fbpx

จับประเด็น เห็นเรื่องราว

ในการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคน ล้วนรายรอบไปด้วยข้อมูลข่าวสาร ทั้งจากการสนทนากับคนรอบข้าง ทั้งจากการประชุมต่าง ๆ นานาและจากการรับรู้ผ่านทางสื่อหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และ Internet

สิ่งสำคัญ คือ เราจะเลือกรับฟังเพื่อคัดกรองข้อมูล (Data) ที่ถาโถมเข้ามาอย่างไร เพื่อให้ได้แก่นประเด็นสำคัญ (Key Issues) ของเรื่องราวนั้น ๆ

การรับฟังที่ดีนั้น ผู้รับฟังข่าวสาร อย่าทำตัวเป็น “Passive Listener” คือ รับฟังเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้คิดไตร่ตรองในสิ่งที่ได้ยินมา แต่จะต้องทำตัวเป็น “Active Listener” ที่เมื่อได้ยินรับฟังแล้ว ต้องคิดไตร่ตรองตาม เกิดกระบวนการสงสัยใคร่รู้ อันจะนำไปสู่การซักถามเพื่อสืบค้นประเด็นเพิ่มเติม

9192263072_bb0e4d9ce3_o

Photo Credit: https://www.flickr.com/photos/85608594@N00/9192263072/

หากมาพิจารณาเพิ่มเติมในการสนทนากับคนรอบข้าง และการประชุมต่าง ๆ นั้น เราสามารถที่จะซักถามเพื่อสืบค้นประเด็นเพิ่มเติมจากคู่สนทนา และผู้เข้าร่วมประชุมได้ในทันที แต่ในการรับรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะในช่องทางไหน โอกาสที่เราจะซักถามเพิ่มเติมมีน้อยมาก โดยเฉพาะสื่อที่ถาโถมมาพร้อมกันทั้งภาพ และเสียง รัวกระหน่ำจนไม่มีเวลาให้เราได้ตั้งสติที่จะหยุดคิดตามเสียด้วยซ้ำ เรียกว่าเป็นพวก “Fast Media” ส่วนพวก “Slow Media” เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ เช่น ที่ท่านผู้อ่านกำลังอ่านอยู่ ณ ขณะนี้ เปิดโอกาสให้สามารถหยุด (Pause) และย้อนหลัง (Rewind) กลับไปอ่านทบทวนซ้ำได้ แต่หากต้องการซักถามเพื่อสืบค้นประเด็นเพิ่มเติมจริง ๆ คงต้องอาศัยตัวช่วย “2G”

  1. G-Google ซึ่งหลาย ๆ คนคุ้นเคยกันอยู่แล้วในการสืบค้นหาข้อมูลจากช่องทางนี้
  2. G-Guru การซักถามจากผู้รู้ ไม่ว่าคนนั้นจะอายุมากกว่า หรือน้อยกว่าเรา ซึ่งจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียนเองพบว่าการคบหาคนหลากหลายวัย ที่มีทัศนคติ ความคิด ความเชื่อแตกต่างกันไป ก่อให้เกิดประโยชน์ในการรับฟังข่าวสารเป็นอย่างมาก

สิ่งที่ต้องพิจารณาในการรับฟังข่าวสาร คือ ต้องจับให้ได้ว่า

  1. อะไร คือ แก่นประเด็นสำคัญ (Key Issues) ของเรื่องราวนั้น ๆ
  2. อะไร คือ เจตนารมณ์ที่แท้จริงของ ผู้พูด ผู้เขียน ผู้ถ่ายทอดเรื่องราวนั้น ๆ

หลายครั้งการรับรู้ถูกบิดเบือนไป ดังที่ในทางพระพุทธศาสนาว่าไว้ในเรื่อง “อคติ 4”

  1. ฉันทาคติ – ลำเอียงเพราะรัก หรือเพราะความพอใจ
  2. โทสาคติ – ลำเอียงเพราะโกรธ หรือเกลียด
  3. โมหาคติ – ลำเอียงเพราะเขลา โดยไม่ได้พิจารณาให้ถ่องแท้ว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรควร อะไรไม่ควร
  4. ภยาคติ – ลำเอียงเพราะกลัว หรือ เพราะเกรงใจ

แก่นประเด็นสำคัญ (Key Issues) ของแต่ละเรื่องราวนั้น ให้พิจารณาจาก

  1. คำสำคัญ (Keywords) ที่อยู่ในเรื่องราวนั้น ๆ
  2. ความสัมพันธ์ (Relation) ของแต่ละคำสำคัญ ว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

การฝึกฝนเพื่อให้มีความสามารถ “จับประเด็น เห็นเรื่องราว” ควรจะเริ่มฝึกฝนจากสื่อประเภท “Slow Media” เช่น บทความต่าง ๆ ในหนังสือพิมพ์ เพราะสามารถอ่านซ้ำกลับไปกลับมาได้ ใช้กระดาษเปล่าขนาด A4 หรือ A3 (ยิ่งใหญ่ยิ่งดี) เขียนเฉพาะคำสำคัญ (Keywords) ลงไป จากนั้นลากเส้น ลูกศรต่าง ๆ เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างคำสำคัญ (Keywords) ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จนได้แผนภาพ 1 แผนภาพที่สามารถอธิบายเรื่องราวในบทความนั้นได้

จากนั้นก็ลองนำไปปรับใช้ในการประชุม ให้ลองบันทึกคำสำคัญที่พูดคุยกันในที่ประชุม ลงบนแผ่นกระดาษเปล่า ๆ แล้วค่อย ๆ ฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เราสามารถ “จับประเด็น เห็นเรื่องราว” ได้มากขึ้น รู้ว่าสิ่งที่พูดกันอยู่นั้น สิ่งใดเกี่ยวข้องกับสิ่งใด สิ่งใดอยู่นอกเหนือประเด็น

ดูรายละเอียดหลักสูตร “Analytical and Systematic Thinking”

สนใจฝึกอบรมติดต่อ A@LERT Learning and Consultant
คุณชลมารค (มิลค์) 098-763-3150
คุณทิพย์สุวรรณ (เพชร) 081-711-3466

contact@nairienroo.com

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

A@LERT Learning and Consultant

มือถือ 086-7771833

E-mail : boonlert.alert@gmail.com

Facebook : นายเรียนรู้

Line ID : @lert

www.nairienroo.com

Related Posts