ให้ Feedback ลูกน้อง อย่างไร…ไม่ให้ ‘ผิดใจ’ กัน ?
คนส่วนใหญ่มักหนักใจเมื่อต้องให้ feedback คนอื่น โดยเฉพาะคนที่เป็นหัวหน้า วันนี้มีกรณีตัวอย่างของการให้ feedback ลูกน้องมาฝากค่ะ
กรณีของ “ทินกฤต” ซึ่งเป็นผู้บริหารฝ่ายลูกค้ารายใหญ่มา 7 ปี ตัวเขาสามารถดูแลลูกค้าได้เป็นอย่างดี มีผลงานชัดเจนทำให้ก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ แต่เมื่อปีที่ผ่านมา บริษัทมีการประเมินศักยภาพผู้นำแบบ 360 องศา ปรากฏว่าทินกฤตได้รับการประเมินจากลูกน้องต่ำกว่ามาตรฐานในเรื่องการให้เวลา การสื่อสารและสอนงาน ทินกฤตรับรู้ผลการประเมิน แต่ไม่กระตือรือร้นที่จะแก้ไข เพราะคิดว่าถึงไม่เปลี่ยนแปลงก็ไม่มีผลกระทบต่อหน้าที่การงาน เนื่องจากลูกค้าพอใจการดูแลของเขาในระดับดีมาก
หากคุณเป็นหัวหน้าของทินกฤตคงหนักใจ ไม่รู้จะ feedback คนเก่งมีผลงานอย่างไร จะสั่งให้ปรับปรุงแก้ไขเลยมั้ย หรือจะพูดไปตรง ๆ ว่าหนักใจกับเรื่องที่ทินกฤตไม่ทำหน้าที่หัวหน้าที่ดีมาก หรือจะส่งทินกฤตเข้าอบรมภาวะผู้นำ เพื่อให้เขาใส่ใจพัฒนาทีมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้ผลการประเมินเป็นข้อเท็จจริงในการ feedback ทินกฤตก็อาจคิดว่าเป็นการ “จับผิด” ได้
กรณีทำนองนี้ หัวหน้าควร “จับถูก” เสียก่อน เพราะสิ่งที่ทินกฤตทำให้บริษัทได้ แสดงว่าเขามีทักษะใจบริการ ให้ความสำคัญต่อลูกค้า ต้องการแก้ปัญหาให้ลูกค้า รู้จักสินค้าของบริษัท ให้ความสำคัญต่อ KPI องค์กรมากๆ จากนั้นจึงค่อยบอกว่าต้องการให้เขาทำอะไร
การจะเข้าประเด็นว่าหัวหน้ามีอะไรอยากให้ทินกฤตช่วยหรือทำเพิ่ม ในกรณีนี้ก็เป็นเรื่อง การสร้างทีม สร้างคน ให้เวลาสื่อสาร สอนและโค้ชลูกน้องมากขึ้น หัวหน้าสามารถนำข้อมูลจากการประเมินมาพูดคุยด้วยหลักการง่ายๆ ที่เรียกว่า “SBI” มาจาก Situation (สถานการณ์), Behavior (การกระทำ), Impact (ผลกระทบ) ในกรณีไม่ได้ทำการประเมิน 360 องศา หัวหน้าสามารถรวบรวมข้อมูล SBI จากการสังเกตหรือประเด็นที่เกิดขึ้น
จากกรณีของทินกฤตแสดงว่าลูกน้องต้องการเวลา ต้องการข้อมูลต้องการเรียนรู้งานจากทินกฤต สะท้อนว่าข้อมูลข่าวสารอาจไม่ทั่วถึง หรือการปรึกษาหารืออาจไม่ราบรื่น เมื่อพูดคุยด้วย SBI แล้วก็จำเป็นต้องฟังความคิดมุมมองของทินกฤตด้วยว่าเกิดอะไร รู้สึกอย่างไร เช่น เขาอยากทำแต่ไม่มีเวลา หรือเขาคิดว่าลูกน้องบางคนไม่ชอบงาน หรือเขาสอนแล้วตามวิธีของเขา การรับรู้ข้อมูลจากทินกฤต จะทำให้หัวหน้าและทินกฤตเข้าใจสาเหตุที่แท้จริง เช่น การบริหารจัดการเวลา การมอบหมายงาน ทักษะการโค้ชและการให้คำปรึกษา ทักษะการสื่อสารเป้าหมาย ทักษะการโน้มน้าวจูงใจทีม ฯลฯ และช่วยกันแก้ปัญหาได้เหมาะสม
