fbpx

ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้ไปบรรยายหลักสูตร “Heart of Analytical Thinking skills – HATs) ให้กับครูผู้บริหารโรงเรียน และบุคลากรผู้สอน ของ โรงเรียนหินกอง (พิบูลอนุสรณ์) จ.สระบุรี และโรงเรียนบ้านเขาแดง (ราษฎร์อุปถัมภ์) จ.สงขลา ภายใต้การสนับสนุนจาก ปตท. ในชื่อโครงการ “โรงเรียนพลังไทย” เพื่อพัฒนาแลกเปลี่ยนทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์

ผู้เขียนเรียนจบปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์ และปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์ การได้เรียนรู้ศาสตร์ทั้ง 2 สาขานี้นั้นได้ช่วยพัฒนาทักษะการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) ให้กับผู้เขียนเป็นอย่างมาก ซึ่งศาสตร์ทั้ง 2 สาขา ช่วยทำให้เรามองเห็นภาพทั้งระบบ สามารถมองเห็นส่วนประกอบย่อย ๆ  ว่าทำหน้าที่ต่าง ๆ อย่างไร มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร และทั้งหมดมีกลไกในการทำงานร่วมงานกันอย่างไร ซึ่งรากฐานการคิดที่สำคัญที่จะทำให้เราคิดเช่นนี้ได้ ก็คือ ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)  นั่นเอง

HATs_origin_6637427465

หัวใจของทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

  1. ช่างสังเกต สงสัย และซักถาม

หัวใจของทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ ประการแรก คือ ความเป็นคนช่างสังเกต สงสัย และซักถาม ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสัญชาตญาณการเรียนรู้ที่เราทุกคนมีอยู่แล้วตั้งแต่เด็ก แต่มักจะถูกทำให้เลือนหายไปด้วยการเติบโตขึ้นมากับระบบการศึกษาที่มีคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว ไม่ได้เปิดโอกาสกว้างให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นบนสมมติฐานการคิดในมุมมองของเขา

ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่ชื่อทือบิงเบิน (Tubingen) ในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน จะเปิดโอกาสให้เด็กอายุ 8-12 ปี เข้าไปเรียนรู้ใน Class ที่มีศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขวิชาต่าง ๆ มาให้ความรู้ และตอบข้อซักถามเด็ก ซึ่งมีหลายคำถามที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เช่น ทำไมจึงมีทั้งเศรษฐีและยาจก ทำไมผู้ใหญ่จึงมีสิทธิพิเศษที่จะทำอะไรได้มากกว่าเด็ก ทำไมจึงเกิดฟ้าแลบและฟ้าผ่า

  1. ช่างแยกแยะ และจับประเด็น

หัวใจของทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ ประการที่สอง คือ ความเป็นคนช่างแยกแยะ และจับประเด็น เพราะว่าสิ่งต่าง ๆ เรื่องราวต่าง ๆ ย่อมประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยมากมาย หากเราไม่ค่อยแยกแยะ และจับประเด็นให้ได้ ก็จะทำให้มีความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เรื่องราวต่าง ๆ ผิดเพี้ยนไป เช่น ข้อความว่า “ระวังถั่วอันตราย…เตือนผู้ปกครองระวังเด็กเล็กกินถั่วเปลือกแข็งติดหลอดลมถึงขั้นเสียชีวิต เมื่อวานนี้เด็กอายุ 3 ขวบกินถั่วเปลือกแข็ง เข้าไปติดหลอดลมเสียชีวิต” หากอ่านแบบผ่าน ๆ ไม่ได้แยกแยะ และจับประเด็นให้ดี ก็จะด่วนสรุปความว่า “เพราะกินถั่วเปลือกแข็ง จึงทำให้เสียชีวิต” ดังนั้นต่อไปจะห้ามเด็กที่บ้านกินถั่วเปลือกแข็งนี้ ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วเหตุที่แท้จริงคือหลอดลมถูกทำให้อุดตัน ซึ่งสิ่งที่ทำให้อุดตันนั้นอาจจะเป็นสิ่งใดก็ได้ ถั่วเปลือกแข็งเป็นเพียง 1 ในสิ่งที่เราต้องควรระวังไม่ให้ลูกหลานกิน นอกจากถั่วเปลือกแข็งแล้วก็ยังมีสิ่งอื่น ๆ อีก

  1. ช่างเชื่อมโยง

หัวใจของทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ ประการที่สาม คือ ความเป็นคนช่างเชื่อมโยง หาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้เรามองเห็นสัจธรรมตามหลักอิทัปปัจจยตา

“เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี เพราะเหตุนี้เกิด ผลนี้จึงเกิด”

“เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ”

ขอยกตัวอย่างหนึ่งที่เป็นหนังโฆษณาในอดีต เรื่องเกี่ยวกับการรณรงค์ให้เลิกกินเหล้า หากเรามองภาพให้ออกเหมือนในหนังโฆษณาว่าการกินเหล้า ความเครียด และความจน มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร “จน –> เครียด –> กินเหล้า –> จน” ก็จะเข้าใจว่าจะเลิกจนต้องทำอย่างไร

สำหรับองค์กรใดไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่ต้องการให้ผู้เขียนไปบรรยายหลักสูตร “Heart of Analytical Thinking skills – HATs)” ให้กับบุคลากรในองค์กร

สามารถติดต่อได้ที่ A@LERT Learning and Consultant
คุณชลมารค (มิลค์) 098-763-3150
คุณทิพย์สุวรรณ (เพชร) 081-711-3466
contact@nairienroo.com

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

A@LERT Learning and Consultant

มือถือ 086-7771833

E-mail : boonlert.alert@gmail.com

Facebook : นายเรียนรู้

Line ID : @lert

www.nairienroo.com

Related Posts