fbpx

งานไหลลื่นสบาย ต้องสลาย "จุดคอขวด"

Bottleneck

ในแนวคิดการปรับปรุงกระบวนการทำงานด้วยลีน (Lean Management) เป้าหมายหลักสำคัญอันหนึ่ง ก็คือ จะสามารถปรับปรุงกระบวนการทำงานให้รวดเร็วขึ้นได้อย่างไร

สิ่งแรกที่จะต้องเราต้องลงไปเก็บข้อมูลจริงที่หน้างาน เรียกว่าเป็นการสำรวจสภาพปัจจุบัน (Current Status) ของทุกขั้นตอนในกระบวนการทำงานที่ทำอยู่

โดยใช้ตารางวิเคราะห์อย่างง่าย ๆ วัดเวลาในแต่ละ Step การทำงาน แต่สิ่งที่สำคัญ คือ ต้องแยก Station งานที่รับผิดชอบงานแต่ละ Step ให้ชัดเจน ดังตัวอย่าง

Station 1 – รับผิดชอบงาน Step 1 และ Step 2

Station 2 – รับผิดชอบงาน Step 3 และ Step 4

Station 3 – รับผิดชอบงาน Step 5 และ Step 6

Station 4 – รับผิดชอบงาน Step 7 และ Step 8

Screen Shot 2559-01-04 at 5.30.38 PM

เมื่อเราจับเวลาในทุก ๆ Step แล้ว เราก็จะมองเห็นว่า Station ไหนทำงานเร็ว Station ไหนทำงานช้า โดยเราอาจจะแปลงออกมาเป็นจำนวนชิ้นงานที่ทำได้ต่อชั่วโมง เช่น

Station 1 = 60 / (10+10) = 3 ชิ้นงานต่อชั่วโมง

Station 2 = 60 / (5+5) = 6 ชิ้นงานต่อชั่วโมง

Station 3 = 60 / (15+10) = 2.4 ชิ้นงานต่อชั่วโมง

Station 4 = 60 / (5+10) = 4 ชิ้นงานต่อชั่วโมง

ก็จะทำให้เรามองเห็นภาพเลยว่า Station ที่ 3 เป็น “จุดคอขวด (Bottleneck)” ของกระบวนการ ดังแสดงในรูปภาพ

Bottleneck diagram

ดังนั้นการปรับปรุงกระบวนการ ณ จุดใด ๆ จะกลายเป็นการสูญเปล่าไปเลย หากเราไม่ปรับปรุงที่ “จุดคอขวด (Bottleneck)” ของกระบวนการ เพราะถึงแม้ปรับปรุงไป ความสามารถในการตอบสนองต่อลูกค้า ก็จะเท่ากับ ความสามารถที่ “จุดคอขวด” ทำได้เท่านั้น

สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ งานไหลลื่นสบาย ต้องสลาย “จุดคอขวด” เสียก่อน !

ดูรายละเอียดหลักสูตร “Business Process Improvement by Lean Thinking”

สนใจฝึกอบรมติดต่อ A@LERT Learning and Consultant
คุณชลมารค (มิลค์) 098-763-3150
คุณทิพย์สุวรรณ (เพชร) 081-711-3466

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

A@LERT Learning and Consultant

มือถือ 086-7771833

E-mail : boonlert.alert@gmail.com

Facebook : นายเรียนรู้

Line ID : @lert

www.nairienroo.com

Related Posts