fbpx

Contract Farming กับ การปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างเป็นธรรม

ในปัจจุบันหลายธุรกิจมีการนำระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (contract farming) มาใช้ในการจัดการบริหารความแน่นอนของแหล่งวัตถุดิบของบริษัท โดยมองว่าวัตถุดิบเป็นแหล่งต้นน้ำที่จะเข้าสู่กระบวนการผลิต หากเกิดการขาดแคลน ไม่มีคุณภาพ และจำนวนไม่แน่นอน จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตในขั้นต่อไป จะว่าไปแล้ว คอนแทรคฟาร์มมิ่ง ถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย เพราะมีหลายบริษัทที่ใช้ระบบนี้ในการทำธุรกิจแล้วประสบความสำเร็จ เช่น บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) หรือเครือเบทาโกร ที่ทำระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่งโดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีมานานกว่า 30 ปี ก็ประสบความสำเร็จดีทั้งบริษัทและเกษตรกร

ข้อดีของการทำคอนแทรคฟาร์มมิ่ง

1. เกษตรกรมีผลผลิตขายแน่นอน สามารถนำวัตถุดิบป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตได้อย่างสม่ำเสมอ และเป็นการประกันรายได้ ประกันราคาสินค้าล่วงหน้า

ข้อเสียของการทำคอนแทรคฟาร์มมิ่ง

1. ต้องไปพิจารณาว่ามีการทำสัญญาในรูปแบบสัญญาเชิงเอาเปรียบเกษตรกร ในเรื่องของผลตอบแทน ความเสี่ยง และความเป็นธรรม หรือไม่?

2. เงินลงทุนต่อฟาร์มค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ที่จะเกิดขึ้น ทำให้การคืนทุนต้องใช้เวลานานหลายปี ขณะที่แหล่งเงินทุนของเกษตรกรมาจากการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ดังนั้น หากบริษัทยกเลิกพันธสัญญากับเกษตรกรกลางคัน เกษตรกรอาจล้มละลายได้

3. เกษตรกรมีความเสี่ยงสูงขึ้นเมื่อได้รับผลกระทบทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง หรือไข้หวัดนก เป็นต้น

556000010182303

ดังนั้นประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่าสัญญาที่ทำโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลายนั้น ทำสัญญาที่เอาเปรียบเกษตรกรรายย่อยหรือไม่ หากบริษัทมีธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจแล้วละก็ ประเด็นนี้ก็เป็นอีกประเด็นที่บริษัทควรสนใจในการทำ CSR in process 

ในมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม ได้ระบุรายละเอียด

การดำเนินงานอย่างเป็นธรรม (Fair operating practices) ไว้ดังนี้

ประเด็นการดำเนินงานอย่างเป็นธรรมที่ 1 : การต่อต้านการคอร์รัปชั่น (Anti-corruption)

เพื่อป้องกันการคอร์รัปชั่นและการติดสินบน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมควร

  1. ชี้บ่งความเสี่ยงของการคอร์รัปชั่นจากกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกองค์กร พร้อมกำหนดแนวปฏิบัติในการต่อต้านการคอร์รัปชั่น และมีมาตรการ หรือระบบที่รัดกุม เพื่อป้องกันการคอร์รัปชั่น
  2. แสดงความมุ่งมั่นในการส่งเสริม และดำเนินการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่อแสดงความเป็นผู้นำ และเป็นแบบอย่างให้ผู้อื่น
  3. ให้ความรู้ สร้างความตระหนัก หรือฝึกอบรมเรื่องการคอร์รัปชั่น วิธีการต่อต้านการคอร์รัปชั่น การกำจัดการติดสินบน และการให้สิ่งจูงใจในการดำเนินงาน ให้กับลูกจ้าง ผู้แทนองค์กร ผู้รับเหมา และผู้ส่งมอบ
  4. สนับสนุนให้ลูกจ้าง คู่ค้า ผู้แทนองค์กรและผู้ส่งมอบ รายงานการปฏิบัติที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติด้านการต่อต้านคอร์รัปชั่นขององค์กร
  5. แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย เมื่อพบการทุจริตหรือคอร์รัปชั่นในองค์กร
  6. สนับสนุนให้ผู้เกี่ยวข้องกับองค์กร นำแนวปฏิบัติในการต่อต้านการคอร์รัปชั่นไปใช้

ประเด็นการดำเนินงานอย่างเป็นธรรมที่ 2 : การมีส่วนรวมทางการเมืองอย่างรับผิดชอบ (Responsible political involvement)

ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมควร

  1. ให้ความรู้ สร้างความตระหนัก หรือฝึกอบรมให้กับลูกจ้าง และผู้แทนองค์กร เกี่ยวกับการมีส่วนรวมทางการเมืองและสนับสนุนทางการเมืองอย่างรับผิดชอบ รวมถึงวิธีการจัดการกับผลประโยชน์ทับซ้อน
  2. มีความโปร่งใสในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนรวมทางการเมือง การสนับสนุนทางการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
  3. กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในนามขององค์กร ที่เข้าไปมีส่วนรวมทางการเมือง
  4. หลีกเลี่ยงการช่วยเหลือทางการเมือง ซึ่งครอบคลุมถึงนักการเมืองหรือผู้กำหนดนโยบายทางการเมืองที่มีอิทธิพลในทางที่ไม่เหมาะสม
  5. ห้ามดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง การข่มขู่ หรือการบีบบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง

ประเด็นการดำเนินงานอย่างเป็นธรรมที่ 3 : การแข่งขันอย่างเป็นธรรม (Fair competition)

เพื่อส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมควร

  1. ดำเนินการอย่างสอดคล้องกับกฎหมายและข้อบังคับด้านการค้าและแข่งขันอย่างเป็นธรรม และให้ความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแล
  2. กำหนดระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการป้องกันอื่น ๆ เพื่อป้องกันการถูกชักจูง หรือการเข้าไปมีส่วนรวมในการต่อต้านการแข่งขันทางการค้า
  3. ส่งเสริมลูกจ้างให้มีความตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติอย่างสอดคล้องกับกฎหมายการแข่งขันทางการค้า และการแข่งขันที่เป็นธรรม
  4. สนับสนุนการต่อต้านการผูกขาดและการทุ่มตลาด และส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรม
  5. ไม่นำประเด็นทางสังคม ดังเช่น ความยากจน ไปสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการค้า

ประเด็นการดำเนินงานอย่างเป็นธรรมที่ 4 : ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมให้กับหน่วยงานในห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร (Promoting social responsibility in the value chain)

ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมควร

  1. บูรณาการเกณฑ์ทางด้านจริยธรรม สังคม สิ่งแวดล้อม และความเท่าเทียมกันทางเพศ รวมถึง สุขภาพและความปลอดภัย เข้าไปในนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อ จัดจ้าง การจำหน่าย และการทำสัญญา เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
  2. สนับสนุนให้องค์กรอื่นนำหลักการและประเด็นด้านความรับผิดชอบต่อสังคมมาประยุกต์ใช้
  3. มีการติดตามและตรวจสอบการปฏิบัติขององค์กรอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์กร ว่ามีการปฏิบัติสอดคล้องตามที่ได้ตกลงไว้กับองค์กรในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม
  4. สนับสนุนองค์กรในห่วงโซ่คุณค่า ในการยกระดับความตระหนักและแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ตามประเด็นด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
  5. ส่งเสริมความเป็นธรรมและการปฏิบัติที่เป็นจริงด้านต้นทุนและประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมให้กับหน่วยงานในห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร

ประเด็นการดำเนินงานอย่างเป็นธรรมที่ 5 : การเคารพต่อสิทธิในทรัพย์สิน (Respect for property rights)

ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมควร

  1. กำหนดแนวปฏิบัติในการส่งเสริมการเคารพต่อสิทธิในทรัพย์สิน ทรัพย์สินทางปัญญา และภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. ตรวจสอบการใช้หรือจำหน่ายทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
  3. ไม่เข้าร่วมในกิจกรรมที่ละเมิดสิทธิในทรัพย์สิน รวมถึงการใช้ที่ผิดไปจากอำนาจการครอบครอง การปลอมแปลง และการละเมิดลิขสิทธิ์
  4. จ่ายค่าตอบแทนสำหรับทรัพย์สินที่ได้รับหรือนำมาใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  5. พิจารณาความคาดหวังของสังคม สิทธิมนุษยชน และความต้องการขั้นพื้นฐานส่วนบุคคล เมื่อมีการใช้และมีการปกป้องสิทธิของทรัพย์สินทางปัญญาและทรัพย์สินทางกายภาพ

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

A@LERT Learning and Consultant

มือถือ 086-7771833

E-mail : boonlert.alert@gmail.com

Facebook : นายเรียนรู้

Line ID : @lert

www.nairienroo.com

Related Posts