สุดท้ายนี้การ ให้ Feedback ลูกน้อง เป็นเรื่องจำเป็น Feedback ที่ดีจะช่วยสนับสนุนให้ลูกน้องทำงานเป็น ทำงานเก่ง ก้าวหน้า ภูมิใจในตนเอง และแน่นอน! ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ในทีม
โค้ชอ้อย – อาจารย์ผาณิต ถิรวงศ์ชัยพันธุ์ (ผู้เขียน)
Certified Everything DiSC Trainer ICF PCC Coach
ผู้เชี่ยวชาญด้านการโค้ช การพัฒนาภาวะผู้นำ และทักษะการสื่อสาร
จี สุภาวดี (ผู้เรียบเรียง)
สนใจเรียนรู้เพิ่มเติมในหลักสูตร
“Effective Feedback for Manager”
“Coaching & Feedback Skill for Leader”
“Effective Performance Feedback and Coaching”
รวมบทความเพื่อ “คัดคนที่ใช่” (Trick for HR)
8 ขั้นตอน หา ‘คนที่ใช่’ ให้องค์กร
หา คน ทำงาน ยังไงให้ได้ดี ด้วย 10 คำถาม คัดคนที่ใช่
ความ ขัดแย้ง ในองค์กร เทคนิค3ช. แสดงความเห็น มัดใจเพื่อนร่วมงาน
เป็นเพื่อนกับนายเรียนรู้
เพื่อปรึกษาการเลือกหลักสูตร In-House Training ด้านการปรับปรุงกระบวนการทำงาน
และการพัฒนา Soft Skills ระดับผู้นำได้เลย!
เปิดลงทะเบียนแล้ว!!
แบบนี้สิ… ถึงจะเรียกว่า Feedback
(Effective Feedback Skill for Leadership)
โค้ชอ้อย – อาจารย์ผาณิต ถิรวงศ์ชัยพันธุ์
Certified Everything DiSC Trainer , ICF PCC Coach
ผู้เชี่ยวชาญด้านการโค้ช การพัฒนาภาวะผู้นำ และทักษะการสื่อสาร
(คลิกที่รูปภาพเพื่อดูโปรไฟล์วิทยากร)
ALERT Learning and Consultant
บริษัท Training ด้านการปรับปรุงกระบวนการทำงาน และการพัฒนา Soft Skill ระดับผู้นำ
โดดเด่นด้วยสไตล์การสอน ที่ผสมผสาน ระหว่าง…
Activity Based Learning
ใช้เกมและกิจกรรมเข้ามาเชื่อมโยงกับเนื้อหาการเรียนรู้ ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
Problem Based Learning
มีกิจกรรม Workshop เพื่อให้ผู้เรียนเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติจริง
ดูรายละเอียดหลักสูตร In-House Training ทั้งหมด คลิก
แอดไลน์เพื่อถามข้อมูล
ทิ้งเบอร์โทรศัพท์ไว้ เพื่อให้เราติดต่อกลับ (หากต้องการรับบทความทิ้งอีเมลไว้เลย!)
ต้องการจัดฝึกอบรมติดต่อ
A@LERT Learning and Consultant
098-763-3150 (ชลมารค)
081-711-3466 (ทิพย์สุวรรณ)
contact@nairienroo.com