fbpx

(บทความนี้ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “Life is Learning” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์ที่ ​28/07/2556)

ในปี 2558 กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ ก็จะมีการรวมตัวกันเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ ASEAN Economic Community (AEC) อย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย คือ ระบบการศึกษา ซึ่งเป็นแกนหลักสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของคนในชาติ

จากการประชุม World Economic Forum (WEF) 2012-2013 เปิดเผยผลการศึกษาไทยเทียบกับประเทศอาเซียน เรายังคงเป็นรองอีกหลายประเทศมาก ในด้านคุณภาพของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไทยอยู่ในอันดับ 6 โดยรองมาจาก สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย และเวียดนาม และที่น่าตกใจ คือ ด้านคุณภาพการศึกษาระดับมัธยมและอุดมศึกษา ไทยอยู่อันดับ 8 จาก 10 ประเทศอาเซียน โดยดีกว่าลาว และพม่าเท่านั้น

ระบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ คือ จุดอ่อนที่สำคัญหนึ่งของการศึกษาไทย แม้ว่าจะเรียนกันตั้งแต่ระดับอนุบาล จนถึงระดับปริญญาตรี แต่ระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นฟัง-พูด-อ่าน-เขียน ของคนจำนวนมากก็ยังอยู่ในระดับต่ำ ไม่สามารถนำไปใช้งานได้จริง พ่อแม่หลายคนที่มีฐานะจึงเลือกที่จะส่งลูกไปเรียนในโรงเรียนนานาชาติแทน

นอกจากนี้แล้วผลงานวิจัยล่าสุดของ ปัญญาสมาพันธ์เพื่อการวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย (WPORT) ในหัวข้อเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบการจัดการศึกษาปฐมวัยในบริบทของประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น” พบว่า การศึกษาของเด็กไทยเน้นไปที่การสอนเชิงวิชาการ ขณะที่การศึกษาของเด็กญี่ปุ่นจะเน้นไปที่การพัฒนาด้านความคิด

ใช่แล้วครับ ผมกำลังพูดถึงวิชาสำคัญที่ไม่ได้สอน นั่นก็คือ ทักษะการคิด (Thinking Skill) เพราะเหตุใดสิ่งเหล่านี้จึงไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรการศึกษา ส่วนหนึ่งหลายคนคิดว่าวิชาคณิตศาสตร์ช่วยพัฒนาทักษะการคิดอยู่แล้ว คำตอบก็คือใช่ แต่ไม่ทั้งหมด

ผมได้มีโอกาสพบกับสุดยอดปรมาจารย์นักคิดระดับโลก Dr.Edward de Bono ตอนที่ท่านมาเมืองไทยในช่วงเดือนมีนาคม 2553 และซึ่งท่านเองก็ได้ให้แง่คิดว่า  “Intelligence is like horse power of motor-car. Thinking is the skill with which the car is driver. So learn to drive!.”

DeBono

ซึ่ง Dr.Edward de Bono ได้แนะนำหนังสือที่ชื่อ “Teach Your Child How to Think” ซึ่งได้อธิบายในเรื่องพื้นฐานธรรมชาติการคิด เครื่องมือพื้นฐานด้านการคิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • Six Thinking Hats
  • CAF (Consider All Factors)
  • APC (Alternatives, Possibilities, Choices)
  • OPV (Other’s People Views)
  • C&S (Consequence and Sequel)
  • PMI (Plus, Minus and Interesting)
  • AGO (Aims, Goals and Objectives)
  • FIP (First Important Priorities)
  • TO/LOPOSO/GO

ซึ่งเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้ ได้ถูกบรรจุไว้ในโปรแกรมการศึกษาที่ชื่อว่า CoRT (Cognitive Research Trust) ซึ่งหลาย ๆ ประเทศได้นำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการพัฒนาความคิดเด็กไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์

ในตอนต่อ ๆ ไป เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือพื้นฐานด้านการคิดต่าง ๆ เหล่านี้กัน

ดูรายละเอียดหลักสูตร “Analytical and Systematic Thinking”

สนใจฝึกอบรมติดต่อ A@LERT Learning and Consultant
คุณชลมารค (มิลค์) 098-763-3150
คุณทิพย์สุวรรณ (เพชร) 081-711-3466

contact@nairienroo.com

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

A@LERT Learning and Consultant

มือถือ 086-77771833

E-mail : boonlert.alert@gmail.com

Facebook : นายเรียนรู้

Line ID : @lert

www.nairienroo.com

Related Posts