3. ก้าวข้ามความถูกใจที่เป็นรสนิยมส่วนบุคคล ต้องยอมรับความจริงว่าทุกคนต่างแบกค่านิยมส่วนตัวมาทำงานด้วยและแต่ละคนก็มีความชอบความถูกใจไม่เหมือนกันตั้งแต่เรื่องเสื้อผ้า หน้าผม วิธีการสื่อสาร การทำงาน ตราบใดที่สิ่งเหล่านี้ไม่กระทบต่อการทำงานคนอื่นและไม่ส่งผลต่องานที่รับผิดชอบอยู่ เราจำเป็นต้องยอมรับสิ่งเหล่านี้โดยไม่ตัดสินเพื่อนร่วมงานที่มีรสนิยม ความเชื่อ และความชอบที่ต่างไปจากเรา หากพนักงานในองค์กรสามารถเปิดใจกับรสนิยมที่หลากหลายได้ ย่อมไม่ประสบปัญหาช่องว่างของการทำงานระหว่าง Generation
4. เป็นตัวของตัวเองในขณะเดียวกับที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ผู้อื่นได้เป็นตัวของตัวเองเช่นกัน มนุษย์ทุกคนต่างต้องการการยอมรับและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ในสถานที่ทำงานพนักงานมีแนวโน้มทำตัวตามความคาดหวังของหัวหน้างาน ทีมงานและองค์กร ซึ่งสิ่งที่ทำอาจจะไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ตัวเองเป็นจริงๆ ทำให้เกิดความอึดอัด กดดัน ไม่เกิดบรรยากาศปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อความคิดสร้างสรรค์ โดยเฉพาะกับพนักงาน Gen Z ที่ต้องการการยอมรับในตัวตนของพวกเขา หากหัวหน้างานสามารถสร้างบรรยากาศให้ทุกคนเป็นตัวของตัวเองได้ด้วยการเริ่มทำตัวเป็นคนธรรมดา สามารถเปิดเผยสิ่งที่ทำผิดพลาด บอกถึงค่านิยมที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ในสังคม เช่น ชอบเพศเดียวกันอย่างเปิดเผย และพร้อมจะยอมรับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เรียกว่ายอมรับตัวเองพอๆ กับที่ยอมรับผู้อื่นในแบบที่เขาเป็น ย่อมทำให้ที่ทำงานเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยที่ทุกคนสามารถได้รับการยอมรับบนพื้นฐานของการตัดสินพนักงานจากผลงานแต่ละคนมากกว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน