ รวมไปถึงผลประโยชน์ของกลุ่มนายทุน นักการเมืองระดับชาติ และนักการเมืองท้องถิ่น ซึ่งประกอบไปด้วย 3C คือ Concession-Commission-Corruption
  • กระบวนการจัดทำ EIA ก็ยังคงเป็นประเด็นในเรื่องความน่าเชื่อถือ และความโปร่งใส เพราะถึงแม้จะถูกกำหนดให้จัดทำรายงานโดยนักวิชาการ แต่ผู้ว่าจ้างการทำ EIA นั้นก็คือ เอกชนผู้ประกอบการ ดังนั้นจึงมีประเด็นในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest)
  • ความร่วมมือร่วมใจของภาครัฐ ภาคเอกชน NGO และภาคประชาสังคม CSO (Civil Society Organization) จึงน่าจะเป็นทางออกในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง โดยที่แต่ละฝ่ายต้องหันหน้ามาทำความเข้าใจกันมากขึ้น
  • กลไกทางเศรษฐศาสตร์ไม่ว่าจะเป็น ตลาดคาร์บอนเครดิต, PES (Payment for Ecosystem Services) ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากระบบนิเวศ จะต้องจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้ที่ทำหน้าที่อนุรักษ์ เช่น ชุมชนต้นน้ำ หรือหลักการ PPP (Polluter Pay Principle) ผู้ก่อให้เกิดมลพิษต้องจ่ายค่าบำบัด
  • บทเรียนจากกรณีศึกษาโครงการเขื่อนน้ำเทิน ในประเทศลาว ในเรื่องการพิจารณาถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการ (PAP – Project Affected People)

นับเป็นหนังสือ CSR อีกเล่มหนึ่งที่มีความน่าสนใจที่ให้มุมมองความสำคัญของการมีส่วนรวมในการพัฒนาชุมชนร่วมกันของทุกภาคฝ่าย

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

A@LERT Learning and Consultant

มือถือ 086-7771833

E-mail : boonlert.alert@gmail.com

Facebook : นายเรียนรู้

Line ID : @lert

www.nairienroo.com

Related Posts