fbpx
นโยบาย ค่าแรงขั้นต่ำ ผลกระทบ Analytical and Systematic Thinking ครบรอบ 9 ปี Alert Learning and Consultant นายเรียนรู้ Nairienroo บุญเลิศ คณาธนสาร เลือกตั้ง 2019

นโยบาย “ค่าแรงขั้นต่ำ” ใครช้ำ? ใครได้?


นโยบาย “ค่าแรงขั้นต่ำ” ใครช้ำ? ใครได้?


นโยบายปรับขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำ อีกหนึ่งกลยุทธ์นโยบายหาเสียงที่หลายๆ พรรคงัดออกมาใช้เพื่อดึงคะแนนจากกลุ่มผู้ใช้แรงงาน

เราลองไปดูตัวเลขค่าแรงขั้นต่ำกันว่าแต่ละพรรคเสนอปรับขึ้นเท่าไหร่

นโยบาย ค่าแรงขั้นต่ำ ผลกระทบ Analytical and Systematic Thinking ครบรอบ 9 ปี Alert Learning and Consultant นายเรียนรู้ Nairienroo บุญเลิศ คณาธนสาร เลือกตั้ง 2019

  • พรรคสามัญชน 500 บาทต่อวัน
  • พรรคอนาคตใหม่ 450 บาทต่อวัน*

(ยังไม่ใช่นโยบายอย่างเป็นทางการของพรรค ถอดความจากคำสัมภาษณ์ของนางสาวพรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่ บนเวทีดีเบต “อนาคตปากท้องคนไทย” 4 มีนาคม 2562)

  • พรรคพลังประชารัฐ 425 บาทต่อวัน
  • พรรคเพื่อไทย 400 บาทต่อวัน
  • พรรคประชาธิปัตย์ 400 บาทต่อวัน
  • พรรคประชานิยม 360 บาทต่อวัน

โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละพรรคปรับขึ้นค่าแรงกว่า 40% เมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นการปรับขึ้นค่อนข้างมากเลยทีเดียว

คำถามหนึ่งที่เป็นประเด็นชวนคิดในภาคอุตสาหกรรม ก็คือ การปรับขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำ สอดคล้องกับผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) ที่เพิ่มขึ้นอย่างไร ?

หากภาคอุตสาหกรรมไม่สามารถเร่งปรับปรุงผลิตภาพแรงงานได้อย่างทันท่วงที ตามค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยการผลิตเพิ่มสูงขึ้น โอกาสที่โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีฝีมือแรงงานที่ใกล้เคียงกัน แต่มีต้นทุนค่าแรงงานที่ถูกกว่า อย่างเช่น เวียดนาม ก็จะมีโอกาสเพิ่มมากขึ้น

โดยอุตสาหกรรม SME ย่อมได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้มากกว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพราะอุตสาหกรรม SME มีสัดส่วนการใช้แรงงานค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรเพิ่มมากขึ้น และมีการปรับปรุงผลิตภาพมาอย่างต่อเนื่อง

นโยบาย ค่าแรงขั้นต่ำ ผลกระทบ Analytical and Systematic Thinking ครบรอบ 9 ปี Alert Learning and Consultant นายเรียนรู้ Nairienroo บุญเลิศ คณาธนสาร เลือกตั้ง 2019

คำถามต่อมาที่เป็นประเด็นชวนคิดในเรื่องค่าครองชีพ ก็คือ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จะส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพอย่างไร ?

แน่นอนว่าหากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำย่อมส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งแน่นอนผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องปรับราคาสินค้าเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ราคาข้าวของต่าง ๆ ในตลาดเพิ่มสูงขึ้น ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น เงินเหลือออมลดลง สุดท้ายจึงกลับมาที่คำถามว่าประชาชนได้ประโยชน์จริงหรือ?

ดังนั้นหากนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ถูกนำมาใช้โดยขาดการส่งเสริมในการเร่งปรับปรุงผลิตภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ SME จะทำให้ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยการผลิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้โอกาสที่จะเกิดการเคลื่อนย้ายการลงทุนไปยังต่างประเทศเพิ่มขึ้น หรือในประเทศกลุ่มทุนขนาดใหญ่ก็จะอาศัยความได้เปรียบเข้า Take Over กิจการขนาดเล็ก นอกจากนี้แล้วยังส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพที่จะปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย

เพราะฉะนั้นแล้ว ศึกเลือกตั้งครั้งนี้ กลุ่มคนแรงงานจะดูเพียงตัวเลขอย่างเดียวไม่ได้ เพราะผลสุดท้ายกลุ่มคนที่ได้ประโยชน์จริงๆ อาจเป็นกลุ่มทุนขนาดใหญ่บางกลุ่มก็ได้

บุญเลิศ คณาธนสาร (นายเรียนรู้)

จี สุภาวดี (ผู้เรียบเรียง)

สนใจเรียนรู้เพิ่มเติมได้ในหลักสูตร

“Analytical Thinking for Understanding Situation”

บทความแนะนำ

วิธี แก้ ปัญหา ของคน 4 ประเภท คุณเป็นประเภทไหน?

5 วิธีหนีความขัดแย้ง (Communication trick)

สรุปประเด็นคิด พิชิตปัญหา ใน 1 หน้ากระดาษ

การสื่อสารเชิงบวกสำหรับผู้นำ

เป็นเพื่อนกับนายเรียนรู้

สามารถสอบถามข้อสงสัยเกี่ยวกับระบบการประเมินผลงานและการบริหารทีมงานได้ทันที!

เพิ่มเพื่อน นายเรียนรู้


หลักสูตรฝึกอบรมที่น่าสนใจ

Lean Managment หลักสูตร ฝึกอบรม ลีน การปรับปรุงกระบวนการผลิต หลักสูตรราคาพิเศษ โปรโมชั่น 19,900

ดูรายละเอียดหลักสูตรทั้งหมด คลิก

โดดเด่นด้วยสไตล์การสอน ที่ผสมผสาน ระหว่าง…

Activity Based Learning

ใช้เกมและกิจกรรมเข้ามาเชื่อมโยงกับเนื้อหาการเรียนรู้ ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

Problem Based Learning

มีกิจกรรม Workshop เพื่อให้ผู้เรียนเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติจริง

ต้องการจัดฝึกอบรมติดต่อ

A@LERT Learning and Consultant

098-763-3150 (ชลมารค)

081-711-3466 (ทิพย์สุวรรณ)

contact@nairienroo.com

คลิกที่นี่! เพื่อพูดคุยกับ “นายเรียนรู้” ผ่านทาง Line@

Related Posts